เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

การบริหารจัดการน้ำเมืองจันทบุรี ตามแนวพระราชดำริ

ข่าววันที่ :23 ก.ค. 2558

Share

tmp_20152307102138_1.jpg

          เมื่อวันศุกร์ที่17กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี พร้อมด้วยนายดนุชา สินธวานนท์ รองเลขาธิการกปร.นายชูชาติ ฉุยกลม ที่ปรึกษาสำนักราชเลขาธิการนายกิจจา ผลภาษี ที่ปรึกษาสำนักงานกปร. นายวิชัย แหลมวิไล อดีตอธิบดีกรมป่าไม้และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เดินทางไปติดตามการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำเมืองจันทบุรีตามแนวพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี เพื่อติดตามแนวทางการดำเนินงานการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระ ราชทานความช่วยเหลือให้แก่พสกนิกรได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร รวมถึงการบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมที่ส่งผลต่อชีวิตและการประกอบอาชีพของราษฎร ทั้งนี้จากการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนองพระราชดำริในการประสานความร่วมมือเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน สำหรับโครงการจัดการน้ำเมืองจันทบุรีตามแนวพระราชดำริ นั้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน2551พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว ได้พระราชทานแนวทางในการแก้ไขป้องกันบรรเทาน้ำท่วม จังหวัดจันทบุรี กับ คณะมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ณ วังไกลกังวลเนื่องจากมีถนนสามสายขวางกับเส้นทางน้ำ พระราชทานพระราชดำริถึงวิธีแก้ไข ให้ไปสำรวจดูว่าน้ำผันมาจากทางไหน แล้วหาช่องระบายน้ำให้สอดคล้องกันต่อมาเมื่อวันที่2กุมภาพันธ์2551ได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติม ความว่า “พื้นที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง และชลบุรี พื้นที่เป็นภูเขาอยู่ใกล้ชายหาดทะเล ฝนก็พอแต่การจัดเก็บทำได้ยาก เนื่องจากพื้นที่จากเขาที่ลาดลงมาถึงชายฝั่งนั้น ทำให้น้ำไหลเร็ว เก็บไว้ลำบากน้ำมานองท่วมตามแนวถนน หากช่วงฤดูฝนระบายน้ำทิ้งทะเลแก้ปัญหาน้ำท่วมก็จะขาดน้ำในฤดูแล้ง ให้ศึกษาหาแนวทางแก้ไขจัดการน้ำให้พอดี” และทรงย้ำให้มีการประสานความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน โดยขุดลอกแม่น้ำจันทบุรีบางส่วนและคลองธรรมชาติต่าง ๆก่อสร้างประตูระบายน้ำและระบบโทรมาตรเตือนภัยน้ำท่วม ระยะที่2เป็นแผนการดำเนินงานต่อเนื่องโดยการขุดคลองผันน้ำสายใหม่แยกจากแม่น้ำจันทบุรีก่อนเข้าตัวเมืองจันทบุรี ผันน้ำส่วนเกินที่แม่น้ำจันทบุรีไม่ให้ไหลเข้าสู่ตัวเมืองจันทบุรี และก่อสร้างอาคารประกอบตามแนวคลอง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากและช่วงฤดูแล้งสำหรับอุปโภคบริโภค และการเกษตร รวมทั้งการประมง ในการนี้ได้ดำเนินโครงการขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมและดำเนินการโครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี และเมื่อโครงการแล้วเสร็จจะก่อให้เกิดประโยชน์ให้กับชาวจังหวัดจันบุรี ในการบรรเทาอุทกภัย ราษฎรมีน้ำจืดตลอดปี ไม่ต้องประสบปัญหากับการรุกล้ำของน้ำเค็มเหมือนเช่นที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชน อีกทั้งยังช่วยเสริมการวางผังเมืองหรือเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเมืองจันทบุรี ได้อีกด้วย“
 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/ วันที่ 23 กรกฏาคม 2558