เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

เดินหน้าแผนบริหารจัดการน้ำภาคตะวันออก

ข่าววันที่ :3 ก.ค. 2558

Share

tmp_20150307123527_1.jpg

          มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานกีดขวางทางน้ำ ปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำ สาเหตุจากความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้นแต่น้ำที่เก็บไว้ไม่พอกับความต้องการประกอบกับบางปีฝนตกน้อย ปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำแม่น้ำในจังหวัดระยองกับจังหวัดจันทบุรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ถึงแม่น้ำปราจีนบุรี ที่อำเภอบ้านสร้าง น้ำเค็มรุกล้ำเป็นระยะทางร่วม 200 กิโลเมตร สร้างความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตร สำหรับแนวทางในการแก้ไขนั้น นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ถึงแม้ว่าภาคตะวันออกจะมีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยถึง 23,880 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่สามารถพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำรวมทั้งสิ้น 1,077 แห่ง สามารถเก็บน้ำได้ 2,277.37 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 10 เท่านั้น ในขณะที่มีความต้องการใช้น้ำ 19,585 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อปี ในขณะที่การพัฒนาแหล่งน้ำภาคตะวันออกเกิดขึ้นได้ยากเพราะมีข้อจำกัดทางภูมิสังคมและสภาพทางกายภาพ และในอนาคตความต้องการใช้น้ำจะสูงมากกว่านี้อย่างแน่นอนจากประชากรที่เพิ่มขึ้นและยังจะมีการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงท่าเรือแหลมฉบังกับท่าเรือน้ำลึกทวาย ประเทศเมียนมา ความเสี่ยงต่อภาวะขาดแคลนน้ำมีมากขึ้น ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเมือง/ท่องเที่ยว ภาคเกษตร โดยเฉพาะลุ่มน้ำบางปะกงและชายฝั่งทะเลตะวันตก (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง) ดังกรณีวิกฤติน้ำอุตสาหกรรมปี 2548 ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำในภาคตะวันออก กรมชลประทานจึงได้ดำเนินการพัฒนาระบบการบริหารจัดการน้ำแบบโครงข่ายในภาคตะวันออก โดยปัจจุบันมีอ่างเก็บน้ำที่บริหารจัดการเชื่อมโยงกัน 8 อ่างเก็บน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี อาทิ ในปี 2548 เป็นการเชื่อมโยงอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลกับอ่างเก็บน้ำหนองค้อด้วยระบบท่อ ปี 2550 ดำเนินการเชื่อมโยงระหว่างอ่างฯคลองใหญ่ อ่างฯหนองปลาไหล และอ่างฯดอกกราย ต่อมามีการผันน้ำจากอ่างฯประแสร์ มายังอ่างฯคลองใหญ่ ซึ่งหลักการในการผันน้ำระหว่างอ่างเก็บน้ำนั้นจะไม่ให้กระทบต่อเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานและผู้ใช้น้ำในแต่ละอ่างฯ เนื่องจากเป็นการผันน้ำส่วนเกินความต้องการ นอกจากนั้นยังมีโครงการผันน้ำพระองค์-บางพระ โครงการผันน้ำคลองวังโตนดจากจันทบุรีมาประแสร์ โครงการเสริมศักยภาพความจุอ่างเก็บน้ำประแสร์และดอกกราย เป็นต้น สำหรับการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภาคตะวันออกของกรมชลประทาน มี 3 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1. ยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต (เกษตรและอุตสาหกรรม) เป้าหมายในการจัดหาแหล่งน้ำให้กับพื้นที่เกษตรน้ำฝนให้เพียงพอต่อการทำการเกษตรอย่างน้อย 1 ฤดูกาล ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติให้เก็บกักเพิ่มขึ้น 1,200 ล้าน ลบ.ม. เป็นต้น 2. ยุทธศาสตร์การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มอัตราการไหลของน้ำในแม่น้ำสายหลักและสาขาการพัฒนาพื้นที่รับน้ำนองเพื่อชะลอน้ำหลาก และ 3. ยุทธศาสตร์การเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ.
 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/ วันที่ 3 กรกฏาคม 2558