เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
กรมการข้าวหนุนชาวนารุ่นใหม่ ชูพะเยาโมเดลต้นแบบการสร้างความเข้มแข็งอนาคตข้าวไทย

          กรมการข้าว ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญต่อข้าวและเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติของชาวนาในฐานะผู้ผลิตอาหารหลักให้กับคนไทยทั้งชาติ จึงได้ทำกิจกรรมสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาอาชีพการทำนา ด้านการสร้างและพัฒนาชาวนารุ่นใหม่และการสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ภายใต้โครงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชาวนาและองค์กรชาวนาปี 2560 ถือเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ประเทศ ในการปรับปรุงขีดความสามารถการแข่งขันข้าวไทยสร้างความเข้มแข็งให้ชาวนาและองค์กรชาวนาในการผลิตข้าวให้มากขึ้นพึ่งพาตนเองได้ดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นการส่งเสริมให้เยาวชน ชาวนารุ่นใหม่และลูกหลานชาวนามีการสืบทอดการทำนามีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพการทำนาตลอดจนการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับข้าว

          นางจุลมณี ไพฑูรย์เจริญลาภ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการผลิตข้าว กรมการข้าวกล่าวว่า ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของชาวนาไทยมากกว่า 50 ปีขึ้นไป อีกทั้งลูกหลานชาวนาส่วนใหญ่ก็มีแนวโน้มที่จะเข้าสู่อาชีพชาวนาตามบรรพบุรุษลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากเด็กสมัยใหม่เข้าสู่ระบบการศึกษาพอมีการศึกษาสูงขึ้นก็มีความสนใจที่จะไปทำอาชีพอื่นมากกว่าทำนาหรือทำการเกษตรเหมือนพ่อแม่ เรื่องนี้ทำให้กรมการข้าวมองว่าถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปอนาคต คนที่จะเข้ามาสู่อาชีพทำนาจะไม่มี จึงจำเป็นต้องหาคนรุ่นใหม่ที่จะมาสานต่ออาชีพทำนา และมองว่าอาชีพนี้สามารถทำเป็นอาชีพที่สร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัวและมีความมั่นคงได้

          การสร้างและพัฒนาชาวนารุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) กรมการข้าวมุ่งเน้นในการเฟ้นหาคนรุ่นใหม่ที่สนใจอยากจะเข้ามาสู่อาชีพทำนา หรือผู้ที่ทำนาอยู่แล้วแต่อยากพัฒนาตัวเองให้เป็นชาวนารุ่นใหม่ เข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านกิจกรรมเวิร์กช็อป เวทีชุมชน ที่สำคัญคือมีการสร้างเครือข่ายชาวนารุ่นใหม่ ด้วยการ คัดสรรชาวนารุ่นใหม่ที่มีความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงระบบการ ทำนาในชุมชน ให้มีการยอมรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ประยุกต์ใช้ในการ ทำนาร่วมกับองค์ความรู้ของชุมชน เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าว เพิ่มประสิทธิภาพการทำนา นำไปสู่การยกระดับการทำนาและสร้างความยั่งยืนในอาชีพชาวนาต่อไปในอนาคต

          ทั้งนี้ กรมการข้าวได้ดำเนินการพัฒนาและสร้างชาวนารุ่นใหม่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา จนกระทั่งได้ต้นแบบชาวนารุ่นใหม่ที่มีแนวคิดในการทำนารูปแบบใหม่ๆ จนประสบความสำเร็จ สามารถนำแนวทางไปเผยแพร่เป็นแบบอย่างให้กับชาวนารุ่นใหม่ท่านอื่นที่กำลังตัดสินใจจะก้าวเข้าสู่อาชีพนี้ได้เป็นอย่างดี

          "กรมการข้าวอยากเชิญชวนลูกหลานชาวนาเอง หรือท่านใดก็ตามที่อาจเพิ่งจบการศึกษา หรือทำงานรับจ้างหรือประกอบอาชีพอื่น ที่พอจะมีที่ดินทำกินอยากกลับมาประกอบอาชีพทำนา และสนใจอยากฝึกฝนพัฒนาสู่การเป็นชาวนารุ่นใหม่ สามารถสมัครได้ที่กรมการข้าว เราพร้อมที่จะสนับสนุนทั้งองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมต่างๆ หรือผ่านการศึกษาดูงานจากชาวนารุ่นใหม่ต้นแบบที่กระจายอยู่ตามชุมชนต่างๆ ได้" นางจุลมณี กล่าวย้ำ

          ตัวอย่างหนึ่งของผลสำเร็จจากการสร้างชาวนารุ่นใหม่ต้นแบบของกรมการข้าว ที่คาดว่าจะพัฒนาเป็นพะเยาโมเดลสำหรับใช้ขยายผลในพื้นที่อื่นต่อไป คือ นายสวาท พรรสินตระ อายุ 36 ปี อยู่บ้านเลขที่ 132 ม.4 ต.บ้านตุ่น อ.เมือง จ.พะเยา

          นายสวาท ชาวนารุ่นใหม่ต้นแบบ เล่าว่า เดิมช่วยพ่อแม่ทำนาตั้งแต่เด็กจนกระทั่ง อายุ 18 ปี ก็เลิกทำและออกไปหางานทำในเมืองใหญ่ นับตั้งแต่นั้นมาชีวิตก็ก้าวไปสู่สังคมเมืองและก็มีครอบครัว ไม่ว่าจะทำอะไรก็พบว่าไปไม่รอด เนื่องจากบ้านเราเป็นเมืองเกษตรกรรม เราเคยทำนาเป็นเกษตรกรก็เลยหวนกลับมาทำนาอย่างจริงจังอีกครั้งตอนอายุ 24 ปี แต่ครั้งนี้ได้ปรับเปลี่ยนจากการทำนาแบบใช้สารเคมีที่ไม่รู้จักต้นทุนที่แท้จริง รู้แต่เพียงขาดทุน ทำนาแบบเปลืองทุน ได้ปรับแนวความคิดแบบใหม่ ด้วยการเข้าไปอบรมด้านการเกษตรต่างๆ จากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวพะเยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ตนมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนระบบการทำนาจากเดิมเป็นการผสมผสานองค์ความรู้สมัยใหม่ นำเทคโนโลยี นวัตกรรมและเครื่องจักรกลเข้ามาช่วย ยกระดับการผลิตข้าวให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด เริ่มจากผลิตข้าวภายใต้ระบบมาตรฐาน GAP และพัฒนาไปอีกขั้นสู่การ