เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

4 ทักษะที่ผู้นำองค์กรยุคเออีซีต้องมี

ข่าววันที่ :3 ก.ย. 2558

Share

tmp_20150309112339_1.jpg

          บริษัท ดีเวลลอปเมนท์ ไดเมนชั่นส์ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ ดีดีไอ ที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยเฉพาะผู้มีศักยภาพสูง (Talent Management Consultancy) ระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริม และพัฒนาผู้นำและพนักงานภายในองค์กร ร่วมกับเดอะคอนเฟอเรนซ์บอร์ด สมาคมด้านการวิจัยจากประเทศสหรัฐอเมริกาเปิดเผยรายงานวิจัยล่าสุดในหัวข้อ " Working Within the VUCA Vortex" แนะนำผู้นำองค์กรไทยควรมี 4 ทักษะสำคัญ เพื่อรับมือสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีอย่างเต็ม รูปแบบปลายปี 2558 นี้

 

          นิติพันธ์ พันธุ์วิโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ดีดีไอ-เอเชีย/แปซิฟิค อินเตอร์เนชั่นแนล

กล่าวว่า รายงานวิจัยล่าสุดที่ในหัวข้อ Working Within the VUCA Vortex ระบุว่า  ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล จากองค์กรธุรกิจหลายแห่งมองว่าผู้นำองค์กรของพวกเขานั้นไม่มีความสามารถ ที่จะเผชิญหน้ากับสถานการณ์ในด้าน ความผันผวน คิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์  ความไม่แน่นอน 32 เปอร์เซ็นต์ ความซับซ้อน 36 เปอร์เซ็นต์ และความไม่ชัดเจน 31 เปอร์เซ็นต์ และมีเพียง 18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ระบุว่าผู้นำองค์กรของพวกเขามีความสามารถมากพอ  ทั้งนี้ประเทศไทยกำลังก้าว เข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีในปลายปีนี้ ส่งผลให้ผู้นำองค์กรต่างต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายที่สำคัญ ได้แก่

1. การบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดเดาได้ เช่น อาจจะมีการแข่งขันเพื่อดึงตัวบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญสายอาชีพในระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียน

2. ความรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เช่น ราคาน้ำมัน ราคาทองคำ ความผันผวน ของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ ความผันผวนในตลาดพลังงาน เป็นต้น แม้ว่าผู้นำองค์กรไม่สามารถควบคุมเรื่องเหล่านี้ได้ แต่ผู้นำองค์กรต้องพร้อมรับมือกับความเสี่ยงตลอดเวลา

 

 นอกจากนี้ ปัญหาที่พบในองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ คือ ผู้นำองค์กรมักจะมองไม่เห็นโอกาสและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อาจจะมองเป็นเรื่องไกลตัว  แต่จริงๆ แล้วแนวคิด VUCA นี้มีมานานแล้ว ซึ่งผู้นำองค์กรที่ดีควรมองเห็นโอกาส  ความท้าทาย และสามารถเพิ่มรายได้ให้กับธุรกิจได้ รวมทั้งผู้นำองค์กรยังต้องเตรียมตัวรับกับสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่อไทยก้าวสู่ตลาดเออีซีซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่กว่าเดิมในปลายปีนี้

 

          ดังนั้น ผู้นำองค์กรไทยควรมีความพร้อมและทักษะที่สำคัญ 4 ข้อ ได้แก่

1. Managing and introducing change ผู้นำควรมีสามารถด้านการการบริหารจัดการคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และพร้อมให้คำแนะนำและรู้วิธีบริหารคนที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อเปลี่ยนแปลงองค์กรไปในทางที่ดีได้

2. Building consensus and commitment การสร้างทีมหรือบุคลากรให้เห็นไปในทิศทางเดียวกันกับผู้นำ และเข้าใจสถานการณ์ว่าต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบหรือวิธีการทำงานใหม่ๆ

3. Inspiring others toward a challenging future vision ผู้นำต้องสามารถพัฒนาทีมและชี้แจงได้ว่าทำแล้วจะเห็นผลอย่างไร

4. Leading across generations ผู้นำองค์กรที่ดีต้องมีความตื่นตัวและรู้ว่าควรจะบริหารบุคลากร

ในหลายๆ รุ่น หรือหลายๆ รูปแบบได้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ที่พร้อมจะเปลี่ยนงานตลอดเวลา

 

          ปัจจุบัน หลายองค์กรในต่างประเทศที่เริ่มใช้แนวคิด VUCA และประสบความสำเร็จ เช่น บริษัท ซัมซุง มีรายงานระบุว่าคณะผู้บริหารซัมซุงใช้ปรัชญาที่ว่า  "Crisis Everyday" คือพนักงาน ในองค์กรของซัมซุงจะต้องพร้อมรับมือ กับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตลอดเวลา นับเป็นหนึ่งในตัวอย่างของผู้นำองค์กร ที่ทันต่อเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลง ในโลกธุรกิจ

 

สำหรับมุมมองของดีดีไอเกี่ยวกับการพัฒนาผู้นำองค์กรให้พร้อมก้าวสู่ตลาดเออีซีนั้น  แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ได้แก่ 

1. Business Agility ความคล่องตัว  ความสามารถในการตอบสนอง การปรับตัวอย่างรวดเร็วทางธุรกิจ 2. Strategic Workforce Planning การวางแผนกลยุทธ์การบริหารกำลังคน 

3. The Pursuit of Readiness การค้นหาความพร้อม 

4. Gathering & Using Data การรวบรวมและการใช้ข้อมูล

5. The Learning Organization เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

6. Talent Management Sustainability การบริหารจัดการ Talent อย่างยั่งยืน 

 

"เรามองว่าสิ่งสำคัญที่ผู้นำองค์กรที่ดี ควรจะมีคือ ต้องมองให้ออกว่าความไม่แน่นอนต่างๆ จะเกิดผลกระทบอย่างไรกับแผนดำเนินธุรกิจขององค์กรล่วงหน้า ต้องสามารถบริหารองค์กร บริหารทีม บริหารทรัพยากรบุคคล และรู้วิธีที่จะนำพาองค์กรก้าวผ่านสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดได้"

                                                                         

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 21 เม.ย. 58