เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ดิจิทัล เวิร์กเพลซ รับเทรนด์ทำงานยุคใหม่

ข่าววันที่ :6 ก.ค. 2560

Share

tmp_20170607095118_1.png

เรื่อง | จารุพันธ์ จิระรัชนิรมย์

          การทำงานในโลกยุคดิจิทัลนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะ ในสำนักงานที่อยู่ในอาคาร จริงๆ เพียงอย่างเดียว เพราะเทคโนโลยี ก้าวล้ำไปมากจนเปิดโอกาสให้คนสามารถทำงานร่วมกันผ่านสถานที่ทำงานบนโลกดิจิทัล (ดิจิทัล เวิร์กเพลซ) ซึ่งทำให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

          ราเมช โกปาลกฤษณะ หัวหน้าฝ่ายเวิร์กเพลซ บาย เฟซบุ๊ก เอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า บรรยากาศในที่ทำงานเปลี่ยนไป คนใช้เวลากับมือถือมากขึ้น บริษัทต่าง ต้องการเข้าถึงพนักงานในพื้นที่ที่พนักงานอยู่และสร้างความร่วมมือกันทั้งในและนอกสำนักงานทุกที่ทั่วโลก

          ขณะที่ทั่วโลกมีพนักงานกว่า 3,200 ล้านคน จำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊ก 845 ล้านคน ส่วนใหญ่ใช้งานทุกวัน ทำให้เฟซบุ๊กสร้างแพลตฟอร์มเวิร์กเพลซขึ้น เพื่อลดช่องว่างของบริษัทที่มีสำนักงานกระจายทั่วโลกในเขตเวลาและภาษาที่แตกต่างกัน

          เวิร์กเพลซ เริ่มต้นโดยใช้ชื่อว่า เฟซบุ๊กแอด เวิร์ก กระทั่งกลายเป็นเวิร์กเพลซ ในปัจจุบัน โดยเริ่มทดลองให้บริการปี 2558 ก่อนเปิดตัวเป็นทางการเมื่อเดือน ต.ค. 2559 ซึ่งถูกพัฒนาเป็นเครื่องมือการทำงานร่วมกันภายในองค์กรสมัยใหม่ รองรับองค์กรที่มีโครงสร้างซับซ้อนได้ ตัวอย่างเครื่องมือ ได้แก่ สามารถสร้างกลุ่มทำงานหลากหลายกลุ่มได้ พร้อมกับจัดประชุมสดผ่านฟังก์ชั่นไลฟ์เพื่อสื่อสารกับคนในบริษัทได้ เมื่อจบการประชุมก็เลือกโพสต์วิดีโอจากการประชุมสดไว้เพื่อให้พนักงานเข้ามาดูซ้ำอีกได้

          นอกจากนี้ ยังมีฟังก์ชั่นวิดีโอ 360 องศา รองรับการนำไปใช้ถ่ายภาพมุมมอง 360 องศาในพื้นที่ เป็นประโยชน์อย่างมาก ในการสื่อสารกับพนักงานทำให้เห็นพื้นที่จริงของโครงการ

          ขณะเดียวกันบริษัทยังสามารถค้นหาพนักงานทุกคนในบริษัทได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีเบอร์โทรศัพท์ก็สามารถติดต่อไปได้ เฉพาะบุคคล แม้ว่าจะไม่เคยเจอพนักงานคนนั้นมาก่อน รวมทั้งมีฟังก์ชั่นให้ออก คะแนนเสียงในเรื่องต่างๆ ที่บริษัทต้องการ ทราบ เพื่อนำไปประกอบการบริหารหรือ ตัดสินใจขององค์กร และล่าสุดก็ได้เชื่อมต่อการทำงานของเวิร์กเพลซให้ทำงานร่วมกับพันธมิตรได้ เช่น วันไดรฟ์ ออฟฟิศ บ็อกซ์ เซลฟอร์ซ หรือควิป จึงตอบโจทย์องค์กรที่ต้องการแบ่งปันไฟล์ต่างๆ ที่เก็บไว้ผ่านพันธมิตรเหล่านี้บนเวิร์กเพลซ

          ไม่เพียงแต่เวิร์กเพลซ ยังมีแอพพลิ เคชั่นเวิร์กแชต ที่รูปแบบการทำงานเหมือน กับเมสเซนเจอร์เพื่อใช้สื่อสารกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลด้วย

          ราเมช กล่าวว่า เวิร์กเพลซและ เวิร์กแชต มีรูปแบบการใช้งานเหมือนกับ เฟซบุ๊กต่างกันที่เวิร์กเพลซและเวิร์กแชต เป็นแพลตฟอร์มที่ใช้เฉพาะภายใน องค์กร โดยมีองค์กรเป็นผู้ดึงพนักงานเข้ามาใช้งานผ่านบัญชีรายชื่อพนักงาน บัญชีอีเมล องค์กรที่พนักงานมี ซึ่งบัญชีผู้ใช้งานนี้จะไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ กับเฟซบุ๊กเลย จึงไม่มีปัญหาเรื่องการก้าวล้ำ ความเป็นส่วนตัว หรือทำให้ต้องกังวลเรื่อง ความปลอดภัย รวมทั้งเรื่องความลับรั่วไหล

          ที่ผ่านมามีองค์กรมาใช้งานเวิร์กเพลซ แล้วกว่า 1.4 หมื่นองค์กรทั่วโลก มีตั้งแต่ระดับรัฐบาลบางประเทศเข้ามาใช้ เช่น สิงคโปร์ รวมถึงองค์กรธุรกิจตั้งแต่กลุ่มสตาร์ทอัพที่มีพนักงานแค่หลัก 10 คนไป จนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างองค์กรซับซ้อน มีพนักงาน 4.4 หมื่นคน ส่วนองค์กรในไทยที่เป็นกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาใช้งานคือ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์

          ทั้งนี้ เวิร์กเพลซมีทั้งแบบที่เสียค่าใช้จ่าย โดยคิดตามจำนวนผู้ใช้งาน ในกรณี ที่ผู้ใช้งานมากขึ้น ค่าใช้งานต่อคนก็จะ ถูกลง อีกทั้งยังมีบริการเวิร์กเพลซแบบ ไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือเวิร์กเพลซ สแตนดาร์ด เพื่อให้องค์กรได้เข้ามาทดสอบใช้บริการเวิร์กเพลซได้

          มาร์ติน โคเมอร์ หัวหน้าฝ่ายไอที บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า ประโยชน์ ทางอ้อมของการใช้เวิร์กเพลซคือช่วยลดต้นทุนได้จากการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้พนักงานได้มองเห็นในสิ่งที่ บริษัททำไปแบบเรียลไทม์ ปรับปรุงการ สื่อสารทำให้คนทำงานภายในและภายนอกสำนักงานได้รู้ข่าวสารพร้อมๆ กัน สิ่งที่เห็น ได้ชัดก็คือลดเวลาที่ต้องเสียไปกับการลบอีเมลเพราะสามารถลดจำนวนการส่งอีเมลแจ้งข่าวสารไปได้ 60-70%

          อัครินทร์ ภูรีสิทธิ์ รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลแฟมิลี่มาร์ท กล่าวว่า ความท้าทายของแฟมิลี่มาร์ทคือเป็นร้านสะดวกซื้อที่มีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 90% ของพนักงานทำงานนอกสำนักงาน หากมีการส่งข้อมูลจากสำนักงานใหญ่เพื่อไปให้ถึงพนักงานก็อาจจะมีการบอกต่อหลายทอดจนข้อมูลที่ต้องการสื่อสารไปไม่ครบ จึงต้องหาเครื่องมือเพื่อช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกัน เกิดความร่วมมือที่ดีขึ้นผ่านการใช้เวิร์กเพลซ

          นอกเหนือจากแพลตฟอร์มอย่างเวิร์กเพลซและเวิร์กแชตที่เฟซบุ๊กสร้างขึ้นมาแล้ว ก็มีแพลตฟอร์มอื่นๆ อีกที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นดิจิทัล เวิร์กเพลซ

          บิล เซง ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการทำงานร่วมกันบนคลาวด์ บริษัท ซิสโก้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น เปิดเผย ว่า สิ่งสำคัญขององค์กรก็คือคน ปัจจุบัน ทีมงานต่างมองหาเครื่องมือที่จะใช้เพื่อ ช่วยให้ทำงานได้ดีขึ้น และจากการที่ทุกคน หันมาใช้อุปกรณ์มือถือทำให้พื้นที่การทำงานเปลี่ยนไป ทำให้องค์กรต้องอนุญาตให้เกิดการเคลื่อนย้ายข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตได้อย่างเสรีมากขึ้น

          จากเหตุผลนี้ทำให้ซิสโก้เปิดตัวซิสโก้สปาร์ค นวัตกรรมใหม่เพื่อการทำงานร่วมกันโดยออกแบบคำนึงถึงความปลอดภัย ให้องค์กรเข้ารหัสแบบครบวงจรสำหรับข้อมูลที่จะถ่ายโอน จัดเก็บไว้ และกำลังถูกใช้งาน ทำให้ปกป้องการคุกคามจากภายนอกได้

          ความสามารถในการทำงานของซิสโก้ สปาร์ค ประกอบด้วยความสามารถพื้นฐาน ที่จำเป็นต่อองค์กร 3 ด้าน คือ การจัดประชุมที่ รองรับทั้งประชุมในบริษัทและประชุมผ่านวิดีโอได้พร้อมๆ กัน การส่งข้อความและข้อมูลทั้งแบบ 1 ต่อ 1 หรือการส่ง แบบกลุ่มคน รวมถึงการโทรศัพท์ทั้งผ่านระบบคลาวด์และระบบโทรศัพท์ขั้นพื้นฐาน

          พร้อมกันนี้ ยังมีอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์รุ่นใหม่รองรับซิสโก้ สปาร์ค ภายใต้ชื่อ ซิสโก้ สปาร์ค รูม คิท ซีรี่ส์ สำหรับติดตั้งระบบในห้องประชุม โดยซิสโก้ สปาร์ค เปิดโอกาสให้พันธมิตรสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ โดยเลือกความสามารถบางอย่างหรือทั้งหมดที่มีไปใช้

          ตัวอย่างพันธมิตร ได้แก่ ไอบีเอ็มที่นำฟีเจอร์หลักๆ ของสังคมออนไลน์ที่คนทั่วไปนิยมใช้มาผสมผสานกัน ผนวกกับฟังก์ชั่นซิสโก้ สปาร์ค เกิดเป็นเครื่องมือ การทำงานภายในองค์กรที่ใช้งานง่าย รองรับการสื่อสารภายในองค์กร สามารถดึงคนนอกองค์กรที่อยู่ร่วมทำโครงการเดียวกับคนในองค์กรเข้ามาใช้ได้ ผ่านการใช้งานในกลุ่มเฉพาะที่จัดตั้ง ซึ่งจะทำให้คนที่อยู่กลุ่มเดียวกันส่งและได้รับข้อมูลชุดเดียวกัน อีกทั้งผู้ที่ได้รับอนุญาตเช่นผู้บริหารยังนำข้อมูลภายนอกองค์กรที่จำเป็น

          หากต้องการเป็นองค์กรที่โดนใจ คนรุ่นใหม่ ตอบโจทย์การทำงานแบบไม่มีขีดจำกัดเรื่องสถานที่ องค์กรควรหาช่องทางทำงานบนโลกดิจิทัลได้แล้ว