เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง คอลัมน์: Health Me: ความดันโลหิตสูงภัยเงียบคุกคามชีวิต




โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจ โรคไตวาย เส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพอง อัมพาต อัมพฤกษ์ การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็น การรักษาที่ไม่ใช้ยา ได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การลดน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดบุหรี่ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม และการรักษาด้วยยา

          ทางการแพทย์แผนไทย โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่เกิดจากการพัดพาที่ไม่สมดุลของวาตะหรือลมในร่างกาย บางครั้งพัดแรง บางครั้งพัดช้า เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะเครียดที่ทำให้ปิตตะกำเริบเผาให้เกิดความเสื่อมของช่องทางเดินลม ความเสื่อมคือความแห้ง ซึ่งมีคุณสมบัติตรงกับวาตะ ช่วยเสริมฤทธิ์ของวาตะ วาตะเกิดการกำเริบขึ้นทำให้มีการเคลื่อนของลมที่แรงขึ้น เกิดเป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจะพบอาการที่เกิดจากวาตะกำเริบ คือ อาการปวดบริเวณศีรษะและท้ายทอย การปรับสมดุลของวาตะนี้ เมื่อวิเคราะห์ย้อนกลับกับตำรายาไทยก็จะพบว่า ยาที่ลดการพัดพาของวาตะจะเป็นยาที่มีรสสุขุมไปทางร้อน ซึ่งตรงข้ามกับคุณสมบัติของวาตะ และเสริมด้วยยาที่มีกลิ่นหอมเย็นตรงข้ามกับปิตตะ ก็จะช่วยลดหรือคลายความเครียด

          สมุนไพรสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กระเจี๊ยบแดง ดอกแห้ง 4-5 ดอกมาต้มน้ำดื่ม ใบนำมาแกงเผ็ดได้ มีฤทธิ์ลด ความดันโลหิต และขับกรดยูริก มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตและขับปัสสาวะ ซึ่งพบการใช้กระเจี๊ยบเพื่อเป็นยาในหลายประเทศ เช่น กัวเตมาลา อียิปต์ เป็นต้น

          ขึ้นฉ่าย รับประทานเป็นประจำทุกวัน วันละ 4 ต้น ชาวเอเชียนิยมใช้ขึ้นฉ่ายเป็นยาลดความดันโลหิตมาประมาณ 2,000 ปี ชาวอินเดียใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ส่วนในประเทศไทย ใช้ขึ้นฉ่ายทั้งต้นมาใช้เป็นยาลดความดันโลหิตสูงและขับปัสสาวะ

          บัวบก ใช้ผงของใบแห้งขนาด 0.5-2 กรัม วันละ 3 เวลา รับประทานติดต่อกันอย่างน้อย 1 เดือน มีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต ขับปัสสาวะ อีกทั้งบัวบกยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด และช่วยขยายหลอดเลือด แต่ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน

          กระเทียม ให้นำกระเทียมประมาณ 250 หัว แช่กับเหล้าขาวประมาณ 1 ลิตร ใช้เวลานาน 6 สัปดาห์ แล้วรินเอาน้ำใสใส่ขวด ใช้รับประทานครั้งละครึ่งช้อนกาแฟ ตอนเช้าวันละ 1 ครั้ง

          ขิง ให้รับประทานสดเป็นประจำพร้อมอาหารวันละ 3 เวลา หรือใช้ขิงสดฝานแล้วต้มน้ำทำเป็นน้ำขิงรับประทาน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต ช่วยลดความดันโลหิต และลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 10 พฤษภาคม 2559 หน้า C5