เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หุ่นยนต์จะทำงานแทน มนุษย์แน่นอน

ข่าววันที่ : 7 ธ.ค. 2561


Share

tmp_20180712103950_1.jpg

วันที่ ปรับปรุง 7 ธ.ค. 2561

          จากบทความของ "บาส เด วอส" ผู้อำนวยการไอเอฟเอส แล็บส์ องค์กรระดับโลกด้านการพัฒนาและนำเสนอซอฟต์แวร์สำหรับการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (Enterprise Asset Management หรือ EAM) และการบริหารจัดการงานบริการขององค์กร (Enterprise Service Management หรือ ESM) ได้พูดถึงการทำงานของคน และหุ่นยนต์
          จากการพูดคุยถึงระบบอัตโนมัติที่ทำงานด้วยเทคโนโลยีอย่างปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) จะเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ เช่น การนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้งานในโกดังสินค้า พวกมันทำงานแทนคนขับรถที่เป็นมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาคการผลิตก็จะเห็นสายการผลิตอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ด้วยต้นทุนที่ลดลงและมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้การนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้งานแบบนี้ได้กลายเป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว
          แต่. "บาส" บอกว่า ปรากฏการณ์การแทนที่ของแรงงานมนุษย์กับหุ่นยนต์ ยังไม่เป็นไปอย่างรวดเร็วและร้ายแรงเหมือนที่บางคนคิด!
          "การ์ทเนอร์" (Gartner, Inc.) คาดการณ์ว่า ในปี 2020 เอไอ จะกลายมาเป็นตัวสร้างงานอย่างเบ็ดเสร็จ ทำให้เกิดงาน 2.3 ล้านตำแหน่ง ในขณะที่ทำให้ตำแหน่งงานหายไปเพียง 1.8 ล้านตำแหน่ง แต่งานใหม่เหล่านี้จะมีความแตกต่างไปจากเดิม กล่าวคือจะต้องการคนที่มีความแตกต่างและมีคุณสมบัติมากขึ้นกว่าเดิม
          จากข้อเท็จจริง 2 ประการ คือ 1. ประชากรสูงวัย ที่จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ และ 2. คนยังต้องทำงานอยู่และต้องทำนานขึ้นกว่าเมื่อก่อน
          ทุกวันนี้ องค์กรจำนวนมากกำลังประสบปัญหาในการสรรหาบุคคลที่มีทักษะความสามารถที่เหมาะสม ซึ่งจากงานวิจัยของไอเอฟเอสเองก็บ่งชี้ให้เห็นว่า 34% ของบริษัทต่างๆ ยังไม่ได้เตรียมพร้อมรับมือกับช่องว่างของแรงงานที่มีทักษะ เมื่อต้องก้าวเข้าสู่เส้นทางสายดิจิตอลทรานส์ฟอร์เมชัน
          ดังนั้น แทนที่จะกลัวในเรื่องการไม่มีงานให้เราทำ ลองเปลี่ยนความคิดใหม่กันดู เพราะประเด็นใหญ่สุดไม่ใช่เรื่องที่ว่าหุ่นยนต์กำลังเข้ามาแย่งงานคน แต่เป็นมนุษย์ต่างหากที่ยังไม่มีทักษะมากพอที่จะทำได้
          เรื่องนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เราไม่สามารถคาดหวังให้ผู้คนทำงานแบบเดิมๆ อย่างที่พวกเขาทำมาตลอดทั้งชีวิตการทำงานได้ ขณะเดียวกัน เราก็สูญเสียพวกเขาไปไม่ได้ ซึ่งอาจหมายความว่าผู้คนจะต้องเปลี่ยนงานหลายครั้งในช่วงชีวิตวัยทำงาน องค์กรจำเป็นต้องพิจารณาถึงความต้องการ และแทนที่จะมุ่งความสนใจเฉพาะเรื่องเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว องค์กรจำเป็นต้องให้ความสนใจกับวิธีที่จะนำพาแรงงาน ผ่านการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
          ปัญหานี้มีองค์ประกอบในการแก้ไขอยู่เพียง 2 อย่างเท่านั้น คือ คนและเทคโนโลยี
          องค์กรจำเป็นที่จะต้องมีศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทาง ที่ทุ่มเทฝึกฝนทักษะความชำนาญให้กับแรงงานในช่วงต้นของวัยทำงานหรือไม่ ทำไมองค์กรไม่ส่งคนมีทักษะพื้นฐาน เพื่อเปิดทางให้แรงงานเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดการทำงานของเขา ซึ่งคนงานกลุ่มใช้แรงงานจำนวนมาก ควรมีความรู้พื้นฐานหรือทักษะที่เหมาะสมต่อการพัฒนาในอนาคต
          ในวันนี้ สิ่งที่องค์กรควรคำนึงถึงคือ เทคโนโลยีจะสามารถส่งเสริมมนุษย์ได้อย่างไร เราจะนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยคนงานปิดช่องว่างทางด้านทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการทำงานได้อย่างใร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเออาร์ (Augmented Reality) สำหรับการสนับสนุนทางไกล หรือโดรนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนงาน ควรพิจารณาเทคโนโลยีทั้งหมดนี้ ในบริบทของวิธีการที่พวกเขาสามารถนำมาใช้ เพื่อเพิ่มพูนทักษะของมนุษย์ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน

 

ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก  :  หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 6 - 8 ธ.ค. 2561