เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง คนไทยติดกับดัก ภัยลวงโลกออนไลน์



tmp_20161803100549_1.jpg


         ดีแทค เผยผลสำรวจสาเหตุที่คนไทยติดกับดักภัยลวงบนโลกอินเทอร์เน็ต พบคนไทยเสียเงินกว่า 3 แสนเพราะหลงเชื่อทำงานผ่านเน็ต นางอรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่าในช่วงปีที่ผ่านมา ดีแทค และเทเลนอร์กรุ๊ป ร่วมทำผลสำรวจภายใต้โครงการ Safe Internet การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในแต่ละครั้งพบว่าข้อมูลจากผลการสำรวจบ่งชี้สัญญาณอันตรายที่กำลังจะเกิดขึ้นกับคนไทย โดยเฉพาะภัยลวงต่างๆ ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบกับความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ล่าสุด ทำการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 4 ประเทศในเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย และประเทศไทย อายุ 18-65 ปี เกี่ยวกับเรื่องการล่อลวงบนโลกอินเทอร์เน็ต ข้อมูลเบื้องต้นพบว่าคนไทยใช้งานอินเทอร์ เน็ตถึง 10 ชั่วโมงต่อวัน จากผลการสำรวจพบว่า 40% ของคนไทยตกเป็นเหยื่อการล่อลวงบนโลกอินเทอร์เน็ต 56% รู้ว่าเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวก็เคยตกเป็นเหยื่อการล่อลวงบนโลกอินเทอร์เน็ต และ 90% ของคนไทยถูกหลอกให้เสียเงินไปกับภัยบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยประเทศไทยติดอันดับเป็นประเทศที่เสียเงินไปกับภัยลวงออนไลน์มากที่สุดในเอเชีย ซึ่งเฉลี่ยเป็นมูลค่าถึง 370,000 บาทต่อคน สำหรับภัยลวงที่คนไทยพบมากที่สุดบนโลกอินเทอร์เน็ต 3 อันดับแรกที่ทำให้คนไทยติดกับดักมากที่สุด อันดับ 1 คือ การลวงให้ทำงานผ่านเน็ตได้ง่าย ๆ ที่บ้าน สุดท้ายพบว่า ทำงานให้ฟรีแต่ไม่เคยได้รับค่าตอบแทน อันดับ 2 คือ การลวงให้ประมูลสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จ่ายเงินไปแล้วแต่ไม่ได้รับของกลับมา และอันดับ 3การลวงโดยการแฮกเข้าไปล้วงรหัสผ่านเฟซบุ๊ก โดยจะถูกเอาข้อมูลส่วนตัวไปใช้เพื่อทำธุรกรรมด้านอื่น ๆ ทั้งนี้ดีแทค และเทเลนอร์กรุ๊ป แนะนำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกรณีการถูกหลอกลวง หรือชักนำในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ ควรลบอีเมลที่ไม่คุ้นเคย หรือที่แปลก ๆ ทิ้งไป และพยายามไม่เปิด หรือทำข้อตกลงใด ๆ จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่ใช่อีเมลไวรัส ควรอัพเดทโปรแกรมสแกนไวรัสเสมอ และควรเพิกเฉย หรือไม่สนใจและไม่ให้ความสำคัญกับโฆษณาที่ดูเกินไปจากความเป็นจริง และควรส่งต่อข้อมูลความรู้เกี่ยวกับภัยลวงต่าง ๆ ให้เพื่อนและครอบครัวได้ทราบ ผ่านการใช้สื่อโซเชียล เพราะจะได้เป็นการกำจัดภัยไม่ให้ขยายต่อไปยังคนอื่นได้อีก.
 

ที่มา : เดลินิวส์ วันที่ 16 มีนาคม 2559 หน้าที่ 23