เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง บ้านป่าคา จ.กำแพงเพชร เลิกปลูกข้าวโพดแบบเชิงเดี่ยว



tmp_20161803095225_1.jpg


          การขนส่งหรือการนำพืชผลทางการเกษตรออกไปจำหน่ายยังตลาดเพื่อให้มีรายได้เป็นไปได้ยากลำบาก

ขณะที่ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตรปลูกพืชเชิงเดี่ยว ซึ่งจะเป็นในลักษณะของการเปิดพื้นที่ออกไปเรื่อย ๆ

ปัญหาการบุกรุกถากถางพื้นที่ทำการเกษตรจึงเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นวิถีชีวิตของราษฎรชาวชนเผ่า ซึ่งในพื้นที่มีมากถึง 5 เผ่า

ได้แก่ ม้ง เย้า กะเหรี่ยง มูเซอ และลีซอที่ส่วนใหญ่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบเชิงเดี่ยวที่มีภาคเอกชนบางแห่งเข้าไปส่งเสริม

เมื่อความทราบถึง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หาทางแก้ไขปัญหา

          โดยการจัดตั้งโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ขึ้น เพื่อให้ราษฎรในพ ายสิ่งแวดล้อม

และได้เข้าถึงวิทยาการด้านการเพาะปลูกที่ไม่ต้องเปิดพื้นที่ใหม่สามารถให้ผลผลิตสูงและตรงตามความต้องการของตลาด

สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตาม พระราชดำริบ้านป่าคา จึงเกิดขึ้นและได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 เป็นต้นมา

ล่าสุด นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี และคณะได้เดินทางไปติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานพบว่า มีความคืบหน้าอย่างน่าพอใจยิ่ง

ราษฎรลดการตัดไม้ทำลายป่า ปัญหาการแผ้วถางป่าเพื่อเปิดหน้าดินทำการเพาะปลูกของราษฎรได้ลดลงอย่างชัดเจน

ราษฎรหันมาปลูกพืชผักได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจเพิ่มรายได้ให้แก่ราษฎรได้ดีขึ้น “โครงการนี้ได้แก้ไขปัญหาตามจุดประสงค์ได้เป็นอย่างดี

          เนื่องจากพื้นที่มีภูมิประเทศเป็นภูเขาซับซ้อน สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,439 เมตร เป็นป่าดงดิบผสมป่าเบญจพรรณที่มีความสมบูรณ์

เป็นต้นน้ำของลำธารและคลองหลายสาย เช่น คลองวังเจ้า คลองสวนหมาก คลองขลุง และคลองวังไทรแล้วไหลลงสู่แม่น้ำปิง

ที่จังหวัดกำแพงเพชร โดยจะไม่ส่งผลกระทบกระเทือนต่อพื้นที่ต้นน้ำ เนื่องจากพื้นที่ต้นน้ำไม่มีการแผ้วถางทำลายป่าอีกต่อไป

ซึ่งตรงกับแนวพระราชดำริในการจัดตั้งสถานีเกษตรที่สูง เนื่องจากพื้นที่มีปัญหาทั้งป่าไม้และแหล่งน้ำ เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ

และราษฎรได้เข้ามาอาศัยทำกินอยู่แล้ว ดังนั้นต้องให้ความสำคัญ ต้องยึดถือแนวพระราชดำริ ที่เน้นประโยชน์สุขต่อประชาชนและประเทศชาติ

ซึ่งคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญต้องพัฒนาและปลูกฝัง พร้อมกับสร้างจิตสำนึกควบคู่กันไปเพื่อให้การพัฒนาเกิดความยั่งยืน” นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี กล่าวกับคณะเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับการดำเนินงานในโครงการฯ ด้าน นายเกรียงไกร จิระจีรังชัย

หัวหน้าสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตาม พระราชดำริบ้านป่าคา กล่าวว่า สถานีได้นำพืชเมืองหนาวมาปลูกและพัฒนาในพื้นที่

เช่น สตรอเบอรี่ อโวคาโด จากนั้นให้ชาวบ้านนำไปปลูก ร่วมกับพืชที่ปลูกเดิมในพื้นที่ อาทิ กะหล่ำปลี พริก ขิง มันฝรั่ง

ซึ่งล่าสุดเกษตรกรนำผลผลิตสตรอเบอรี่ที่ปลูกแบบรวมแปลงจากเกษตรกรหลายราย แล้วรวมกันนำผลส่งจำหน่ายไปที่ตลาดขายส่ง

จังหวัดปทุมธานี วันละกว่า 10 ตัน มีรายได้รวมกันวันละกว่า 150,000 บาท ซึ่งทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรในพื้นที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ยังไม่รวมรายได้จากการส่งพืชผักชนิดอื่น ๆ ที่ปลูกในพื้นที่ไปจำหน่ายอีกด้วย ยังผลให้ราษฎรในพื้นที่เลิกการปลูกพืชเชิงเดี่ยว

เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ทำลายพื้นที่ป่าโดยสิ้นเชิงในทุกวันนี้.
 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/agriculture/386161 วันที่ 18 มีนาคม 2559