เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

แผนพัฒนาแหล่งน้ำทุกส่วนต้องร่วมบูรณาการ

ข่าววันที่ :22 ก.ย. 2558

Share

tmp_20152209104947_1.jpg

          ยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำปี 2558-2569 ของรัฐบาล ได้วางเป้าหมายที่จะป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปัญหาน้ำท่วม และปัญหาคุณภาพน้ำ อย่างมีเอกภาพและบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกมิติ และมีการแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ตั้งแต่ปี 2558-2559 ระยะกลาง ตั้งแต่ปี 2560-2564 และระยะยาวตั้งแต่ปี 2565-2569 สำหรับในปี 2558 นั้นกรมชลประทานได้รับการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาแหล่งน้ำ ที่เป็นงบลงทุนประมาณ 35,282 ล้านบาท เป็นโครงการขนาดใหญ่ 11 แห่ง ขนาดกลาง 60 แห่ง ขนาดเล็ก 181 แห่ง และโครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ 120 แห่ง โครงการขุดลอกคลองและแหล่งน้ำ 966 แห่ง โครงการแก้มลิง 32 แห่ง รวมทั้งหมด 1,048 แห่ง ทำให้สามารถกักเก็บน้ำได้รวมกันกว่า 125 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 234,321 ไร่ และลดความเสียหายจากอุทกภัยให้กับพื้นที่ 910,000 ไร่ และมีงบกลางอีกประมาณ 5,457 ล้านบาท สำหรับโครงการชลประทานขนาดกลาง 18 แห่ง ขนาดเล็ก 31 แห่ง การป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ 2 แห่ง การปรับปรุงระบบชลประทานเดิม 26 แห่ง การขุดลอกคลองและแหล่งน้ำ 6 แห่ง และโครงการแก้มลิง 6 แห่ง รวมทั้งหมด 89 แห่ง สามารถกักเก็บน้ำได้รวมกันกว่า 22 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้อีก 40,980 ไร่ นอกจากนี้รัฐบาลยังได้จัดสรรเงินกู้ให้กรมชลประทานมาดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำอีก 23,856 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการชลประทานขนาดกลางเพิ่มเติม 27 แห่ง ขนาดเล็ก 288 แห่ง และบรรเทาภัยจากน้ำ 43 แห่ง ปรับปรุงระบบชลประทานเดิม 132 แห่ง การศึกษาผลกระทบ ในด้านต่าง ๆ 14 แห่ง และโครงการแก้มลิง 215 แห่ง รวม 725 แห่ง ซึ่งจะสามารถกักเก็บน้ำได้รวมกันกว่า 285 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 600,109 ไร่ รวมงบประมาณในปี 2558 ทั้งสิ้นประมาณ 64,595 ล้านบาท สามารถนำมาดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำได้ 1,862 แห่ง เพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำรวมกันได้ประมาณ 432.55 ล้านลูกบาศก์เมตร และเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ประมาณ 875,410 ไร่ อย่างไรก็ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ที่เป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลางบางโครงการยังไม่แล้วเสร็จในปี 2558 นี้ ถ้าหากแล้วเสร็จทุกโครงการจะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้อีกกว่า 2 ล้านไร่ ส่วนแผนงานในปี 2559 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระยะสั้น (2558-2559)นั้น จะเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นงานต่อเนื่อง 9 แห่ง ขนาดกลาง 60 แห่ง ขนาดเล็ก 173 แห่ง การป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ 166 แห่ง การขุดลอกแหล่งน้ำและลำคลอง 695 แห่ง แก้มลิง 7 แห่ง ใช้งบประมาณทั้งสิ้นประมาณ 38,450 ล้านบาท สามารถกักเก็บน้ำได้เพิ่มขึ้นอีก 262.31 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มพื้นที่ชลประทานเฉพาะปี 2559 ประมาณ 309,475 ไร่ นอกจากนี้ยังได้รับการจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี อีกประมาณ 8,400 ล้านบาท เพื่อมาดำเนินโครงการแก้มลิงอีก 396 แห่ง สามารถเก็บกักน้ำได้ 206.47 ล้านลูกบาศก์เมตร ขยายพื้นที่ชลประทานได้อีก 972,819 ไร่ อย่างไรก็ตามเมื่อสิ้นสุดยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำในปี 2569 ของทั้ง 3 ระยะ ตามแผนงาน ก็จะสามารถพัฒนาแหล่งน้ำโดยเพิ่มปริมาณการกักเก็บได้ ไม่น้อยกว่า 9,500 ล้านลูกบาศก์เมตร และขยายพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นอีกได้ไม่น้อยกว่า 8.7 ล้านไร่ แต่ทั้งนี้จะต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งค่อนข้างจะสูงมากโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณปีละ 100,000 ล้านบาท รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม จะต้องร่วมบูรณาการอย่างเต็มกำลัง โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อสร้างความมั่นคงในเรื่องน้ำให้กับประเทศก็จะสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและบรรลุเป้าประสงค์
 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th วันที่ 22 กันยายน 2558