เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

กองทุนหมู่บ้านเดินหน้าธ.ก.ส.-ออมสินลุยให้กู้

ข่าววันที่ :18 ก.ย. 2558

Share

tmp_20151809112013_1.jpg

          เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานให้กับกองทุนฯ สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนในระดับหมู่บ้านทั่วประเทศให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุน กระตุ้นการใช้จ่ายในภาคชนบท เพื่อสร้างความมั่นคงให้เศรษฐกิจฐานราก

          นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ธ.ก.ส. มีความพร้อมในการดำเนินการตามโครงการซึ่ง ธ.ก.ส. รับผิดชอบจ่ายสินเชื่อให้แก่กองทุนฯ ในวงเงิน 30,000 ล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ ปัจจุบัน ธ.ก.ส. ดูแลกองทุนฯ ระดับ A และ B จำนวน 20,584 กองทุน จากทั้งหมด 59,062 กองทุน ให้สินเชื่อกองทุนฯ ละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยแยกจากวงเงินกู้ปกติของธนาคาร ชำระคืนเสร็จไม่เกิน 7 ปี ปลอดดอกเบี้ย 2 ปีแรก ส่วน 5 ปีต่อไปคิดดอกเบี้ยเท่ากับต้นทุนทางการเงินของธนาคารบวกด้วยร้อยละ 1 ต่อปี

          ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่าออมสินได้พิจารณากองทุนหมู่บ้านที่เป็นฐานลูกค้าเดิมเกรด A และ B เบื้องต้นมี ความพร้อมที่ธนาคารฯ ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเพื่อสนับสนุนตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับหมู่บ้าน ณ วันที่ 14 กันยายน 2558 จำนวน 8,441 กองทุน วงเงิน 8,441 ล้านบาท จากเป้าหมาย 30,000 กองทุน วงเงิน 30,000 ล้านบาท และคาดว่าภายในสิ้นเดือนกันยายนจะสามารถอนุมัติวงเงินได้รวมแล้ว 15,000 กองทุน ซึ่งขณะนี้ผู้บริหารธนาคารออมสิน พนักงาน สาขาของธนาคารฯ ได้ทำงานร่วมกันกับคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านฯ และสมาชิก อย่างเต็มความสามารถ ทำให้เม็ดเงินเข้าสู่ระบบโดยเร็ว โดยจะทยอยจัดประชุมซักซ้อมความเข้าใจ ในแต่ละภูมิภาคเป็นรายเดือนพร้อมเปิดให้สมัครยื่นคำขอกู้เงินควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชนผู้มีรายได้น้อย และมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ ประสบความสำเร็จโดยเร็ว

          อย่างไรก็ตาม หลักการกองทุนหมู่บ้าน 8,441 แห่ง ที่ธนาคารออมสินอนุมัติสินเชื่อแล้วสามารถติดต่อสาขาในพื้นที่ได้ทันที ซึ่งธนาคารออมสินจะปล่อยสินเชื่อให้กับสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) และให้ สทบ. ส่งรายชื่อแต่ละกองทุนหมู่บ้านเพื่อให้ธนาคารออมสินโอนเงินโดยตรง สำหรับกองทุนหมู่บ้านฯ ซึ่งเป็นเป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวนั้น สทบ. เน้นไปที่ 59,850 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนเกรด A จำนวน 21,000 กองทุน และเกรด B อีก 38,000 กองทุน วัตถุประสงค์หลักในการใช้สินเชื่อเน้นส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ทั้งในลักษณะรายบุคคล และรายกลุ่ม (Cluster) เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในแต่ละพื้นที่

 

          บรรยายใต้ภาพ

          ชาติชาย พยุหนาวีชัย

          ลักษณ์ วจนานวัช

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ วันที่ 18 - 24 ก.ย. 2558