เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง ดิจิทัล4.0 พลิกโฉมธุรกิจไทย




          โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญใน3 มิติคือ 1.เปลี่ยนจากการผลิตสินค้า "โภคภัณฑ์" ไปสู่สินค้าเชิง "นวัตกรรม" 2.เปลี่ยนจาก การขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และ 3.เปลี่ยนจาก การเน้นภาคการผลิตสินค้าไปสู่การเน้นภาคบริการ หรือ "Smart Enterprise" ที่การแข่งขันไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ แต่เป็นการนำนวัตกรรมและไอเดียมาสร้างเป็นโมเดลธุรกิจที่เพิ่มคุณค่าและสร้างมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ

          อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น บริษัท มายรัม (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "นวัตกรรมด้านดิจิทัล" เป็นองค์ประกอบสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวนโยบายประเทศไทย 4.0 หากมอง ย้อนหลังไปพบว่าดิจิทัลได้แปลงรูปจากการใช้อินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์ทั่วไป ในยุค"ดิจิทัล 1.0" มาเป็นแพลตฟอร์มของการตลาดยุคดิจิทัลที่เปิดโอกาสให้ผู้คนสามารถสื่อสารและสร้างคอนเทนท์ผ่าน ช่องทางโซเชียลในวงกว้างในยุค"ดิจิทัล 2.0"

          สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน ดิจิทัล อยู่กับผู้คนผ่านระบบการสื่อสารในลักษณะคลาวน์คอมพิวติ้ง ที่ข้อมูลเกือบทุกลักษณะถูกจัดเก็บและสามารถถูกเรียกผ่านแพลตฟอร์มทางธุรกิจไม่ว่าจะเป็นออนไลน์เซอร์วิส ออมนิ แชนแนล (Omni-Channel) การดูหนังฟังเพลงหรือแม้กระทั่งการสอบถามข้อมูลจากระบบดิจิทัลสมองกลอัจฉริยะ ผ่านโมบาย อย่าง Siri หรือ Watson ในยุค "ดิจิทัล 3.0"

          ดังนั้นการเปลี่ยนผ่านของดิจิทัลไปสู่ยุค "ดิจิทัล 4.0" จึงเป็นความสามารถในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจของผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ บนความพร้อมขององค์กรและทรัพยากร โดยการประยุกต์ใช้นวัตกรรมข้อมูลเชิงลึก(Analytics) เพื่อรองรับการใช้งานของ ผู้บริโภคและฝ่ายปฏิบัติงานขององค์กร การออกแบบที่คำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง (User-Centered Design) การทำงานและการสื่อสารของอุปกรณ์ในลักษณะ Machine-2-Machine หรืออินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ตลอดจนการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเพื่อรองรับความต้องการของธุรกิจและองค์กร สู่การสร้างโมเดล ธุรกิจใหม่ที่เพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้กับสินค้าและบริการอย่างก้าวกระโดด

          นวัตกรรมขับเคลื่อนธุรกิจ

          "ประเทศไทย 4.0" เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยไปสู่ "Value-Based Economy" หรือ "เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม" ซึ่งมุ่งเป้าหมายใน 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 1. เทคโนโลยีการเกษตร และอาหาร 2.เทคโนโลยีสุขภาพและการแพทย์3.เทคโนโลยีหุ่นยนต์4.อินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) เทคโนโลยีด้านการศึกษา และมาร์เก็ตเพลส 5. เทคโนโลยีการออกแบบ การท่องเที่ยว ธุรกิจไลฟ์สไตล์

          อุตสาหกรรมต้องบุกเบิกและพัฒนาความพร้อมในการสร้างนวัตกรรมหรือประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจและสร้างผลลัพธ์ตามเป้าหมาย ตัวอย่าง การใช้หุ่นยนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมที่กลุ่มบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโมบายในประเทศจีน นำมาใช้ในการกระบวนการผลิต โดย 35 บริษัทผู้ผลิตจากไต้หวันได้ใช้เงินวิจัยและลงทุนกับนวัตกรรมเทคโนโลยีหุ่นยนต์กว่า 4 พันล้านหยวน ทำให้สามารถแทนที่การใช้แรงงานคน จาก 110,000 คนลงเหลือ 50,000 คนช่วยลด ต้นทุนการบริหารจัดการ เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันและลดความเสี่ยงจาก อุบัติเหตุ

          ดังนั้นนอกจากเงินลงทุนกับการพัฒนา นวัตกรรมหรือการประยุกต์ใช้นวัตกรรมแล้ว องค์กรต้องมีความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคล ความสามารถในการปรับกระบวนการทำงานและความรวดเร็วในการบริหารจัดการธุรกิจ ตลอดจนการใช้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อเพิ่มโอกาสในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสร้างโมเดลธุรกิจที่ตอบโจทย์ การแข่งขัน

          มุ่ง'ดิจิทัลทรานส์ฟอร์ม'

          อุไรพร กล่าวว่าวิสัยทัศน์ของผู้บริหารในการสร้างความรู้และความเข้าใจกับดิจิทัลหรือนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นโจทย์ที่ "ท้าทาย"ขององค์กรในยุคดิจิทัล4.0 สำหรับองค์กรจำนวนมากในประเทศที่มีความพร้อมทางเทคโนโลยีได้ก้าว ข้ามสู่ "ดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น (Digital Transformation)" เน้นการดำเนินงาน ที่มุ่งเป้าไปถึงความสำเร็จในการสร้าง ความสัมพันธ์และความพึงพอใจของธุรกิจและลูกค้าผ่านกระบวนการออกแบบที่คำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง

          โดยการปรับกระบวนการทำงานเพื่อให้รองรับการใช้งานข้อมูล การทำงานร่วมกันของระบบและฟังก์ชั่นที่ช่วยการทำงานของพนักงาน ตลอดจนการเข้าใจถึงความต้องการที่แท้จริงของตลาดและลูกค้าเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์หรือโมเดลธุรกิจที่ขยายฐานไปยังลูกค้ากลุ่มใหม่ได้อย่างถาวร

          ตัวอย่าง การทรานส์ฟอร์มของจีอี (GE) ในการเป็นผู้นำด้าน Digital Power Plant และ Digital Wind Farm ที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดวิสัยทัศน์และขับเคลื่อนองค์กรไป สู่โมเดลธุรกิจใหม่ตอบความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงเป้าหมาย

          "ยุคดิจิทัล 4.0 เป็นความสามารถทรานส์ฟอร์มธุรกิจของผู้บริหาร สู่การสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่เพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้สินค้าและบริการอย่างก้าวกระโดด

 

          ขับเคี่ยวกลยุทธ์ไอเดีย

          ความแข็งแกร่งของ "แพลตฟอร์ม" ขนาดใหญ่เช่น เฟซบุ๊ค กูเกิล แอ๊ปเปิ้ลและไลน์ มีอิทธิพลต่อการ เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้นในยุคดิจิทัล จาก "โซเชียล มีเดีย" ที่เน้นการสื่อสารระหว่างเพื่อน เปลี่ยนเป็นแพลตฟอร์ม ในการโฆษณาและกำลัง ทรานส์ฟอร์มไปเป็นแพลตฟอร์มในการขายออนไลน์ ทำให้แบรนด์และพันธมิตรของแพลตฟอร์มเหล่านี้ต้องวิ่งตามให้ทันต่อการล้วงลึกของข้อมูลที่แพลตฟอร์มสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ได้ ส่งผลต่อกลยุทธ์การตลาด สื่อสารและการขาย ตลอดจน การแย่งชิงลูกค้าจากแบรนด์อื่น

          นวัตกรรม IoT  จะเปิดกว้างให้สิ่งของสามารถสื่อสารกันเองและสื่อสารไปยังผู้บริโภค การปรากฎตัว ของแบรนด์หรือการสร้างกิจกรรมต่างๆ ตรงไปยัง อุปกรณ์เหล่านี้ย่อมมี ความเป็นไปได้มาก 

          ดิจิทัล4.0 จึงเป็นยุคของการแข่งขันด้านวิสัยทัศน์ ไอเดีย ข้อมูล ความเร็วและบุคลากร ที่จะขับเคลื่อนธุรกิจให้รุกหน้าไปพร้อมกับ การสนับสนุนจากภาครัฐและการร่วมมือของพันธมิตร

          คงถึงเวลาแล้วที่องค์กรต้องประยุกต์ใช้ "ดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชั่น"ให้เหมาะสมและทันการณ์

 

          บรรยายใต้ภาพ

          อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 27 มิถุนายน 2559