เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง คอลัมน์: RE-Start: C1 CONTENTS



tmp_20161506105753_1.gif


วิทวัส ชัยปาณี

          ประธาน บริษัท ครีเอทีฟ จูซ แบงคอก จำกัด

          และ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย

          จากบทความตอนที่ผ่านมา เกริ่นไว้ว่าจะสื่อสารในโลกออนไลน์ต้องดูแลให้ครบ 4 ค. หรือ 4Cs ได้แก่ 1.Contents 2.Campaign 3.Conversation 4.Commerce จึงจะประสบความสำเร็จ

          ในตอนนี้จึงขอเริ่มแนะนำตัวแรกก่อน แบรนด์ทุกแบรนด์ ธุรกิจทุกรูปแบบจะต้องมีเนื้อหาหลักที่ต้องการบอกลูกค้า เช่น มีสินค้าอะไรบ้าง มีดีอย่างไร ราคาเท่าไหร่ มีขายที่ไหน แผนที่บริษัท กิจกรรมการตลาด กิจกรรมเพื่อสังคม ฯลฯ ทั้งหมดนี้คือเนื้อหา หรือ Contents นั่นเอง

          ในยุคอะนาล็อก แบรนด์จะสื่อสารเนื้อหาเหล่านี้ไว้ในงานโฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งส่วนมากใช้สื่อดั้งเดิมแบบโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์ ฯลฯ ประสมประสานกับการทาไดเรกต์มาร์เก็ตติ้ง ทำสื่อ ณ จุดขาย ทำแค็ตตาล็อก และบางแบรนด์อาจจะต้องพึ่งพาการจัดตั้ง Call Center เพื่อไว้สื่อสารเนื้อหาต่างๆ กับลูกค้า

          วันนี้เข้าสู่โลกดิจิทัลแล้ว ผู้บริโภคบางส่วนอาจจะยังติดการเสพสื่อเดิมๆ อยู่ แต่ผู้บริโภคจำนวนมาก (และมากขึ้นเรื่อยๆ) จะติดจอมือถือจนแทบไม่ได้เสพสื่อเดิมๆ หลายคนไม่เคยเห็นสปอตโฆษณาจากโทรทัศน์เพราะแทบไม่ได้ดูโทรทัศน์เลย แต่กลับได้เห็นสปอตโฆษณาจากการส่งต่อกันมาในไลน์ หรือมีคนโพสต์ให้เห็นในเฟซบุ๊ก

          ปัจจุบันหลายสิ่งหลายอย่างยังมีเนื้อหาแบบเดิม แต่เปลี่ยนรูปแบบเข้ามาอยู่ในโลกออนไลน์ นอกจากสปอตโทรทัศน์จะเปลี่ยนเป็นไวรัลคลิป แล้วสิ่งพิมพ์ก็เปลี่ยนไปเป็นไวรัลโพสต์ สารคดีกึ่งโฆษณา หรือที่เรียกกันว่า Advertorial ก็ต้องกลายมาเป็นคลิป (ซึ่งรูปแบบที่เรียกกันว่า Infographic ก็เป็นที่นิยมตูมตามกันขึ้นมา) แค็ตตาล็อกก็กลายร่างจากเล่มมาเป็นออนไลน์เป็นต้น

          อันที่จริงเครื่องมือที่รวบรวมเนื้อหาของแบรนด์ไว้ได้ดีที่สุด ครบครันที่สุด คือ เว็บไซต์ (website) นั่นเองครับ แต่ต้องไม่ลืมว่าในโลกนี้มีอยู่หลายร้อยล้านเว็บไซต์ อยู่ดีๆ ไม่มีใครมาเปิดเว็บไซต์เราดูหรอก

          ผิดกับการสื่อเนื้อหาของเราผ่านเฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ฯลฯ ซึ่งเนื้อหาของเราจะวิ่งไปหาผู้บริโภค ไม่ใช่ต้องมาค้นหาในเสิร์ชเอนจิ้น แต่เนื้อหาเหล่านั้น เห็นทีเดียวแล้วก็หายไป จะหาอีกทีก็หายาก ไม่ได้อยู่ นิ่งๆ ให้หาเหมือนในเว็บไซต์ ดังนั้นต้องใช้ประสมประสานกันให้ดี

          เมื่อเร็วๆ นี้ ผมไปเสนอให้ลูกค้าทำเว็บไซต์ขึ้นมาเพื่อรวบรวมเนื้อหามากมายให้ โดยแยกจากเว็บไซต์ของแบรนด์ แต่เจอคำถามว่า …ในธุรกิจเราทุกแบรนด์ทำเว็บไซต์กันทุกแบรนด์ แต่ที่เราเจอกันมาก็คือล้มเหลวกันทั้งนั้น ทำไมคุณยังมาเสนอให้เราทำเว็บไซต์ของ CSR Campaign อีก เราทำแต่เฟซบุ๊กได้ไหม

          ผมตอบได้แค่ ต้องทำทั้งคู่ประสมประสานกัน เพราะตัวเว็บไซต์เหมือนห้องสมุดเก็บข้อมูล ส่วนเฟซบุ๊กเหมือน ทำสปอตโฆษณายิงเข้าหากลุ่มเป้าหมาย ถ้าเขาสนใจจะได้มีที่หาอะไรเพิ่มเติมในเว็บไซต์ เนื้อหาในเฟซบุ๊กจะหายไปตลอดเวลา

          ที่จริงอยากจะตอบว่า ที่ทำเว็บไซต์ล้มเหลวกันมาก็เพราะ "ทำไม่เป็น" มากกว่า มันแค่เอาเนื้อหาไปปะไว้ ใครจะเข้ามาดูล่ะ

          แต่ไม่กล้าพูดแบบนั้น เพราะแรงไปผมว่าถึงเวลา … RESTART แล้วกระมังครับ

          "ในธุรกิจเราทุกแบรนด์ทำ เว็บไซต์กันทุกแบรนด์ แต่ที่เราเจอกันมาก็คือล้มเหลวกันทั้งนั้น ทำ ไมคุณยังมาเสนอให้เราทำ เว็บไซต์ของ CSR Campaign อีก  เราทำ แต่เฟซบุ๊กได้ไหม" ผมตอบได้แค่ ต้องทำ ทั้งคู่ ประสมประสานกัน เพราะตัวเว็บไซต์เหมือนห้องสมุดเก็บข้อมูล  ส่วนเฟซบุ๊กเหมือนทำ สปอตโฆษณา ยิงเข้าหากลุ่มเป้าหมาย ถ้าเขาสนใจ จะได้มีที่หาอะไรเพิ่มเติมในเว็บไซต์  เนื้อหาในเฟซบุ๊กจะหายไปตลอดเวลา

 

ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 8  มิ.ย. 59