เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หวั่นพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฉบับใหม่เข้มบจ.กังวลเปิดแผนธุรกิจ

ข่าววันที่ :10 ม.ค. 2560

Share

tmp_20171001151057_1.jpg

          หลังจากที่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฉบับใหม่ ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในแวดวงตลาดทุนต่างกังวลต่อการให้ข้อมูลต่างๆ รวมถึงการเปิดเผยต่อนักวิเคราะห์หลักทรัพย์สำหรับประกอบการทำประมาณการอีกด้วย

          แหล่งข่าวนักวิเคราะห์ เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่าบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งมีความกังวลต่อการให้ข้อมูลกับนักวิเคราะห์มากขึ้น ซึ่งเป็นข้อมูล ที่ใช้สำหรับการจัดทำประมาณการกำไร เช่น บริษัทกลุ่มโรงแรม ซึ่งทั้งกลุ่มต่างกังวลต่อการให้ข้อมูลเนื่องจากความไม่ชัดเจนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ต่อการบังคับใช้พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับปรุงใหม่

          นางกมลวรรณ วิปุลากร กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ERW เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมมีการพูดคุยกัน เพื่อจะกำหนดแนวทาง ร่วมกันในการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ รวมถึงการให้ข้อมูลนักวิเคราะห์ เพื่อประกอบการทำประมาณการด้วย ปกติบริษัทจะพบกับนักวิเคราะห์ ปีละ 8 ครั้ง โดย 4 ครั้งเป็นการให้ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับประกอบการทำประมาณการ ส่วนอีก 4 ครั้ง เป็นการพบกันหลังจาก ที่งบการเงินประกาศออกมาแล้วในแต่ละไตรมาส เบื้องต้นที่ผู้ประกอบการโรงแรมคุยกันยังไม่ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้

          เบื้องต้นคาดว่าการพบกัน 4 ครั้งหลังจากงบออก ไม่น่าจะมีปัญหาใดๆ แต่การให้ข้อมูลก่อนงบออกนั้นคงต้องหาข้อสรุปร่วมกัน แต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่า จะให้ข้อมูลใดๆ ได้บ้าง

          อย่างไรก็ตาม ทุกคนก็ต้องทำตาม เกณฑ์ที่ออกมา เพื่อจะได้เกิดความ เท่าเทียมกัน

          นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทิสโก้ ระบุไว้ในบทวิเคราะห์ว่า ด้วยกฎใหม่ ของก.ล.ต.ที่ห้ามบริษัทให้ข้อมูลทุก ไตรมาส ทำให้มองว่าในอนาคตธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องให้ธนาคารเผยข้อมูลของการปรับโครงสร้างสินเชื่อในคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ (Management Discussion and Analysis)

          สำหรับแนวโน้มกลุ่มธนาคาร พาณิชย์ บล.ทิสโก้ มองว่า คุณภาพสินเชื่อ ที่ลดลงในช่วงไตรมาส 4/2559 ถึงไตรมาส 1/2560เป็นผลจากการปราบปรามทัวร์ศูนย์เหรียญและช่วงไว้ทุกข์ได้รับรู้ ไปในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ทำให้ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับตัวต่ำกว่าตลาด คาดว่าเอ็นพีแอลจะเริ่มทรงตัวใน ไตรมาส 2/2560 จากโครงสร้างพื้นฐาน การท่องเที่ยว การบริโภคที่กระตุ้นจีดีพีในช่วงไตรมาส 2 เป็นต้นไป

          จากข้อมูลในปี 2549-2559 กลุ่มธนาคารพาณิชย์ มีความสัมพันธ์กับเอ็นพีแอล แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับส่วนต่างของอัตราสินเชื่อ (NIM) ค่าธรรมเนียม และการเติบโตของ สินเชื่อ

          แต่เรายังมีความกังวลว่า เอ็นพีแอลที่เริ่มดีขึ้นในไตรมาส 4/2559 ถึงไตรมาส 1/2560 จะเป็น ผลของการเลื่อนเอ็นพีแอลไปเป็น ช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้แทน ผ่าน การปรับโครงสร้างหนี้มากกว่า การฟื้นตัวที่แท้จริง แนะนำให้ นักลงทุนติดตามคุณภาพของสินเชื่ออย่างใกล้ชิด

 

          บรรยายใต้ภาพ

          กมลวรรณ วิปุลากร

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 10 มกราคม 2559