เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

วิกฤตเกษตรกรและการแก้ไขปัญหาทั้งระบบ

ข่าววันที่ :30 ธ.ค. 2557

Share

tmp_20143012160906_1.jpg

 

ที่มา : มติชน  22 ก.พ. 2553  น. 7

 

          เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์

          อนุกรรมการจัดทำข้อเสนอการปฏิรูประบบ เพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร

 

          "เปิดเสรีทางการค้าอาฟต้ากับประเทศในอาเซียนแล้ววัตถุดิบผลิตอาการสัตว์ก็ถูกลงแต่ทำไมราคาอาการสัตว์กลับแพงขึ้น"...

          "...ขายข้าวได้เกวียนละแปดพันห้าร้อยบาทต่ำกว่าราคาประกันตั้งเยอะแต่ทำไมชาวนาไม่ได้เงิน..."

          คำบ่นของเกษตรปราจีนบุรีเหล่านี้ทำให้ผลสงสัยว่า รัฐบาลใช้งบประมาณไปช่วยเหลือแก้ปัญหาเกษตรกรตามโครงการต่างๆ แต่ละปีเป็นจำนวนมาก แต่ปัญหาเกษตรกรไม่ได้รับการแก้ไขเสียงสะท้อนของเกษตรกรยังคงมีอยู่ทั่วทุกหัวระแพง รัฐบาลเข้าใจปัญหาเกษตรกรมากน้อยแค่ไหน ทำไมการแก้ไขปัญหาเกษตรกรยังไม่ถูกจุดยังไม่ตรงเป้าเสียที

          หากมองย้อนกลับไปเพียงไม่ถึงสิบปี จะเห็นได้ว่าสถานการณ์ปัญหาของเกษตรกรรุนแรงเรื่อยมาจนวิกฤตอย่างน่าเป็นห่วงเพราะหนี้สินสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในระบบและนอกระบบ จนเกษตรกรทั่วประเทศกว่า 5 ล้านคน ต้องมาลงทะเบียนของพักชำระหนี้จากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร

          ที่ดินที่ใช้เป็นหลักทรัพย์จำนองก็เงินอยู่ในธนาคารเมื่อครบกำหนดชะระหนี้ ไม่มีเงินไปไถ่ถอนก็เริ่มหลุดมือและถูกประกาศขายทอดตลาดปีละหลายแสนไร่ จนเป็นที่วิตกว่าที่ดินเหล่านี้จะถูกปล่อยทิ้งร้างและหลุดมือไปสู่กลุ่มทุน ต่างชาติ ประเทศไทยจะเสียอธิปไตยทางอาหารและการจัดการฐานทรัพยากรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้

          ยิ่งไปกว่านั้นปัญหาราคาผลผลิตก็ไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาดเสรีอย่างที่ควรจะเป็น ปี 2553 นี้น่าจะเป็นปีทองของเกษตรกร หลังขายผลผลิตชาวนาชาวไร่น่าจะมีรายได้เลี้ยงครอบครัวและเหลือใช้นี้บ้าง แต่ก็ไม่เป็นเช่นนั้นเพราะพ่อค้ายังรวมหัวกันกดราคาสินค้าและเอาเปรียบเกษตรกรเหมือนเดิม

          ประเด็นปัญหาการสูญเสียที่ดิน หนี้สิน ราคาพืชผล ต้นทุนการผลิต และการเข้าถึงฐานทรัพยากรเพื่อการผลิต เชื่อมโยงเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันอย่างใกล้ชิดและเกิดขึ้นซ้ำซากจนเป็นวงจรแห่งความล้มเหลวของเกษตรกร

          การแก้ไขปัญหาเกษตรกรทุกวันนี้ยังทำกันทีละเรื่อง รอให้เกษตรกรเดือดร้อนและเดินขบวนร้องเรียนเสียก่อนจึงค่อยมาคิดทำ จึงเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้นปัญหามิได้หมดไปแต่ยังอยู่เหมือนเดิม มาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลนำมาช่วยเหลือจึงเพียงแต่บรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรได้มากบ้างน้อยบ้างเป็นคราวๆ ไปเท่านั้นเอง

          ผู้เขียนเห็นว่าเกษตรกรยังมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจฐานรากของประเทศอย่างยิ่ง แม้มูลค่าการค้าขายส่งออกจะมีเพียงราว 1 ใน 10 ส่วนของมูลค่าส่งออกสินค้ททั้งหมดแต่สัดส่วนรายได้ที่เป็นของคนไทยเกือบ 100% ต่างจากสินค้าอุตสาหกรรมส่งออกทั่วไปซึ่งกำไรส่วนใหญ่กลับคืนไปสู่ผู้ลงทุนชาวต่างประเทศ

          การผลิตทางการเกษตรยังทำให้เกิดห่วงโซ่แห่งการผลิต การแปรรูป การบริการ และการบริโภคอย่างต่อเนื่อง ช่วยใช้ชาวบ้านคนเล็กคนน้อยมีอาการกิน มีงานทำ มีรายได้จำนวนนับล้านครอบครัว

          แต่เกษตรกรทุกวันนี้ต้องกล้ำกลืนฝืนทนทำการเกษตรอย่างสิ้นหวัง ยิ่งทราบข้อมูลเกษตรกรวันนี้มีอายุเฉลี่ยถึง 55 ปีแล้วก็ชัดเจนว่าไม่เหลือเวลาให้มานั่งเถียงกันแล้ว

          หากสังคมมไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาเกษตรกระและมาช่วยกันแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังและแก้ไขปัญกากันอย่างเป็นระบบในวันนี้ พรุ่งนี้ก็อาจจะสายเกินไป

          ผู้เขียนได้ลองวิเคราห์เหตุปัจจัยแห่งความล้มเหลวของเกษตรกรจากที่มาฝึกอบรมด้วย พบว่าเกิดจากทั้งเหตุปัจจัยภายในและเหตุปัจจัยภายนอกซึ่งเชื่อมโยงกัน

          เหตุปัจจัยภายในเกิดจากเกษตรกรต้องแก้ที่ตัวเกษตรกร เพราะอกุศลมูลอันเป็นรางเหง้าของกิเลสได้แก่ความโลภโกรธหลงทำให้เกิดอกุศลธรรมะดับปรากฏการณ์ 3 ประการที่ทำให้เห็นสิ่งผิดเป็นถูกคือ

          ตัณหา ทำให้เกิดทำให้อยาก อยากรวย อยากได้โน่นอยากได้นี่

          มานะ คือความทนงตนว่าสิ่งโน่นสิ่งนี่เของตน มุ่งครอบครองแข่งขันเอาชนะทุกรูปแบบถือตนว่าแน่กว่าใครจึงไม่ฝึกตนไม่เรียนรู้ทางเลือกใหม่ๆ

          และ ทิฐิ ซึ่งเป็นมิจฉาทิฐิคือเห็นชั่วเป็นดีเห็นสารเคมีเป็นยาวิเศษ

          อกุศลธรรมทั่งปวงทำให้ความคิดและพฤติกรรมเกษตรกรเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยอยู่ร่วมกับธรรมชาติหาอยู่หากินพอมีพอใช้ มาเป็นซื้อกินจึงต้องหาเงินไม่รู้จักพอ เบียดบังทำลายขายธรรมชาติ เมื่อมีปัจจัยภายนอกมากระตุ้นล่อหลอกให้เชื่อให้ทำก็จะตามตามกระแสเงิน

          เริ่มด้วยการลงทุนซื้อเทคโนโลยีและปัจจัยการผลิตที่ไม่จำเป็น

          คนเริ่มทำก่อนก็มักจะได้กำไรดีมีเงินหมุนผ่านมือเยอะ แต่ได้ไม่กี่คนและได้ไม่นาน ช่วงหาเงินได้ง่ายก็ใช้ง่ายและบริโภคฟุ่มเฟือย ไม่เก็บออม คนทำตามที่หลังก็มักขาดทุนเพราะต้นทุนสูงขึ้นแต่ราคาสินค้าต่ำลง

          การแก้ปัญหาภายในต้องเริ่มต้นด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรมของเกษตรกร ให้คิดวิเคราะห์เป็นบนฐานความรู้และความจริง         

          เกษตรกรต้องยอมรับก่อนว่าการวิ่งตามโลกอย่างไม่ลืมหูลืมตา หวังรวยต้องเผชิญกับระบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก คนอ่อนแอเป็นเหยื่อคนแข็งแรงกว่าสุดท้ายก็ต้องประสบกับวิบัติในที่สุด การคิดเป็นทำเป็น พึ่งตนเองได้ ค่อยๆ ทำ ค่อยๆ ขยาย และบริโภคในสิ่งที่จำเป็นจะช่วยให้เกษตรกรอยู่รอดระยะยาวในสถานการณ์โลกาภิวัตน์ได้

          ส่วนการแก้ไขปัญหาจากปัจจัยภายนอกซึ่งเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ผู้เขียนเสนอให้แก้ไขปัญหาทั้งในเชิงหลักการต้องมีความศรัทธาเชื่อมั่นว่า

          1)การเกษตรและเกษตรกรเป็นฐานรากสำคัญของประเทศไทย หากไร้การเกษตรประเทศไทยจะกลายเป็นประเทศที่อ่อนแอและพึ่งตนเองไม่ได้

          2)ปัญหาการเกษตรทุกเรื่องแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์และเป็นระบบ แม้บางประเด็นจะต้องใช้เวลานานก็ตาม

          3)เกษตรกรต้องแก้ปัญหาของเกษตรกรเอง

          4)รัฐต้องชัดเจนในบทบาทและขันแข็งในการสนับสนุนเกษตรกรให้แก้ปัญหาตนเอง โดยรัฐต้องมีบทบาทเป็นพี่เลี้ยง ประคับประคองให้เกษตรกรรวมตัว กลุ่มองค์กรเกษตรกรลุกขึ้นจัดการตัวเองได้ โดยไม่ต้องไปอุ้มไปสงเคราะห์แก้ปัญหาเฉพาะหน้าซึ่งไม่ทั่วถึงและไม่เป็นธรรม และ

          5)ภาคธุรกิจเอกชนและสถาบันการเงินต้องใช้ความร่วมมือ ร่วมรับความเสี่ยงกับเกษตรกร โดยไม่เอารัดเอาเปรียบเกษตรกร

          สำหรับข้อเสนอในเชิงสถาบันมี 3 ประการคือ

          1) สนับสนุนการรวมตัวของเกษตรกรในเชิงสถาบันเกษตรกรหรือสภาเกษตรกรทุกระดับ มีการพัฒนายกระดับการทำงานของเกษตรกร ให้เป็นสถาบันในรูปแบบสมัชชา และสภาเกษตรกร ให้มีบทบาทในทางนโยบายร่วมกับรัฐบาลอย่างจริงจัง

          2) ช่วยพัฒนาสถาบันการเงินเกษตรกรหรือธนาคารเกษตรกร ด้วยการยกระดับการบริหารจัดการสถาบันการเงินของเกษตรกรที่มีอยู่แล้วทุกรูปแบบ เช่น สหกรณ์และกลุ่มออมทรัพย์ให้เข้มแข็ง และรวมพลังการออม การบริหารจัดการการเงินเพื่อจัดการหนี้สินและสนับสนุนการลงทุนของเกษตรกร

          และ 3) สนับสนุนสถาบันวิจัยพัฒนาของเกษตรกร โดยสนับสนุนยกระดับความรู้ของเกษตรกรในเชิงสถาบัน เพื่อศึกษาวิจัยสนองตอบปัญหาความต้องการของเกษตรกรโดยตรง

          พร้อมทั้งให้การศึกษาถ่ายทอดความรู้ให้กับบุตรหลานเกษตรกรไปพร้อมๆ กัน

          รัฐบาลควรทำเรื่องการปฎิรูประบบเพื่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้เป็นวาระแห่งชาติ

          นายกรัฐมนตรีควรมาดูแลเกษตรกร มอบหลายบุคลากรระดับรองนายกรัฐมนตรีให้รับผิดชอบทำเรื่องนี้เรื่องเดียว

          มีกระบวนการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องเพื่อออกกฎหมายจัดตั้งสถาบันปฏิรูปการเกษตรทั้งระบบให้เป้นแกนประสานความร่วมมือ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนงบประมาณ

          ตลอดจนการผลักดันกฎหมายสภาเกษตรกรผลักดันการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการเงินการปรับปรุงกฎหมายด้านสหกรณ์ และกฎหมายเกี่ยวกับการเงินนำไปสู่การจัดตั้งธนาคารเกษตรกรหรือธนาคารเพื่อเกษตรกรและชุมชนและพัฒนาระบบสวัสดิการเกษตรกร

          รวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองเกษตรกรและพื้นที่เกษตรกรรม ให้เกษตรกรเข้าถึงทรัพยากรที่ดินและน้ำ ให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน มีน้ำใช้ทำการเกษตรและมีป่าชุมชน

          เพียงเท่านี้ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงภาคเกษตรทั้งระบบ เกษตรกรก็จะมีความสุข อยู่ได้พัฒนาได้ด้วยตนเองอย่างครบวงจร มีความสามารถในการแข่งขันด้วยการปรับปรุงระบบการผลิต มีความสามาถในการจัดการหนี้สินเพื่อการผลิต และมีความสามารถในการจัดสวัสดิการเกษตรกร และอยู่รอดอย่างเท่ากันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยไม่ต้องเดินขบวนเรียกร้องความช่วยเหลือจากรัฐบาล ลูกหลานภูมิใจในอาชีพและวิถีชีวิตเกษตรกร

          เมืองไทยก็จะเป็นสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน(green and happiness society) ตามจุดมุ่งหมายในการพัฒนาประเทศได้อย่างแท้จริง