เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
คอลัมน์: Digithun: ตลาดงานดิจิทัลถึงเวลาบริหารงาน Temp

          เมื่อเกิดกระแสฝูงมหาชนการก้าวเข้าสู่วงการสตาร์ทอัพ สิ่งที่เป็นปัญหาตามมา ยิ่งใหญ่กว่าการคิดไอเดียธุรกิจคือ การสร้างไอเดียให้เกิดขึ้นจริงภายใต้ทรัพยากร ที่มีอยู่ เงิน กำลังคน กำลังสมอง และแผนการผลักดันให้ธุรกิจกลายเป็นที่รู้จัก แม้จะมีเครื่องมือเข้ามาช่วยจำนวนมากในยุคนี้แต่สิ่งสำคัญ คือ ความต้องการกำลังคนที่มีความรู้เข้าใจเครื่องมือและสำคัญที่สุดคือเข้าใจเทคโนโลยีใหม่ๆ แม้ทุกวันนี้น้องๆ รุ่นใหม่ที่มี Passion ในการทำงานและดู Learning Curve ในการเรียนรู้นำมาสอนงานให้ตรงต่อความต้องการในตลาด แต่ปัญหาที่ตามมา จะเป็นเรื่องของการดึงตัว การรักษาให้พนักงานภักดีกับองค์กรให้ข้ามจุดคุ้มทุนในการพัฒนาเด็กและใช้งานให้เกิดประโยชน์ แต่แรงงานเด็กรุ่นใหม่มีความ อดทนน้อย คาดหวังเงินเดือนสูง และต้องการความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เป็นปัญหาปวดหัวของหลายบริษัท เทคโนโลยีทุกวันนี้ก็เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็น ปัญหาทับซ้อนไปมา ครั้งเมื่อมีปัญหาต้องการคนแบบเร่งด่วนก็ต้องดึงตัวจากบริษัทอื่น ซึ่งก็ต้องยอมรับเงินเดือนที่สูงตามไปด้วย

          ด้วยวงจรที่ว่ามาทำให้เกิดฟองสบู่ของอัตราเงินเดือนคนในวงการดิจิทัลเราจะเจอเงินเดือนหลักแสนในความสามารถ 50,000 เราจะเจอเงินเดือนที่สูงกว่าคุณค่าจริงมากมาย ยิ่งตลาดมีดีมานด์สูงทำให้ฟองสบู่ยิ่งขยายตัวเร็วขึ้น

          ในวิกฤติเป็นโอกาส การที่เด็กยุคใหม่ออกมาทำธุรกิจด้วยต้นเองในรูปแบบ บริษัทสตาร์อัพ ก็เป็นโอกาสที่เราจะสามารถใช้กลยุทธ์การ Out Sourcing  เด็กที่มี ความสามารถในปัจจุบันหลังจากทำงานในบริษัทใหญ่ซักพัก เมื่อเห็นโอกาสก็จะเลือก ที่จะออกมาเป็นเจ้านายตัวเอง ตั้งทีมขนาดย่อมๆ สร้างไอเดียดีๆ และรับงานกันเป็นกลุ่มๆ การสร้าง Connection กับคนกลุ่มนี้ เพื่อหาทีมงานคุณภาพมารับงานเป็นทางออกที่ดี

          รูปแบบนี้พูดถึงในวงกว้าง คือ การบริหารจัดแรงงานแบบ TEMP  (เทมป์) หรือบางครั้งก็อาจจะเรียกว่า Disposable Worker คือการจ้างงานระยะสั้นหรือ ใช้แล้วทิ้ง ซึ่งช่วยได้มากทีเดียวในตลาดแรงงานฟองสบู่ดิจิทัล

          องค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานจำนวนมากๆ หลายครั้งเมื่อเกิดวิกฤติที่ ส่งผลกระทบอย่างหนัก มักได้รับผลกระทบก่อนและมีโอกาสล้มเป็นรายแรกๆ การตัดค่าใช้จ่ายหลักคือเรื่องของพนักงานจึงเป็นตัวเลือกที่เห็นบ่อยๆ เพื่อหา ทางรอด

          ปัจจุบันการมีพนักงานจำนวนมากในสายตาของนักธุรกิจไม่ได้หมายถึง ความแข็งแรงแต่คือ จุดเสี่ยง เพราะไม่ใช่ยุคของการเก็บแรงงานคุณภาพไว้เยอะๆ แต่เป็นการนำเทคโนโลยีมาทดแทนคนได้อย่างไร เพื่อลดความเสี่ยงในข้อนี้ บริษัทซอฟต์แวร์หลายรายที่ทำธุรกิจขายโปรแกรมเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับองค์กรจำนวนมาก เครื่องมือเสริมสร้าง Productivity ช่วยในการสื่อสารทำงานร่วมกันจึงเติบโต ต่อเนื่อง

          แรงงานพนักงานแบบชั่วคราวเป็นวิธีที่ต้องนำมาปรับมาใช้ในองค์กรยุคใหม่ วิธีการคิดพื้นฐาน อะไรที่ไม่ใช่ core competency สมรรถนะหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจ ไม่ต้องคิดเยอะให้จ้างภายนอก แม้จะเป็นโครงการระยะยาว หรือคำนวณในทางบัญชีแล้วจ้างคนไว้เอง คุ้มค่าและถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วกว่าก็ตาม อย่าลืมต้นทุนที่เรามองไม่เห็นอื่นๆ เช่น การสอนงานพัฒนาเพิ่มทักษะ สวัสดิการและอุปกรณ์การทำงานพื้นฐานที่ต้องเพิ่มขึ้น  อย่าลืมว่าเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพจำนวนมากมาใช้งาน

          ในทางกลับกันสิ่งที่น่ากลัวของแรงงานเองก็มีความเสี่ยงสูงขึ้น จากการมาของเทคโนโลยี คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาทดแทนมนุษย์ เมื่อออกมาทำธุรกิจเป็นเจ้านายตัวเอง ก็จะพบกับการแข่งขันที่สูงเช่นเดียวกัน เดิมการทำงานราชการเพราะเหตุผลเรื่องความมั่นคง แต่เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่อยากเลี้ยงคนจำนวนมากในองค์กร ความมั่นคงของลูกจ้างในอนาคตก็ลดลง และถูกทดแทนด้วยเทคโนโลยีและหุ่นยนต์ ที่ทำงานได้ 24 ชั่วโมง  ภาพของความมั่นคงในระยะยาวที่ลูกจ้างคาดหวังเป็นเป็นเรื่องที่ดูริบหรี่ลง ลองคาดเดาว่าชีวิตหลังเกษียณของคุณรุ่นใหม่ในอนาคตจะลำบากขนาดไหนกัน เป็นการปรับสมดุลครั้งใหม่ของการบริหารคนและธุรกิจยุคใหม่ ที่เราต้องเฝ้ามอง และปรับตัวอย่างระมัดระวัง ทั้งคนจ้าง นายจ้าง และลูกจ้าง ได้รับผลกระทบ นี้ทั้งสิ้น

          "พนักงาน แบบชั่วคราว เป็นวิธีที่ต้องนำมาปรับมาใช้ในองค์กรยุคใหม่"

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 5 สิงหาคม 2559 หน้าที่ 29



เอกสารที่เกี่ยวข้อง