เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

เทคนิคเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวาน ใส่ปุ๋ยตามลักษณะเนื้อดิน

ข่าววันที่ :7 พ.ย. 2566

Share

tmp_20230711133422_1.png

              ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์สงขลา 84-1 เป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร มีลักษณะเด่น คือ เมล็ดพันธุ์ราคาถูก ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการบริโภคฝักสด และสามารถปลูกทั่วไปทั้งในสภาพดินไร่และดินนาของภาคใต้

              แต่ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกรรายย่อย ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ

              ทีมนักวิจัยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร นำโดยนางสาวบุญณิศา ฆังคมณี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา แนะนำว่า หากเป็นดินเนื้อปานกลาง และดินเนื้อละเอียด (ดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียว และดินเหนียว) การใส่ปุ๋ยข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์สงขลา 84-1 โดยใส่ปริมาณธาตุอาหาร 20-5-5 กก. N-P2O5-K2O/ไร่

              แต่ถ้าดินมีปริมาณอินทรียวัตถุระดับต่ำถึงปานกลาง ควรใส่ปริมาณธาตุอาหารสูงกว่า 20-5-5 กก. N-P2O5-K2O/ไร่ หรือใส่ปุ๋ยเพิ่มครั้งที่ 3 เมื่อใบของลำต้นแสดงอาการใบเหลืองโดยครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-8-8 อัตรา 63 กก./ไร่ รองก้นหลุมตอนปลูก ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 22 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดอายุ 30 วัน และครั้งที่ 3 เมื่อใบของลำต้นแสดงอาการใบเหลือง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดอายุ 40-45 วัน

              ทั้งนี้หากดินเนื้อหยาบ (ดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วนปนทราย ดินทรายแป้ง ดินทรายปนร่วน ดินทราย) ปริมาณธาตุอาหารแนะนำ 30-10-10 N-P2O5-K2O กก./ไร่ โดยครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 67 กก./ไร่ รองก้นหลุม และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 44 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดอายุ 30 วัน

              ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์สงขลา 84-1 เป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตร มีลักษณะเด่น คือ เมล็ดพันธุ์ราคาถูก ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพเหมาะสมสำหรับการบริโภคฝักสด และสามารถปลูกทั่วไปทั้งในสภาพดินไร่และดินนาของภาคใต้  แต่ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เกษตรกรส่วนใหญ่ที่เป็นเกษตรกรรายย่อย ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ

              ทีมนักวิจัยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 กรมวิชาการเกษตร นำโดยนางสาวบุญณิศา ฆังคมณี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา แนะนำว่า หากเป็นดินเนื้อปานกลาง และดินเนื้อละเอียด (ดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทราย ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินเหนียวปนทราย ดินเหนียวปนทรายแป้ง ดินร่วนเหนียว และดินเหนียว) การใส่ปุ๋ยข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์สงขลา 84-1 โดยใส่ปริมาณธาตุอาหาร 20-5-5 กก. N-P2O5-K2O/ไร่

              แต่ถ้าดินมีปริมาณอินทรียวัตถุระดับต่ำถึงปานกลาง ควรใส่ปริมาณธาตุอาหารสูงกว่า 20-5-5 กก. N-P2O5-K2O/ไร่ หรือใส่ปุ๋ยเพิ่มครั้งที่ 3 เมื่อใบของลำต้นแสดงอาการใบเหลืองโดยครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 16-8-8 อัตรา 63 กก./ไร่ รองก้นหลุมตอนปลูก ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 22 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดอายุ 30 วัน และครั้งที่ 3 เมื่อใบของลำต้นแสดงอาการใบเหลือง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 25 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดอายุ 40-45 วัน

              ทั้งนี้หากดินเนื้อหยาบ (ดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วนปนทราย ดินทรายแป้ง ดินทรายปนร่วน ดินทราย) ปริมาณธาตุอาหารแนะนำ 30-10-10 N-P2O5-K2O กก./ไร่ โดยครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 67 กก./ไร่ รองก้นหลุม และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 44 กก./ไร่ เมื่อข้าวโพดอายุ 30 วัน

              ผลการเปรียบ เทียบระหว่างวิธีแนะนำและวิธีเกษตรกรที่ปฏิบัติแบบเดิม พบว่า การใส่ปุ๋ยตามวิธีแนะนำ (การใส่ปุ๋ยตามลักษณะเนื้อดิน) เป็นวิธีการที่ทำให้ข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสมสงขลา 84-1 ให้ผลผลิตน้ำหนักฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ย 2,526 กก./ไร่/ปี สูงกว่าการใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร โดยให้ผลผลิตสูงกว่า 151 กก./ไร่/ปี และยังให้ผลตอบแทนสูงกว่าการใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร 2,847 บาท/ไร่/ปี และอีกทั้งยังพบว่าการใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ มีต้นทุนการผลิตที่ลดลงจากการใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร 135 บาท/ไร่/ปี

              ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8 จ.สงขลา โทร.0-7458-6725-30 E-mail : Songkhla.doa@gmail.com


ที่มา  :  https://www.thairath.co.th/news/local/south/2738553