เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง คอลัมน์: แพทย์เตือนคนวัยทำงานระวัง เสพติดความเครียด




          ลองสังเกตตัวเองว่า กำลัง 'เสพติด' ความเครียด อยู่หรือไม่ เพราะปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด ไม่ได้มาจากปัญหาครอบครัว และเรื่องงานเท่านั้น สิ่งเร้าที่เข้ามากระตุ้นเพียงเล็กๆ น้อยๆ อย่างการจราจรที่หนาแน่นในชั่วโมงเร่งด่วน ภาวะกดดัน ในที่ประชุม รวมถึงงานที่ต้องเร่งรีบทำให้เสร็จทันตามกำหนด การออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป และ การอดนอน

 ความเครียดที่มาจากปัจจัยเหล่านี้ เมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้งก็สะสมและกลายเป็นอาการ 'เสพติด'  ชนิดหนึ่งได้เช่นกัน เรียกว่า อาการ 'เสพติดความเครียด' (Adrenal addict)

พญ.ภาวิณี มณีไพโรจน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

           พญ.ภาวิณี มณีไพโรจน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย ศูนย์ Royal Life  Anti-aging Center โรงพยาบาลกรุงเทพ  กล่าวว่า คนทั่วไปจะเกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว เพราะในระยะแรกร่างกายมีความทนทานสูง ต่อกับความเครียดที่เข้ามาในแต่ละวัน แต่พอ มารู้ตัวอีกทีก็ล้มป่วย ติดเชื้อเฉียบพลันจนต้อง เข้าโรงพยาบาล ซึ่งแพทย์วินิจฉัยอาการของโรคนี้ว่าเป็น 'ภาวะต่อมหมวกไตล้า' (Adrenal fatigue)  ที่เกิดจากอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่ง ที่มีความเครียดเรื้อรัง (Chronic stress)  เป็นตัวกระตุ้น

 อาการที่ปรากฏชัดเจนของภาวะต่อมหมวกไตล้า คือ อาการขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับ ช่วงกลางวัน ง่วงแต่นอนไม่หลับ  มีอาการวิงเวียน ศีรษะ หน้ามืด เวลาเปลี่ยนท่าทาง (ลุก-นั่ง) อยากของหวาน, ของเค็ม ในขณะที่บางรายปัสสาวะบ่อยผิดปกติ ปวดประจำเดือนบ่อย เป็นภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ ผิวแห้งและแพ้ง่าย ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก เครียดซึมเศร้า คุมอาหาร ออกกำลังกายหนักเป็นประจำแต่น้ำหนักไม่ลดลง เป็นต้น

 ภาวะต่อมหมวกไตล้าจัดอยู่ในกลุ่ม 'โรคที่ถูกลืม' เพราะไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและทันท่วงที จากการเจาะเลือดตรวจสุขภาพทั่วไป อาจไม่เพียงพอสำหรับการวินิจฉัยภาวะนี้ เนื่องจากต้องวัดระดับ ฮอร์โมนต่อมหมวกไต (Adrenal hormones) 2 ตัว ที่มีชื่อว่า คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dyhydroepiandrosterone-DHEA)  จากผลเลือดร่วมด้วย

 Cortisol และ DHEA คือ ฮอร์โมนแห่ง 'ความเครียด' ในร่างกายมนุษย์ ปัจจุบัน การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าจะมุ่งเน้นไปที่การปรับ ให้ฮอร์โมน 2 ตัวนี้ให้อยู่ระดับที่สมดุล โดยที่  Cortisol คือฮอร์โมนความเครียดตัวหลักของร่างกาย (Stress hormone) ปกติร่างกายจะ หลั่งออกมาปริมาณมากที่สุดในตอนเช้า ช่วยให้ เรารู้สึกสดชื่น และมีพลังต่อสู้ในวันใหม่ของทุกวัน และจะลดลงเหลือเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงเย็น

 แต่ในสถานการณ์คับขัน Cortisol จะทำหน้าที่กระตุ้นให้ความดันโลหิตสูงขึ้น และอัตราการเต้นหัวใจให้เพิ่มขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้ต่อสู้กับปัญหาข้างหน้า แต่ถ้าเกิดความเครียดสะสมเรื้อรัง จากการทำงานหนักมากเกินไป พักผ่อนไม่พอ หรือออกกำลังกายเกินพอดี ระดับฮอร์โมนCortisol  ที่สูงขึ้นจะเริ่มส่งผลเสียต่อร่างกาย เนื่องจากฮอร์โมนตัวนี้มีฤทธิ์ ในการสลายและทำลายล้าง (Catabolic hormone) ทำให้ร่างกายเสื่อมและแก่เร็ว (Degeneration) แต่ถ้ามีน้อยไปก็จะทำให้ไม่มีแรงลุกขึ้นจากที่นอนตอนเช้า ขาดความกระตือรือร้นและอ่อนเพลียตอนกลางวัน 

ส่วนฮอร์โมน DHEA คือฮอร์โมนเพศ ชนิดหนึ่งที่เป็นฮอร์โมนตั้งต้นของทั้งฮอร์โมน เพศหญิงและเพศชาย (Pre-sex hormones) และยังเป็นฮอร์โมนต้านความเครียด (Anti-stress hormones) ช่วยต้านฤทธิ์ของ Cortisol เมื่อร่างกายอยู่ในภาวะเครียด ที่มีฤทธิ์ในการเสริมสร้าง (Anabolic hormone) ช่วยเพิ่มความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ให้กับร่างกาย(Boost energy) เพิ่มความแข็งแรงให้กับ กล้ามเนื้อ (Muscle building) ชะลอการเกิดริ้วรอยก่อนวัย (Premature skin aging) และกระตุ้นความรู้สึก ทางเพศ (Sexual drive)

 การป้องกันไม่ให้ภาวะต่อมหมวกไตล้าที่ดีที่สุด คือการนอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง หรือเข้านอนก่อน 5 ทุ่ม รับประทานอาหารเช้า ก่อน 10.00 น. เพราะหลัง 10.00 น. ระดับ Cortisol  จะลดลง ทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย Cortisol จะทำงานดีขึ้นเมื่อมีน้ำตาลในเลือดเพียงพอควรรับประทาน (Moderate intensity exercise) เพราะการออกกำลังกายที่หนักเกินไปจะส่งผลให้ ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น

  ลองหาวิธีคลายความเครียด เช่น หางาน อดิเรกทำ เดินทางไปเที่ยว และทานอาหารเสริม และสมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยลดอาการ ต่อมหมวกไตล้าได้ เช่น Ashwaghandha  (โสมอินเดีย) L-theanine (สารสกัดจากชาเขียว) Phosphatidylserine (สารสกัดจากถั่วเหลือง) วิตามิน C วิตามิน B3 วิตามิน B5 วิตามิน B6

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 25 สิงหาคม 2559