เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง แบบที่พักอาศัยผู้สูงอายุ



tmp_20161506102557_1.jpg


          เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพและมีคุณค่า ทั้งตัว ผู้สูงวัยเองและผู้ที่ดูแลผู้สูงวัยควรทำการศึกษาวิธีการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อายุมากขึ้นโรคก็มากขึ้นเช่นเดียวกัน และไม่ใช่เพียงแค่โรคภัยไข้เจ็บเท่านั้นที่ตามคุกคาม อุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

          ดังนั้นการออกแบบสถานที่พักอาศัยของผู้สูงวัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพิถีพิถันเป็นอย่างมาก เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญอย่าง SCG ได้บูรณา การองค์ความรู้ของที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aged Society) ในอนาคต โดยพัฒนานวัตกรรมที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงวัย เรียกว่า SCG Eldercare Solution (เอสซีจี เอลเดอร์แคร์ โซลูชั่น) ซึ่งเป็นนวัตกรรมและแนวคิดจากเอสซีจีในการเตรียม ที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์เรื่องบ้านปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ

          ทั้งนี้ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ รวมไปถึงครอบครัวและผู้ใกล้ชิด ด้วยการให้คำปรึกษาแนะนำที่ใส่ใจตั้งแต่การเลือกสรรผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ รวมถึงการติดตั้งอย่างเหมาะสมเพื่อบ้านทั้งหลัง ไม่ว่าจะเป็น ห้องน้ำ ห้องนอน บันได และบริเวณทางเดินนอกตัวบ้าน รวมไปถึงพื้นที่ที่ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเกิดการหกล้มมากที่สุด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมักประสบปัญหาการหกล้ม

          "รัชนีกร ดวงเลขา" Project Manager-Communication & Network Collaboration และดูแลส่วนงาน Operation SCG Eldercare Solution อธิบายว่า เนื่องจากความเสื่อมถอยของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และส่วนใหญ่จะหกล้มในบริเวณบ้านมากกว่านอกบ้าน เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นผู้สูงอายุจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่บ้านมากกว่า การบาดเจ็บก็จะรุนแรงขึ้นตามอายุ สภาวะการตอบสนองของร่างกายในการป้องกันตัวเองจะช้าลง อาจ ส่งผลให้ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ได้เหมือนเดิม อีกทั้งผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเผชิญโรคของวัยชรา เช่น โรคข้อกระดูกเสื่อม โรคเส้นเหลืองในสมอง ภาวะความดันโลหิตสูง และภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น ดังนั้น การเตรียมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการลื่นล้มและป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

          "ผู้สูงอายุแต่ละคนมีความเสื่อมถอยของร่างกายที่แตกต่างกัน การออกแบบที่อยู่อาศัยที่เฉพาะและเหมาะสมกับแต่ละตัวบุคคลจึงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการลื่นล้มและอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น พื้นบ้าน ควรเรียบเสมอกัน ไม่ยกพื้นต่างระดับหรือมีธรณีประตู วัสดุกรุพื้นผิวต้องไม่เรียบลื่นจนเกินไป แสงสว่างต้องเพียงพอต่อการมองเห็น มีทางลาดให้รถเข็นขึ้นลงอย่างสะดวก (ตามอัตราส่วน 1:12) ทางเดินต้องมีราวจับช่วยพยุงตัว"

          ห้องน้ำ ควรมีการแยกระหว่างส่วนเปียกและส่วนแห้ง แต่ไม่ควรมีพื้นต่างระดับ พื้นห้องน้ำควรมีผิวสัมผัสที่หยาบ เพื่อความปลอดภัยและกันลื่น และควรเลือกใช้สุขภัณฑ์ให้เหมาะสมกับ ผู้สูงอายุแต่ละคน

          ห้องนั่งเล่น ควรมีช่องรับแสงทางทิศตะวันออกเพื่อรับแสงยามเช้า ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกกระปรี้กระเปร่า

          อุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ เช่น เตียงนอน ลูกบิดประตู หรือสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ควรสอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้อยู่อาศัย ผู้สูงอายุมักใช้เวลากับการนั่งมากกว่าการทำกิจวัตรอื่น ๆ เนื่องจากกระดูกและข้อเสื่อมลงทำให้สูญเสียการทรงตัว ช่องแสงหรือบานประตูควรอยู่สูงจากพื้นไม่มากนัก เพื่อให้แสงเข้าได้ดีและสามารถมองเห็นทิวทัศน์นอกบ้านได้ ซึ่งดีต่อสุขภาพจิตและส่งผลดีต่อสุขภาพกายด้วย

          การเตรียมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุนั้นควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานและเหมาะสมกับผู้สูงอายุ ได้รับการออกแบบและแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะวิเคราะห์ระดับความแตกต่างทางสมรรถภาพเฉพาะบุคคลและนำมาปรับใช้กับที่อยู่อาศัยได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการติดตั้งจากทีมงานที่เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตในที่อยู่อาศัยได้อย่างอิสระ สะดวก ปลอดภัย นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตช่วงสูงอายุที่ดียิ่งขึ้น

          การเลือกอุปกรณ์ติดตั้งที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในการทำกิจวัตรประจำวัน เวลาที่อาศัยอยู่ที่บ้านก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมเหมาะกับการใช้งานของผู้สูงอายุ ที่ตอบโจทย์ทางด้าน ความปลอดภัย (Safety), ความสะดวกสบาย (Convenience) และการส่งเสริมสุขภาวะที่ดี (Wellness) ถูกออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการใช้สอยในแต่ละห้อง จึงเหมาะสำหรับผู้สูงวัย ช่วยให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบาย และยังลดโอกาสการเกิดการล้ม และลดความรุนแรงการบาดเจ็บ

          "ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักเกิดความเสื่อมถอยขึ้นกับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นดวงตาที่พร่ามัว ภาวะกระดูกพรุน รวมถึงการตอบสนองที่ช้าลง ดังนั้น หากจำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนที่ ในระหว่างที่ตายังปรับสมดุลไม่ได้ อุบัติเหตุต่าง ๆ ก็มีโอกาสเกิดสูงกว่าปกติ  SCG Eldercare Solution เรามีผลิตภัณฑ์กรุพื้นผิวที่มีคุณสมบัติช่วยดูดซับแรงกระแทก ชื่อ ระบบพื้นลดแรงกระแทก (Shock Absorption Floor) ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงหากเกิดการล้ม ด้วยนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บเมื่อหกล้มกระแทกพื้น เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงในการล้มเป็นพิเศษ"

          พบกับนวัตกรรมนี้ได้ในงาน "มติชนเฮลท์แคร์ 2016" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-19 มิถุนายนนี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

          หยุด 10 พฤติกรรมลดอุบัติเหตุของผูสูงวัย

          นอกจากนี้ ผู้ดูแลส่วนงาน Operation SCG Eldercare Solution ยังระบุว่า พฤติกรรมที่ควรหยุดเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุเวลาใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน ได้แก่

          1.ใส่ถุงเท้าเดินในบ้าน

          2.ไม่ยอมใช้ Gait Aid (ทั้งๆ ที่ต้องการ)

          3.ไม่ยอมเปิดไฟ ตอนเดินเข้าห้องน้ำตอนกลางคืน

          4.ปีนบันไดหรือเก้าอี้เพื่อหยิบของในที่สูง

          5.เคยล้มแล้วไม่ยอมบอกลูกหลาน

          6.ยืนแต่งตัว เช่น ยืนด้วยขาข้างเดียวขณะใส่กางเกง ลุกพรวดพราด

          7.เปลี่ยนท่าด้วยความรวดเร็ว

          8.ยืนอาบน้ำ สระผม ก้มเงยถูตัว โดยไม่นั่งหรือจับหลักให้มั่นคง

          9.ไม่มีเก้าอี้นั่งแต่งตัว ใส่รองเท้า

          10.ชั้นวางของใช้ที่จำเป็นอยู่สูง ต้องเอื้อมหรือปีนเก้าอี้ขึ้นไปหยิบ ฯลฯ

 

ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : 

          เพื่อก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพและมีคุณค่า ทั้งตัว ผู้สูงวัยเองและผู้ที่ดูแลผู้สูงวัยควรทำการศึกษาวิธีการดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากโรคเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อายุมากขึ้นโรคก็มากขึ้นเช่นเดียวกัน และไม่ใช่เพียงแค่โรคภัยไข้เจ็บเท่านั้นที่ตามคุกคาม อุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

          ดังนั้นการออกแบบสถานที่พักอาศัยของผู้สูงวัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพิถีพิถันเป็นอย่างมาก เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญอย่าง SCG ได้บูรณา การองค์ความรู้ของที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย (Aged Society) ในอนาคต โดยพัฒนานวัตกรรมที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงวัย เรียกว่า SCG Eldercare Solution (เอสซีจี เอลเดอร์แคร์ โซลูชั่น) ซึ่งเป็นนวัตกรรมและแนวคิดจากเอสซีจีในการเตรียม ที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์เรื่องบ้านปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ

          ทั้งนี้ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคม ที่จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ รวมไปถึงครอบครัวและผู้ใกล้ชิด ด้วยการให้คำปรึกษาแนะนำที่ใส่ใจตั้งแต่การเลือกสรรผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ รวมถึงการติดตั้งอย่างเหมาะสมเพื่อบ้านทั้งหลัง ไม่ว่าจะเป็น ห้องน้ำ ห้องนอน บันได และบริเวณทางเดินนอกตัวบ้าน รวมไปถึงพื้นที่ที่ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเกิดการหกล้มมากที่สุด โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมักประสบปัญหาการหกล้ม

          "รัชนีกร ดวงเลขา" Project Manager-Communication & Network Collaboration และดูแลส่วนงาน Operation SCG Eldercare Solution อธิบายว่า เนื่องจากความเสื่อมถอยของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย และส่วนใหญ่จะหกล้มในบริเวณบ้านมากกว่านอกบ้าน เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นผู้สูงอายุจะใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่บ้านมากกว่า การบาดเจ็บก็จะรุนแรงขึ้นตามอายุ สภาวะการตอบสนองของร่างกายในการป้องกันตัวเองจะช้าลง อาจ ส่งผลให้ไม่สามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันต่าง ๆ ได้เหมือนเดิม อีกทั้งผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักเผชิญโรคของวัยชรา เช่น โรคข้อกระดูกเสื่อม โรคเส้นเหลืองในสมอง ภาวะความดันโลหิตสูง และภาวะสมองเสื่อม เป็นต้น ดังนั้น การเตรียมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการลื่นล้มและป้องกันอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

          "ผู้สูงอายุแต่ละคนมีความเสื่อมถอยของร่างกายที่แตกต่างกัน การออกแบบที่อยู่อาศัยที่เฉพาะและเหมาะสมกับแต่ละตัวบุคคลจึงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจเป็นพิเศษ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการลื่นล้มและอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น พื้นบ้าน ควรเรียบเสมอกัน ไม่ยกพื้นต่างระดับหรือมีธรณีประตู วัสดุกรุพื้นผิวต้องไม่เรียบลื่นจนเกินไป แสงสว่างต้องเพียงพอต่อการมองเห็น มีทางลาดให้รถเข็นขึ้นลงอย่างสะดวก (ตามอัตราส่วน 1:12) ทางเดินต้องมีราวจับช่วยพยุงตัว"

          ห้องน้ำ ควรมีการแยกระหว่างส่วนเปียกและส่วนแห้ง แต่ไม่ควรมีพื้นต่างระดับ พื้นห้องน้ำควรมีผิวสัมผัสที่หยาบ เพื่อความปลอดภัยและกันลื่น และควรเลือกใช้สุขภัณฑ์ให้เหมาะสมกับ ผู้สูงอายุแต่ละคน

          ห้องนั่งเล่น ควรมีช่องรับแสงทางทิศตะวันออกเพื่อรับแสงยามเช้า ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกกระปรี้กระเปร่า

          อุปกรณ์ใช้สอยต่าง ๆ เช่น เตียงนอน ลูกบิดประตู หรือสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ควรสอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันของผู้อยู่อาศัย ผู้สูงอายุมักใช้เวลากับการนั่งมากกว่าการทำกิจวัตรอื่น ๆ เนื่องจากกระดูกและข้อเสื่อมลงทำให้สูญเสียการทรงตัว ช่องแสงหรือบานประตูควรอยู่สูงจากพื้นไม่มากนัก เพื่อให้แสงเข้าได้ดีและสามารถมองเห็นทิวทัศน์นอกบ้านได้ ซึ่งดีต่อสุขภาพจิตและส่งผลดีต่อสุขภาพกายด้วย

          การเตรียมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุนั้นควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานและเหมาะสมกับผู้สูงอายุ ได้รับการออกแบบและแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อที่จะวิเคราะห์ระดับความแตกต่างทางสมรรถภาพเฉพาะบุคคลและนำมาปรับใช้กับที่อยู่อาศัยได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการติดตั้งจากทีมงานที่เชี่ยวชาญ เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตในที่อยู่อาศัยได้อย่างอิสระ สะดวก ปลอดภัย นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตช่วงสูงอายุที่ดียิ่งขึ้น

          การเลือกอุปกรณ์ติดตั้งที่ทำให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในการทำกิจวัตรประจำวัน เวลาที่อาศัยอยู่ที่บ้านก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์ที่มีนวัตกรรมเหมาะกับการใช้งานของผู้สูงอายุ ที่ตอบโจทย์ทางด้าน ความปลอดภัย (Safety), ความสะดวกสบาย (Convenience) และการส่งเสริมสุขภาวะที่ดี (Wellness) ถูกออกแบบโดยคำนึงถึงความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการใช้สอยในแต่ละห้อง จึงเหมาะสำหรับผู้สูงวัย ช่วยให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบาย และยังลดโอกาสการเกิดการล้ม และลดความรุนแรงการบาดเจ็บ

          "ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักเกิดความเสื่อมถอยขึ้นกับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นดวงตาที่พร่ามัว ภาวะกระดูกพรุน รวมถึงการตอบสนองที่ช้าลง ดังนั้น หากจำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนที่ ในระหว่างที่ตายังปรับสมดุลไม่ได้ อุบัติเหตุต่าง ๆ ก็มีโอกาสเกิดสูงกว่าปกติ  SCG Eldercare Solution เรามีผลิตภัณฑ์กรุพื้นผิวที่มีคุณสมบัติช่วยดูดซับแรงกระแทก ชื่อ ระบบพื้นลดแรงกระแทก (Shock Absorption Floor) ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงหากเกิดการล้ม ด้วยนวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดความรุนแรงของการบาดเจ็บเมื่อหกล้มกระแทกพื้น เพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ที่มีความเสี่ยงในการล้มเป็นพิเศษ"

          พบกับนวัตกรรมนี้ได้ในงาน "มติชนเฮลท์แคร์ 2016" จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-19 มิถุนายนนี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

          หยุด 10 พฤติกรรมลดอุบัติเหตุของผูสูงวัย

          นอกจากนี้ ผู้ดูแลส่วนงาน Operation SCG Eldercare Solution ยังระบุว่า พฤติกรรมที่ควรหยุดเพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุเวลาใช้ชีวิตอยู่ในบ้าน ได้แก่

          1.ใส่ถุงเท้าเดินในบ้าน

          2.ไม่ยอมใช้ Gait Aid (ทั้งๆ ที่ต้องการ)

          3.ไม่ยอมเปิดไฟ ตอนเดินเข้าห้องน้ำตอนกลางคืน

          4.ปีนบันไดหรือเก้าอี้เพื่อหยิบของในที่สูง

          5.เคยล้มแล้วไม่ยอมบอกลูกหลาน

          6.ยืนแต่งตัว เช่น ยืนด้วยขาข้างเดียวขณะใส่กางเกง ลุกพรวดพราด

          7.เปลี่ยนท่าด้วยความรวดเร็ว

          8.ยืนอาบน้ำ สระผม ก้มเงยถูตัว โดยไม่นั่งหรือจับหลักให้มั่นคง

          9.ไม่มีเก้าอี้นั่งแต่งตัว ใส่รองเท้า

          10.ชั้นวางของใช้ที่จำเป็นอยู่สูง ต้องเอื้อมหรือปีนเก้าอี้ขึ้นไปหยิบ ฯลฯ

 

ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 16 - 19 มิ.ย. 2559