เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หัวหน้ามือใหม่ ภัยร้ายองค์กร ต้นเหตุลูกน้อง สุขภาพพัง-อยากลาออก

ข่าววันที่ : 8 ส.ค. 2566


Share

tmp_20232208144106_1.jpg

วันที่ ปรับปรุง 22 ส.ค. 2566

            ปัญหาระหว่าง “หัวหน้า” กับ “ลูกน้อง” เป็นเรื่องที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในสังคมการทำงานแทบทุกที่ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ขึ้นอยู่กับวิธีรับมือและรับฟังความคิดหรือแนวทางการทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งโชคร้ายที่หลายคนก็อาจจัดการปัญหานี้ไม่ได้จนบั่นทอนสุขภาพ เพราะอยู่ในสถานะลูกน้อง ที่ต้องทำตามคำสั่งของหัวหน้างาน แม้จะเป็น “หัวหน้ามือใหม่” ก็ตาม

            ผลวิจัยล่าสุดที่จัดทำโดย Oji Life Lab บริษัทระบบการเรียนรู้ทักษะภาวะผู้นำแบบดิจิทัล ร่วมกับ Harris Research บริษัทวิจัย ได้สำรวจความคิดเห็นพนักงานออฟฟิศในสหรัฐมากกว่า 2,000 คนเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา พบว่า 1 ใน 5 ของลูกจ้าง “อดหลับอดนอน” เพราะต้องทำงานร่วมกับ “หัวหน้าป้ายแดง” ที่มีทักษะการบริหารไม่มากพอ

            นอกจากนี้ยังพบว่า ลูกจ้างกว่า 1 ใน 3 ระบุถึงอาการวิตกกังวล การขาดแรงจูงใจทำงาน ภาวะอดนอน และผลกระทบอื่น ๆ จากการรับมือหัวหน้างานมือใหม่ ว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ต้องการลาออกจากงาน

            ขณะเดียวกัน ผู้ตอบแบบสำรวจหลายคนยังมองหัวหน้ามือใหม่ว่า “อ่อนหัด” ด้านการลดความขัดแย้งภายในทีม การตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ และการให้ข้อเสนอแนะที่มีคุณภาพ ซึ่งยังไม่นับรวมข้อบกพร่องอื่น ๆ อีก

            “ถึงแม้คุณจะกลายเป็นหัวหน้าที่ดีได้ แต่คุณก็ยังมีช่วงเวลาปีแรกที่เลวร้ายอยู่ดี” ลินดา ฮิลล์ ศาสตราจารย์คณะบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ซึ่งศึกษาด้านการบริหารมานานกว่า 40 ปีกล่าว
 

ปฏิบัติต่อทุกคนเหมือนกัน “ไม่แฟร์” เสมอไป
            ผลสำรวจระบุด้วยว่า พนักงานหญิงและลูกจ้างที่อาวุโสกว่า มีแนวโน้มมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ที่จะให้คะแนนหัวหน้างานมือใหม่ต่ำกว่า นั่นอาจเป็นเพราะหัวหน้าป้ายแดงส่วนใหญ่เชื่อว่า “การปฏิบัติต่อคนอื่นอย่างยุติธรรม คือ การปฏิบัติต่อทุกคนด้วยวิธีการเดียวกัน”

            อย่างไรก็ตาม ฮิลล์มองว่า แนวคิดนี้ไม่ถูกต้องนัก กลุ่มคนที่มีความแตกต่างกันย่อมคิดว่า ‘คุณไม่ได้ปรับใช้วิธีบริหารให้เข้ากับความเป็นจริงในชีวิตของฉันเลย’

นอกจากนั้น 40% ของพนักงานหญิงที่ตอบแบบสำรวจทั้งหมดระบุว่า มีความรู้สึกวิตกกังวลจากการทำงานกับหัวหน้ามือใหม่ ซึ่งทำให้พวกเธอต้องการลาออกจากบริษัทมากกว่าพนักงานชาย (29%) อย่างชัดเจน

 

วัฒนธรรมที่ทำงานเปลี่ยน ความคาดหวังสูง
            แมตต์ เคิร์ช ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) Oji Life Lab กล่าวว่า การต้องเป็นผู้นำทีมที่มีทั้งคนทำงานแบบทางไกล (รีโมต) และแบบผสม (ไฮบริด) ส่งผลให้เกิดความท้าทายสำคัญ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่เคยนึกถึงมาก่อนเมื่อ 3 ปีที่แล้ว

            “การเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมการทำงานซึ่งมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิภาพของการบริหารคน หมายความว่า ผู้บริหารบริษัทคาดหวังให้หัวหน้างานต้องเพิ่มผลิตภาพในทีมของตัวเอง โดยไม่ต้องจ้างคนเพิ่ม”

            อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าวส่งผลเสียอย่างมากต่อสุขภาพจิตของพนักงานที่ต้องรับภาระงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก

 

ที่มา  :  กรุงเทพธุรกิจ  8 สิงหาคม 2566