เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

E-clipping

E-payment

FinTech

Thailand 4.0

การตลาด

การท่องเที่ยว

การบริการ

การบริหาร

การส่งออก

การออม

การเกษตร

การเงิน

คุณธรรมจริยธรรม

ชุมชน

ธ.ก.ส.

ธนาคารและการธนาคาร

นวัตกรรม

พลังงานทดแทน

ภัยธรรมชาติ

รัฐวิสาหกิจ

หนี้

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ห้องสมุด

เกษียณ

โครงการ




   

ปกติแล้วต้องถือว่าอาชีพ "เกษตรกร" เป็นพื้นฐานของทุกๆประเทศ เป็นส่วนสำคัญ การผลิตอาหาร หนึ่งในปัจจัย4 ของชีวิต รัฐบาลในแต่ละประเทศจึงปกป้องดูแลเกษตรกรในบ้านในเมืองของตนเอง ยกตัวอย่างเช่น ชาวนาญี่ปุ่นที่มีคุณภาพ ชีวิตดี๊ดี พักโรงแรมห้าดาว และสามารถ เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วโลกด้วยรายได้จากการปลูกข้าวของตนเอง 


   

ปัญหาหนี้สิน ราคาผลผลิตตกต่ำ การถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน การขาดอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจทุนนิยม เป็นปัญหาที่ทำให้เกษตรกรรากหญ้าไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้


   

แม้จะเป็นชาวบ้านคนแรกๆ ที่บุกเบิกการปลูกแตงโมหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปีในชุมชนบ้านโคกสะอาด ต.เวียงสะอาด อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม เมื่อกว่า 10 ปีก่อน จากนั้นก็สร้างเครือข่ายขยายผลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีสมาชิกในเครือข่ายไม่ต่ำกว่า 50 ราย ทั้งในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง โดยเริ่มจากปลูกแตงโมในพื้นที่ของตัวเองเพียงไม่กี่สิบไร่ ก่อนมาเช่าพื้นที่ปลูกเพิ่ม หลังผลผลิตที่ออกมาไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเริ่มจากปลูกแตงโมพันธุ์ทั่วไปๆ ที่จำหน่ายในท้องตลาด ก่อนมาเปลี่ยนเป็นแตงโมไร้เมล็ดพันธุ์แฮปปี้ แฟมิลี่ เมื่อ 2 ปีมานี่เอง เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ปลูกง่าย โตเร็ว ใช้น้ำน้อยและมีความต้องการของตลาดสูงมาก


   

จากการที่ "สุกรรณ์ สังข์วรรณะ" เป็นลูกเกษตรพันธุ์แท้มาตั้งแต่กำเนิด ครอบครัวยึดอาชีพทำนาทำไร่ที่บ้านดอนหอคอย ต.ยุ้งทะลาย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ทำให้เขาเลือกเรียนที่วิทยาลัยเกษตรสุพรรณบุรี อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี ต่อระดับปริญญาตรี คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ จบแล้วกลับบ้านเกิดทำนา และแต่งงานไปปักหลักทำนาในพื้นที่มรดกของภรรยาที่ อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี 33 ไร่ แบ่งเป็นทำนาปี 30 ไร่ เลี้ยงสุกรขายลูกพันธุ์ และขุน เริ่มจากแม่พันธุ์ 19 ตัว และพ่อพันธุ์ 1 ตัว ตั้งแต่ปี 2531


   

กรมวิชาการเกษตร เป็นหน่วยงานที่ให้การตรวจสอบและรับรอง แหล่งผลิตพืช ตามระบบเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice หรือ GAP) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ตามนโยบายอาหารปลอดภัย ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งผลผลิตพืชตามระบบ GAP เป็นผลผลิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย เป็นที่ยอมรับของตลาดทั้งในและต่างประเทศ


   

หนุ่มปักษ์ใต้ที่เกิดและเติบโตในชายฝั่งทะเลสาบสงขลา ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง ที่หันมาเอาดีด้านปาล์มน้ำมัน สำหรับ "อรุณ ไชยานุกูล" วัยย่าง 40 ที่ปัจจุบันอำลาชีวิตลูกจ้าง ยอมทิ้งเงินเดือนหลายหมื่นมาสวมหมวกเกษตรเต็มขั้น ด้วยการปลูกปาล์มน้ำมันและยางพารา พร้อมทำหน้าที่นักวิชาการอิสระให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มในพื้นที่บ้านเกิด