เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

กลไกตลาดทางออกปาล์มน้ำมันไทย

ข่าววันที่ :3 ส.ค. 2558

Share

tmp_20150308133643_1.jpg

          รายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงพื้นที่และการให้ผลผลิตปาล์มของประเทศไทยขณะนี้ว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด โดยในปี 2558 มีพื้นที่ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน 4,400,589 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่จำนวน 4,148,168 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.09 เช่นเดียวกับปริมาณผลผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด

          รายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงพื้นที่และการให้ผลผลิตปาล์มของประเทศไทยขณะนี้ว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยตลอด โดยในปี 2558 มีพื้นที่ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน 4,400,589 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ที่จำนวน 4,148,168 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 6.09 เช่นเดียวกับปริมาณผลผลิตที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตลอด

          ในปี 2558 ผลผลิตมีจำนวน 12,205,776 ตัน ลดลงจากปี 2557 ที่จำนวน 12,503,447 ตัน หรือลดลง ร้อยละ 2.38 เนื่องจากอิทธิพลภัย แล้งอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 2556/2557 และ 2558 เมื่อคำนวณอยู่ในรูปน้ำมันปาล์มดิบ ปี 2558 ไทยจะมีน้ำมันปาล์มดิบออกสู่ตลาดประมาณ 2,074,982 ตัน อัตราน้ำมันร้อยละ 17 เมื่อบวกกับสต๊อกต้นปี 168,000 ตัน คาดว่าทั้งปีจะมีน้ำมันปาล์มดิบทั้งหมด 2,242,982 ตัน ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบในปี 2558 คาดว่ามีประมาณ 1,854,000 ตัน โดยแบ่งเป็นความต้องการใช้เพื่อการบริโภค-อุปโภค 929,000 ตัน เพื่อผลิตไบโอดีเซล 854,000 ตัน และเพื่อการส่งออก 71,000 ตัน

          หากความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นเช่นนี้ คาดปลายปี 2558 จะมีสต๊อกประมาณ 388,982 ตัน ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2534 ประเทศไทยสามารถผลิตปาล์มน้ำมันดิบได้มากกว่าความต้องการใช้ภายในประเทศมาโดยตลอด ยกเว้นบางปีที่จะต้องมีการนำเข้าน้ำมันปาล์มดิบจากต่างประเทศ โดยเฉพาะช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย เพื่อนำมาใช้ผลิตเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์บรรจุขวด และช่วงต้นปี 2558 รัฐบาลได้มีการนำเข้าน้ำมันปาล์มเข้ามาเพิ่มในสต๊อกอีก 50,000 ตัน ซึ่งแม้ว่าน้ำมันปาล์มจำนวนดังกล่าวได้นำไปผลิตและจำหน่ายเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์บรรจุขวดเรียบร้อยแล้ว แต่ในภาพรวม ส่งผลทำให้สต๊อกน้ำมันปาล์มดิบปลายปีมีปริมาณเพิ่มขึ้น

          สำหรับอนาคตน้ำมันปาล์มของไทย กระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์ว่าต้นทุนการผลิตผลปาล์มสดจะอยู่ที่ 3.38 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งรัฐบาลได้มีมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร โดยการให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มรับซื้อผลผลิตปาล์มผลสด 4.20 บาทต่อกิโลกรัม และให้โรงกลั่นน้ำมันปาล์ม โรงงานผลิตไบโอดีเซล และผู้รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบทั่วไปรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ จากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ในราคาไม่ต่ำกว่า กิโลกรัมละ 26.20 บาท อีกด้านหนึ่งก็ถือว่าเป็นการช่วยผู้บริโภคด้วย

          เพราะราคาน้ำมันปาล์มดิบดังกล่าวสามารถผลิตน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์บรรจุขวด ได้ไม่เกินราคาควบคุมที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดไว้ 42 บาท/ขวด/ลิตร ซึ่งดูจะเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด และส่งผลให้ราคาปาล์มในประเทศสูงกว่าราคาในตลาดโลก โดยเฉพาะมาเลเซีย ซึ่งเป็นผู้นำตลาด และเมื่อพิจารณาราคาน้ำมันปาล์มดิบ พบว่า เดือนมิถุนายน  2558 ราคาน้ำมันปาล์มดิบของไทยอยู่ที่ 27.43 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่มาเลเซียประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปาล์ม อยู่ที่  20.86 บาทต่อกิโลกรัม

          จะเห็นได้ว่าราคาของไทยสูงกว่าถึง 6.57 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลทำให้ในปีนี้ ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันส่งออกไปยังตลาดโลก ไม่สามารถส่งออกได้ รวมถึงมีผลทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มภายในประเทศมีแนวโน้มลดลงด้วย เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมในประเทศที่ใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นวัตถุดิบเริ่มหันไปนำเข้าวัตถุดิบกึ่งสำเร็จรูปมาจากต่างประเทศทดแทน และมีภาคอุตสาหกรรมบางส่วนเริ่มส่งสัญญาณที่จะย้ายฐานการผลิตเพื่อลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย เนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าราคาในตลาดโลกค่อนข้างมาก

          ดังนั้นปาล์มน้ำมันไทยในปัจจุบันจึงเปรียบเสมือนคนที่เดินอยู่บนเส้นลวด หากทรงตัวไม่ดีพอ อาจร่วงหล่นลงมาได้  และเพื่อให้อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไทยตลอดจนเกษตรกร สามารถเดินต่อไปได้ การปล่อยให้กลไกราคาดำเนินไปตามธรรมชาติอาจเป็นทาง ออกที่ดีกว่า เมื่อถึงช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ราคาย่อมถูกลงตามกลไกตลาด จนกระทั่งเมื่อผลผลิตเริ่มน้อยลง ราคาจะปรับตัวสูงขึ้นนั่นเอง


ขอบคุณข้อมูลและภาพข่าวจาก : เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  วันที่ 3 สิงหาคม 2558