เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

วิบากกรรมเกษตรกรไทย ความไม่พร้อมในการรับมือ AFTA

ข่าววันที่ :30 ธ.ค. 2557

Share

tmp_20143012161254_1.jpg

 

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ  11 - 13 ม.ค. 2553 น.6

 

          วันที่ 1 มกราคม 2553 นับเป็นวันแรกของการปรับลดอัตราภาษี   นำเข้าสินค้าภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AFTA) โดยมีรายการสินค้าที่ลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 มากกว่า 8,000 รายการ ทั้งสินค้าเกษตรและ  สินค้าอุตสาหกรรม "ยกเว้น" สินค้าเกษตร

          4 รายการที่ประเทศไทยถือ เป็นสินค้า

          อ่อนไหว (Sensitive List) ได้แก่ เมล็ดกาแฟ (ภาษีเดิม 20%), เนื้อมะพร้าวแห้ง (15%), มันฝรั่ง (10%) และไม้ตัดดอก (10%) ให้คงอัตราภาษีไว้ที่ร้อยละ 5

          อย่างไรก็ตามยังมีสินค้าอีกจำนวนหนึ่ง ที่ประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะแข่งขัน แต่ด้วยพันธกรณีที่จะต้องลดภาษีลงเหลือ  ร้อยละ 0 จึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการรองรับการเปิดเสรี โดยสินค้าในกลุ่มนี้ ได้แก่ 1) เมล็ดถั่วเหลือง อัตราภาษี

          ปี 2552 ร้อยละ 5 ปี 2553 0 ไม่มีโควตา 2) ชา อัตราภาษีปี 2552 ร้อยละ 5 ปี 2553 ร้อยละ 0 ไม่มีโควตา 3) เมล็ดกาแฟ อัตราภาษีปี 2552 ร้อยละ 20 ปี 2553 ร้อยละ 5 ไม่มีโควตา 4) กาแฟสำเร็จรูป/กาแฟคั่วและผลิตภัณฑ์ อัตราภาษีปี 2552 ร้อยละ 5 ปี 2553 ร้อยละ 0 ไม่มีโควตา 5) น้ำนมดิบและนมพร้อมดื่ม อัตราภาษีปี 2552 ร้อยละ 5 ปี 2553  ร้อยละ 0 ไม่มีโควตา

          6) นมผงขาดมันเนย อัตราภาษีปี 2552 ร้อยละ 0 ปี 2553 ร้อยละ 0 ไม่มีโควตา 7) มะพร้าว อัตราภาษีปี 2552 ร้อยละ 0 ปี 2553 ร้อยละ 0 ไม่มีโควตา 8) เนื้อมะพร้าวแห้ง อัตราภาษีปี 2552 ร้อยละ 15 ปี 2553 ร้อยละ 5 ไม่มีโควตา 9) น้ำมันมะพร้าว อัตราภาษีปี 2552

          ร้อยละ 5 ปี 2553 ร้อยละ 0 ไม่มีโควตา 10) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อัตราภาษีปี 2552 ร้อยละ 5 ปี 2553 ร้อยละ 0 ไม่มีโควตา และ 11) ข้าว อัตราภาษีปี 2552 ร้อยละ 5 ปี 2553 ร้อยละ 0 ไม่มีโควตา

          สินค้าทั้ง 11 รายการ "ยกเว้น" ปาล์มน้ำมันที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังกำหนดหลักเกณฑ์และระเบียบในการนำ เข้าอยู่ (ให้องค์การคลังสินค้าเป็นผู้นำเข้า-มาตรฐานปาล์มน้ำมัน-การประกันรายได้ผู้ ปลูกปาล์ม-กำหนดระยะเวลาและเป็นการนำเข้าเพื่อการบริโภคเท่านั้น) จะใช้แนวทางมาตรการเพื่อรองรับการเปิดเสรี ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปิดเสรีให้กับเกษตรกรได้ในระดับ หนึ่ง โดยแนวทางเหล่านี้ได้แก่

          1) การบริหารการนำเข้า ด้วยการกำหนดให้เป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้า โดยผู้นำเข้าต้องมีคุณสมบัติ/เอกสารประกอบการนำเข้าดังต่อไปนี้ ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าปีต่อปี, หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท, สำเนาใบรับรองการกำหนดปริมาณสารพิษตกค้างจากประเทศต้นทาง, สำเนาใบรับรองสุขอนามัยพืช Phytosanitary Certificate, สำเนาใบอนุญาตนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งอาหาร, ใบกำกับสินค้า (Invoice), สำเนาหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าฟอร์มดี (Form D), หลักฐานการนำเข้าครั้งสุดท้าย และแผนการนำเข้าและการใช้ในกิจการของตนเอง

          นอกจากนี้ผู้นำเข้ายังต้องจัดทำรายงานการนำเข้า การใช้ การจำหน่าย และสต๊อกคงเหลือภายใน 1 เดือน และมีบทลงโทษการไม่รายงาน การกำหนดด่านนำเข้าให้  นำเข้าเฉพาะด่านที่มีเจ้าหน้าที่ตรวจพืชประจำอยู่ และกำหนดช่วงเวลาการนำเข้าระหว่างเดือน อาทิ เดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคม

          2) ระบบติดตามการนำเข้า ให้วางระบบติดตามสถิติการนำเข้าเป็นรายสัปดาห์ ด้วยการประสานความร่วมมือกับกรมศุลกากร การวางระบบติดตามข้อมูลการออกใบอนุญาตนำเข้าสินค้าที่ออกโดย  กรมการค้าต่างประเทศเป็นรายสัปดาห์ เพื่อนำข้อมูลทั้ง 2 มาวิเคราะห์และเฝ้าระวังการนำเข้าและวางมาตรการรองรับ และ  3) การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผล โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่สำรวจพื้นที่เป้าหมาย เพื่อติดตามประเมินสถานการณ์ รวมไปถึงการจัดประชุมหารือวางแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการเปิดเสรี

          อย่างไรก็ตามเชื่อว่าภาคเอกชนผู้นำเข้าจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AFTA) ในครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทข้ามชาติ ที่มีฐานการผลิตอยู่ในประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกันเอง ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมรถยนต์จะได้รับประโยชน์จากการลดภาษีชิ้นส่วน-ส่วนประกอบ-อุปกรณ์การผลิต ในลักษณะแยกกันผลิตและนำมาประกอบรวมกันมากที่สุด เนื่องจากอัตราภาษีนำเข้าก่อนหน้านี้ก็ต่ำอยู่แล้ว กล่าวคือเรียกเก็บเพียงร้อยละ 5 "ยกเว้น" มาเลเซียที่มีมาตรการกีดกันการนำเข้าภายในอย่างชัดเจน

          ในขณะที่ภาคการเกษตรหรือตัวเกษตรกร ในฐานะผู้ผลิตขั้นต้นเองดูเหมือนจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรี AFTA น้อยที่สุด หรือไม่ได้รับประโยชน์เลย

          เพราะ แม้แต่ความหมายของคำว่า "FTA" เอง จากการสำรวจตัวอย่างเกษตรกรเพื่อทำการพยากรณ์ทางการเกษตรโดยแม่โจ้โพลล์เมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่า จากตัวอย่างสำรวจร้อยละ 77.6 ไม่รู้จักการเปิดเสรี (FTA) และร้อยละ 38.2 ของตัวอย่างยังเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาประกันราคาสินค้าทางการเกษตรอยู่

          ซึ่งแตกต่างไปจากภาคเอกชนที่มี

          การปรับตัวเพื่อรองรับการเปิดเสรีอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมน้ำตาล เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ในระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมานี้มีโรงงานน้ำตาลไทยอย่างน้อย 2 กลุ่ม เข้าไปตั้งโรงงานอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง สปป.ลาวและเขมร ด้านหนึ่งโรงงานเหล่านี้จะได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรส่งน้ำตาลเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐ-ยุโรป อีกด้านหนึ่งสามารถส่งน้ำตาลกลับเข้ามาในประเทศไทยได้ เนื่องจากอัตราภาษีลดลงเหลือร้อยละ 0

          หรืออุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน มีโรงกลั่นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์บางรายที่ปรับตัวด้วยการเปิดทางให้หุ้นส่วน มาเลเซียเข้ามาถือหุ้นเพื่อนำเข้าน้ำมันปาล์มสำเร็จรูปเข้ามาจำหน่ายภายใน ประเทศ จากเหตุผลทางด้าน "ต้นทุน-พื้นที่" การปลูกปาล์มน้ำมันที่ไม่สามารถเทียบกันได้ระหว่างประเทศไทยกับมาเลเซีย ส่วนโรงสกัด น้ำมันปาล์มรายอื่นที่ไม่สามารถปรับตัวรองรับการเปิดเสรีได้ทันก็พร้อมที่จะ ผลักภาระเพื่อลดผลกระทบการเปิดเสรีไปยังเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มด้วยการลดราคา

          รับซื้อผลปาล์มลง จนกลายมาเป็นภาระของรัฐบาลที่จะต้องเข้ามาประกันราคาผลปาล์มต่อไปอีก

          ยังไม่นับรวมปัญหาในเรื่อง "ข้าว" ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ของภาคเกษตรไทยที่ภาษีนำเข้าจะต้องถูกลดลงมาเหลือร้อยละ 0 ขณะที่ข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านทั้งข้าวขาว และข้าวหักที่มีต้นทุนการปลูกต่ำกว่าข้าวไทย และที่สำคัญไม่มีการอุดหนุนราคาข้าวจากภาครัฐ พร้อมที่จะทะลักเข้ามาตาม แนวชายแดน โดยในกรณีนี้กระทรวงเกษตรฯทำได้เพียงการออกหนังสือขอความร่วมมือในการควบคุม การนำเข้าสินค้าเกษตรไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น       

          ที่มา: http://www.matichon.co.th/prachachart