เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ข้อคิดเมื่ออ้อยเป็นพืชทางเลือกแทนนาข้าว

ข่าววันที่ :4 ส.ค. 2558

Share

tmp_20150408105215_1.jpg

          ข้อมูลจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กล่าวถึงสถานการณ์การผลิตอ้อยของไทยในปีการผลิต 2556/57 ที่ผ่านมาว่า แม้ผลผลิตโดยรวมจะเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่เพาะปลูก แต่ค่าเฉลี่ยผลผลิตต่อไร่กลับมีแนวโน้มลดลง ด้วยราคาน้ำตาลโลก ขณะนี้ถือว่าต่ำมาก อาจจะกระทบต่อฐานะกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายในการเป็นเครื่องมือรัฐที่จะดูแลเสถียรภาพราคาอ้อยในฤดูการผลิตปี 58/59 ให้กับชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ และสิ่งที่น่ากังวล คือ ชาวนาหันมาปลูกอ้อยมากขึ้น จากนโยบายของรัฐบาลที่ส่งเสริมให้เปลี่ยนพื้นที่นาบางส่วนมาปลูกอ้อยแทน ทำให้ชาวไร่อ้อยเพิ่มขึ้น แต่ราคาอ้อยมีแนวโน้มจะตกต่ำ ส่งผลให้ราคาอ้อยในประเทศต่ำลงด้วย ทั้งนี้จากที่สหกรณ์ได้ทำการรวบรวมผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของสมาชิกและบุคคลทั่วไปนำมาขายหรือแปรรูปเป็นสินค้าสำเร็จรูป เพื่อจำหน่ายต่อให้ได้ราคาดี รักษาผลประโยชน์ให้แก่สมาชิกและเป็นกลไกในการต่อรองเจรจาทางธุรกิจในหลายประเภทสินค้านั้น สำหรับอ้อยในปี 2557 ที่ผ่านมามีมูลค่าการรวบรวมผลผลิตอ้อยทั้งสิ้น เป็นจำนวนเงิน 421.46 ล้านบาท อยู่ในพื้นที่ 18 จังหวัด ผ่านเครือข่ายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 36 แห่ง การรวบรวมผลผลิตอ้อยมีอยู่ในทุกภาคของประเทศ ไทย ยกเว้นภาคใต้ ซึ่งมูลค่าการรวบรวมผลผลิตอ้อยส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นจำนวนเงิน 324.04 ล้านบาท หรือคิดเป็น 76.88% ของมูลค่าการรวบรวมผลผลิตอ้อยทั้งสิ้น โดยจังหวัดขอนแก่น มีมูลค่าการรวบรวมผลผลิตอ้อยมากที่สุด เป็นจำนวนเงิน 239.44 ล้านบาท หรือคิดเป็น 56.81% ของมูลค่าการรวบรวมผลผลิตอ้อย และในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา คือระหว่าง พ.ศ. 2553–2557 การรวบรวมผลผลิตอ้อยผ่านเครือข่ายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีการลดลงและเพิ่มขึ้นสลับกันทุก ๆ ปี คือปี 2554 ลดลง 13.33% ส่วนปี 2555 เพิ่มขึ้น 34.62% แต่ ปี 2556 ลดลง 11.43% และปี 2557 เพิ่มขึ้น 16.13% ส่วนมูลค่าการรวบรวมผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นจาก 174 ล้านบาท ในปี 2553 เป็น 421 ล้านบาท ในปี 2557 โดยมูลค่าการรวบรวมผลผลิตอ้อย ผ่านเครือข่ายสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ปี 2557 ขยายตัวจากปี 2556 เท่ากับ 26.43% หากพิจารณาภาพรวมในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา คือ พ.ศ. 2553–2557 จำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่รวบรวมผลผลิตอ้อย และมูลค่าการรวบรวมผลผลิตอ้อย ยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอ้อย เป็นสินค้าจำเป็นต่อการผลิตน้ำตาลทรายและเป็นพืชพลังงานทดแทนที่ตลาดต้องการ และได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการปลูกข้าวในพื้นที่นาดอน ซึ่งให้ผลผลิตต่ำ มาปลูกอ้อยโรงงานทดแทนจึงคาดว่าในปี 2558 มูลค่าการรวบรวมผลผลิตอ้อย จะขยายตัวเพิ่มขึ้น 27.35% ขณะที่อ้อยนับเป็นพืชพลังงานอีกชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นน้ำตาลทราย น้ำอ้อยพร้อมดื่มกากน้ำตาลสามารถผลิตเป็นกระดาษ หรือไม้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ และอ้อยมีปลูกกันทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ทั้งนี้ เพราะสภาพอากาศภาคใต้ไม่เหมาะแก่การปลูกอ้อย คือ มีฝนตกชุก และมีอากาศร้อนตลอดปี ซึ่งสภาพดังกล่าวทำให้อ้อยไม่หวาน โดยเดือนที่เหมาะสมในการปลูกอ้อย คือธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ และเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ของทุกปี.

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/ วันที่ 4 สิงหาคม 2558