เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

โพลล์ซีอีโอชี้ศก.ครึ่งปีหลังทรงตัว ส่วนใหญ่วางแผน-ปรับตัวรับมือ

ข่าววันที่ :22 มิ.ย. 2559

Share

tmp_20162306142559_1.jpg

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับ "สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย" (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น "CEO Survey ทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมครึ่งหลัง ปี 2559" โดยถามความคิดเห็นจากผู้บริหารระดับสูงในภาคอุตสาหกรรมทั่วทุกภูมิภาค ระหว่างวันที่ 23 พ.ค.-10 มิ.ย. 2559 มีรายละเอียดดังนี้

          จากผลการสำรวจ ความคิดเห็นของผู้บริหาร ระดับสูงที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยโดยรวมในช่วงครึ่งหลังปี 2559 พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ 60.42% ระบุว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยโดยรวมในช่วงครึ่งหลังปี 2559 จะทรงตัว รองลงมา  25.00% ระบุว่า จะขยายตัว และ 12.50% ระบุว่า จะหดตัว และ 2.08% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์บ้านเมือง

          ด้านการคาดการณ์ของผู้บริหารระดับสูงต่อทิศทางแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งหลังปี 2559 พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่  56.25% ระบุว่า ทิศทางแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งหลังปี 2559 จะทรงตัว รองลงมา  27.08% ระบุว่า จะขยายตัว และ 16.67% ระบุว่า หดตัว  ด้านความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงต่อปัจจัยที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2559 พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่  56.25% ระบุว่า เป็นเม็ดเงินลงทุนตามแผนยุทธศาสตร์การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม รองลงมา  50.00% ระบุว่า เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐต่างๆ ที่มีออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการประชารัฐ มาตรการกระตุ้นภาคการบริโภคในช่วงเทศกาลและวันหยุดยาวต่อเนื่อง เป็นต้น

          41.67% ระบุว่า เป็นภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง

          33.33% ระบุว่า เป็นสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่สงบ ไม่วุ่นวาย

          22.92% ระบุว่า เป็นมาตรการการเงินการคลังเพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์

          22.92% ระบุว่า เป็นกำลังซื้อภายในประเทศ  20.83% ระบุว่า เป็นสถานการณ์เศรษฐกิจของโลกที่อาจจะเริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศคู่ค้าที่สำคัญ

          18.75% ระบุว่า เป็นความชัดเจนของนโยบายส่งเสริมการลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษตามรูปแบบ คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย(ซูเปอร์คลัสเตอร์)

          14.58% ระบุว่า เป็นราคาน้ำมัน   10.42% ระบุว่า เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ เอื้ออำนวยต่อการดำเนินธุรกิจและการลงทุนภาคเอกชน

          8.33% ระบุว่า เป็นสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ

          6.25% ระบุว่า เป็นการเข้าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ

          12.50% ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ อัตราการแลกเปลี่ยนค่าเงินระหว่างประเทศ การส่งออกไปยังต่างประเทศที่ดีขึ้น ทิศทางทางการเมืองภายหลัง การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ การย่างเข้าสู่ฤดูฝน และแรงงานมีคุณภาพที่ดีขึ้น

          ด้านความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงต่อปัจจัยเสี่ยงที่ยังคงมีความกังวลในการดำเนินกิจการในช่วงครึ่งหลังปี 2559  พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ 62.50% ระบุว่า เป็นการชะลอ ตัวลงของเศรษฐกิจจีน และการฟื้นตัวที่ล่าช้าของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว รองลงมา  52.08%ระบุว่า เป็นกำลังซื้อภายในประเทศ

          37.50% ระบุว่า เป็นสถานการณ์ภัยแล้ง  35.42% ระบุว่า เป็นสถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่ไม่สงบ เกิดความวุ่นวาย

          31.25% ระบุว่า เป็นหนี้ภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และ เป็นการขาดแคลนแรงงานฝีมือในสัดส่วนที่เท่ากัน

          29.17% ระบุว่า เป็นปัญหาสภาพคล่องของกิจการ 27.08% ระบุว่า เป็นปัญหาสถานการณ์เศรษฐกิจ ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศคู่ค้าที่สำคัญ

          22.92% ระบุว่า เป็นราคาสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ล่าช้า

          20.83% ระบุว่า เป็นแนวโน้มการแข็งค่าของค่าเงินบาทจากเงินทุนไหลเข้าที่มีมากขึ้น

          สำหรับความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงต่อการวางแผนในการดำเนินกิจการในช่วงครึ่งหลังปี 2559 พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่85.42% ระบุว่า มีการวางแผน ขณะที่  14.58%ระบุว่า ไม่มีการปรับเปลี่ยนแผนมากนักจากช่วงครึ่งแรกของปี 2559  ในจำนวนผู้ที่ระบุว่ามีการวางแผนนั้น ส่วนใหญ่  39.02% ระบุว่า มีการปรับเปลี่ยนโดยขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพิ่มฐานลูกค้า

          รองลงมา  36.59% ระบุว่า พัฒนาศักยภาพของแรงงาน

          34.15% ระบุว่า เพิ่มมูลค่าและพัฒนาคุณภาพ สินค้าและบริการ

          29.27% ระบุว่า ปรับปรุงเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิต

          26.83% ระบุว่า เป็นการชะลอการลงทุน

          24.39% ระบุว่า เพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยและ พัฒนา และป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ในสัดส่วนที่เท่ากัน

          17.07% ระบุว่า ลดการจ้างงาน  14.63% ระบุว่า เจาะตลาด  9.76% ระบุว่า ขยายฐานการผลิตและการลงทุนไปยังต่างประเทศ

          7.32% ระบุว่า ขยายการลงทุน และเพิ่มการจ้างงาน ในสัดส่วนที่เท่ากัน และ

          14.63% ระบุ อื่น ๆ ได้แก่ ลดต้นทุนการผลิต ควบคุมค่าใช้จ่าย เน้นการเพิ่มการผลิต และปรับปรุงการให้บริการให้ดีขึ้น

          เมื่อสอบถามถึงการคาดการณ์ของผู้บริหารระดับสูงต่อรายรับของกิจการในช่วงครึ่งหลังของปี 2559  พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่  41.67% ระบุว่า รายรับของกิจการมีทิศทางขยายตัว รองลงมา  37.50% ระบุว่า ทรงตัว  18.75% ระบุว่า หดตัว และ 2.08% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์บ้านเมือง  ด้านความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงต่อการปรับตัวเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่  97.92% ระบุว่า มีการปรับตัว ขณะที่ 2.08% ระบุว่า ไม่มีการปรับตัว

          ผู้ที่ระบุว่ามีการปรับตัวนั้น ส่วนใหญ่  65.22% ระบุว่า เป็นการบริหารจัดการต้นทุนและสินค้าคงคลังรองลงมา  56.52%ระบุว่า เป็นการวางแผน ประมาณการ การสั่งซื้อ ผลิต จำหน่ายล่วงหน้า 39.13%ระบุว่า เป็นการวางแผน/ปรับกลยุทธ์ทางการตลาด เช่น กระจายตลาดการค้าไปสู่ตลาดใหม่ๆ ที่มีศักยภาพใช้ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e- Commerce) เป็นต้น 36.96%ระบุว่า เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า /พัฒนาคุณภาพสินค้า

          28.26%ระบุว่า เป็นการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน  4.35%ระบุว่า เป็นการขยายฐานการผลิตและการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

          ข้อเสนอแนะครึ่งหลังของปี 2559 มีดังนี้

          1) รัฐบาลควรมีมาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือ ส่งเสริม หรือสนับสนุนผู้ประกอบการ ทั้ง ทางตรงและทางอ้อม เช่น ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว ของไทย ขยายการค้าการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านหรือแถบชายแดน การสร้างคลังสินค้าในประเทศแถบอาเซียนเพื่อขยายเศรษฐกิจ ส่งเสริมการอบรมพัฒนาฝีมือของผู้ใช้แรงงาน ส่งเสริมการสร้างรายได้ในชนบท ส่งเสริมด้านการเกษตร การพัฒนาธุรกิจ SMEs อย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนสินค้าไปสู่สินค้าที่มีนวัตกรรมและพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรมไปสู่ Industry 4.0 การส่งเสริมการลงทุนของนักลงทุนไทยและต่างชาติ ผลักดันประเทศไปสู่ Digital Economy รวมไปถึงการเจรจาการค้าเสรี

          2) รัฐบาลควรส่งเสริมผู้ส่งออก โดยถ้าหากเป็นกิจการที่ใช้วัตถุดิบในประเทศตั้งแต่ 80-85% ขึ้นไป ได้รับอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงและส่งเสริมให้ผู้ส่งออกดังกล่าวได้รับเงินคืนจากรัฐตามสัดส่วนของยอดส่งออก เพื่อนำมาชดเชยกับอัตราแลกเปลี่ยนและเป็นการจูงใจให้ผู้ส่งออกมีกำลังใจ

          3) รัฐบาลควรเร่งการลงทุนโครงการต่างๆ ของภาครัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และควรเบิกงบประมาณตามเป้าหมายที่วางไว้

          4) รัฐบาลควรกำหนดมูลค่าหรือสัดส่วนของแหล่งสินค้าหรือวัตถุดิบในประเทศ (Local Content) ในโครงการก่อสร้างที่ใช้เงินภาษี

          5)รัฐบาลควรทบทวนหรือแก้ไขกฎระเบียบของภาครัฐให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการได้คล่องตัวมากกว่านี้

          6)ควรมีการสานต่อนโยบายหรือโครงการต่างๆ หากมีการโยกย้ายหรือเปลี่ยนตำแหน่งของ ข้าราชการทุกระดับ เพราะบางโครงการที่ต้องชะงัก หรือยุติลง เนื่องจากการเปลี่ยนตำแหน่ง

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 22 มิถุนายน 2559