เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง ไทยซินยุคนิวเจนดัน 4 ธุรกิจหลัก-ขยายอาณาจักร




          เช่นเดียวกับธุรกิจร้านชาบู-สุกี้ชื่อดัง "อากิโยชิ" (Akiyoshi) ซึ่งเปิดให้บริการใกล้กับสถานีบีทีเอสพระโขนงมานานกว่า 20 ปีแล้ว นอกจากนี้ยังเป็นผู้ผลิตสินค้าอุปโภคอย่างสบู่เหลวแบรนด์ "ไบโอแนท" (Bionat) และธุรกิจเรียลเอสเตตในชื่อ "เอสพี เอสเตท" (SP Estate) บริหารจัดการพื้นที่มิกซ์ยูสขนาด 7 ไร่ของไทยซินสแควร์ ย่านพระโขนงอีกด้วย

          หลังจากทำธุรกิจอย่างเงียบ ๆ มานาน ล่าสุด "ไทยซินอุตสาหกรรม" เริ่มมีความเคลื่อนไหวมากขึ้น ทั้งการเพิ่มไลน์สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นเล็กในแบรนด์ "ไทเกอร์" และการเดินหน้าขยายสาขาร้าน "อากิโยชิ"ทั่วทั้ง 4 ทิศของกรุงเทพฯ รวมถึงสร้างโรงงานผลิตสินค้าแห่งใหม่บริเวณถนนปู่เจ้าสมิงพราย

          "ประชาชาติธุรกิจ" ได้สัมภาษณ์ "สุรไกร ไพรสานฑ์กุล" หรือ "ใหญ่" ทายาทรุ่นที่ 3 และยังเป็นผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทยซินอุตสาหกรรม จำกัด ซึ่งเข้ามานั่งบริหารธุรกิจครอบครัว หลังจากซุ่มฝึกฝีมือในตำแหน่งนักวิเคราะห์บัญชีของเอ็กซอนโมบิล ถึงทิศทางธุรกิจต่อจากนี้

          "สุรไกร" ฉายภาพให้ฟังว่า ไทยซิน อุตสาหกรรมนั้น ก่อตั้งโดยปู่ซึ่งเป็นชาวไต้หวันเมื่อ 65 ปีก่อน โดยในช่วงแรกเป็นผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่ายสินค้าให้แบรนด์ญี่ปุ่นหลายราย อาทิ "คาโอ" (Kao) และอื่น ๆ จนปัจจุบันบางรายได้เข้ามาตั้งบริษัทในไทย จึงยกเลิกการเป็นตัวแทนไป เหลือเพียง "ไทเกอร์" ซึ่งบริษัทได้นำโนว์ฮาวมาต่อยอดเป็นแบรนด์ "นิคโก้" เพื่อรับดีมานด์ตลาดแมส ส่วน "ไบโอแนท" บริษัทได้ ซื้อลิขสิทธิ์มาผลิตและทำตลาดเอง

          และเมื่อตนเข้ามารับหน้าที่บริหารได้ เล็งเห็นโอกาสขยายธุรกิจด้วยการต่อยอดฐานลูกค้า และความเชื่อมั่นในแบรนด์ ที่สั่งสมมานาน โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องครัว ไฟฟ้าชิ้นเล็กซึ่งปีที่แล้วมีมูลค่า 8,900 ล้านบาท เติบโต 5-8% สูงกว่าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมที่โตเพียง 2% เช่นเดียวกับธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นซึ่งยังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง

          ด้วยเหตุนี้จึงได้วางโรดแมปขยายฐานลูกค้าในทั้ง 2 ธุรกิจ โดยธุรกิจนำเข้า จะขยายไลน์อัพเพิ่มกลุ่มเครื่องครัวไฟฟ้าและทำตลาดเชิงรุกมากขึ้น ก่อนจะขยายช่องทางขายเพิ่มในอีก 1-2 ปี ส่วนธุรกิจร้านอาหารเตรียมขยายสาขาในต่างจังหวัดซึ่งยังมีร้านอาหารญี่ปุ่นน้อยเมื่อเทียบกับ กทม. พร้อมปูพรมการตลาดและโปรโมชั่น ให้ร้านเป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภครุ่นใหม่

          โดยได้เริ่มนำเข้าเครื่องครัวไฟฟ้าแบรนด์ "ไทเกอร์" อาทิ หม้อหุงข้าว กาต้มน้ำ เครื่องทำขนมปัง และกระทะไฟฟ้า เป็นต้น ชูจุดขายเรื่องเมดอินเจแปน และคุณสมบัติพิเศษเช่น หม้อหุงข้าวเคลือบเซรามิก และโปรแกรมหุงข้าว พร้อม รับประกันส่วนทำความร้อน 5 ปีและตัวเครื่อง 2 ปี โดยมีราคาตั้งแต่ 5,000-39,900 บาท วางขายในห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก มุ่ง ตอบโจทย์เทรนด์สุขภาพและการอาศัยใน คอนโดฯของผู้บริโภคระดับบนซึ่งเป็น ฐานลูกค้าของกระติกน้ำไทเกอร์อยู่แล้ว

          และได้ทุ่มงบฯการตลาดเพิ่มจากเดิม 3-5% ของยอดขายเป็น 10-15% เพื่อสร้างการรับรู้ในทุกช่องทาง ทั้งไทอินสินค้าในรายการทำอาหาร เพิ่มพนักงานขายเพื่อแนะนำสินค้าใหม่ รวมถึงเปิดคอร์สสอนทำอาหาร และให้บล็อกเกอร์รีวิวสินค้าตามเทรนด์ดิจิทัล

          นอกจากนี้ยังได้เจรจากับเชนห้าง สรรพสินค้าจากญี่ปุ่นเพื่อตั้งช็อปอินช็อป ก่อนจะพัฒนาเป็นแฟลกชิปสโตร์เพื่อ ย้ำภาพความเป็นสินค้านำเข้าจากญี่ปุ่น รวมถึงร่วมมือกับบริษัทแม่จัดเทรนนิ่งช่างเพื่อเตรียมเปิดศูนย์ซ่อมรองรับไลน์อัพ สินค้าใหม่นี้

          จากการเพิ่มไลน์อัพสินค้าและการตลาดที่แอ็กทีฟมากขึ้น มั่นใจว่าปีนี้ยอดขายสินค้า "ไทเกอร์" จะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50% สูงกว่าปีที่แล้วที่เติบโต 30% และตั้งเป้าเติบโตดับเบิลดิจิตทุกปี

          ด้านร้านอากิโยชิ "สุรไกร ไพรสานฑ์กุล"อธิบายว่า ปีหน้ามีแผนขยายสาขาใน จังหวัดหัวเมืองที่มีดีมานด์สูงจากความนิยมอาหารญี่ปุ่นและเทรนด์สุขภาพ แต่การแข่งขันต่ำเมื่อเทียบกับ กทม. โดยเน้นชูความเป็นร้านชาบู-สุกี้สไตล์ญี่ปุ่นแท้ แตกต่างจากคู่แข่งซึ่งส่วนใหญ่ เป็นสไตล์ฟิวชั่นฟู้ด รวมถึงราคาเข้าถึงง่าย ที่บุฟเฟต์ 420-450 บาทต่อคน เพื่อ เจาะกลุ่มครอบครัวระดับกลางรวมถึง นักศึกษาเห็นได้จากความนิยมของสาขา สยามสแควร์วัน

          โดยระหว่างที่รอให้ระบบครัวกลางและโลจิสติกส์สำหรับทั้ง 8 สาขาใน กทม.และสาขาต่างจังหวัดในอนาคตเสร็จสมบูรณ์ ในปีนี้ จะสร้างการรับรู้ต่อเนื่อง ทั้ง โซเชียลมีเดีย แอปแนะนำร้านอาหาร รวมถึงจัดโปรโมชั่นรายเดือนในทุกสาขา ทั้งลดราคาและแจกคูปองส่วนลด เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเข้ามาทดลองชิมและบอกต่อ

          ทั้งนี้ ตั้งเป้ามีสาขารวม 15 แห่งภายในปี 2561 ส่วนยอดขายปีนี้คาดว่าจะเติบโต 10% เนื่องจากยังไม่มีสาขาใหม่

          ในส่วนของธุรกิจผลิตสินค้าอุปโภค บริโภคนั้น อาจไม่หวือหวานักแต่ก็ไม่ได้ อยู่เฉยโดยเตรียมลอนช์สินค้าแบรนด์ ไบโอแนทต่อเนื่อง อาทิ โฟมล้างมือ-ล้างหน้า และครีมอาบน้ำ พร้อมกับใช้กำลังผลิตส่วนเกินของโรงงานแห่งใหม่ย่านถนนปู่เจ้าสมิงพรายที่เปิดเมื่อปลายปี 2558 ในการรับจ้างผลิตสินค้าโออีเอ็ม

          การเดินเครื่องครั้งสำคัญของกลุ่ม "ไทยซิน" ด้วยกลยุทธ์ที่แอ็กทีฟมากขึ้น และฐานลูกค้า ซึ่งมีลอยัลตี้สูง จะช่วยให้บริษัทขยายธุรกิจ และก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดเครื่องครัว ไฟฟ้าและร้านอาหารญี่ปุ่นได้เร็วขึ้น

 

          บรรยายใต้ภาพ

          สุรไกร ไพรสานฑ์กุล

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 - 7 ก.ย. 2559