เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง ขับเคลื่อนวิถีชีวิตพอเพียง สู่การพัฒนาประเทศ



tmp_20150209144645_1.jpg


Source - เดลินิวส์ 25 ส.ค. 2558

          การสัมมนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง "การขับเคลื่อนวิถีชีวิตพอเพียงสู่การพัฒนาประเทศ" ณ ห้องประชุม 101 อาคารสำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ กรุงเทพมหานคร จัดโดย สำนักงาน กปร. เมื่อวันก่อน


          โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานเปิดการสัมมนาฯ นางสุวรรณา พาศิริ นายดนุชา สินธวานนท์ รองเลขาธิการ กปร. และผู้บริหารสำนักงาน กปร. หัวหน้าศูนย์เรียนรู้ผู้นำชุมชนเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่ได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 153 คน เข้าร่วมการสัมมนา


          นายประสาท พาศิริ ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการฯ สำนักงาน กปร. เปิด เผยว่า การสัมมนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขยายผลการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงระหว่างศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ที่อยู่ในการสนับสนุนของสำนักงาน กปร. จำนวน 47 แห่ง และส่งเสริมทักษะเทคนิคการถ่ายทอดองค์ความรู้ ระดมความคิด รวมถึงการร่วมกันระดมความคิดเห็นและกำหนดแนวทางในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ให้มีศักยภาพ พร้อมขยายผลให้เกิดความเข้มแข็งต่อไป


          ที่สัมมนามีการจัดเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากศูนย์เรียนรู้ที่มีศักยภาพ ที่ผ่านการคัดสรรจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ ในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงาน กปร. มาร่วมให้ข้อ คิดเห็น ประกอบด้วย นางพรรณพิมล ปันคำ ประธานกลุ่มศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านเกษตรยั่งยืน ตำบลศรีเมืองชุม จังหวัดเชียงราย นายคำพันธ์ เหล่าวงษี ประธานกลุ่มเกษตร กรรมยั่งยืน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหา สารคาม และ นายบาล บุญก้ำ ผู้นำชุมชนบ้านดอกบัว จังหวัดพะเยา ในหัวข้อ "เครือข่ายศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ"


          พร้อมกันนี้ได้มีการบรรยายพิเศษจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในเรื่อง "การขับเคลื่อนวิถีชีวิตพอเพียงสู่การพัฒนาประเทศ" การบรรยายในหัวข้อ "การขับเคลื่อนชุมชน สู่การพัฒนาประเทศ" โดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี และการบรรยายในหัวข้อ "การขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงในภาคเกษตรและชนบท" โดยนายประสาท พาศิริ ที่ปรึกษาด้านการประสานงาน โครงการฯ สำนักงาน กปร.


          "สำหรับศูนย์เรียนรู้ทั้ง 47 แห่ง นั้น สำนักงาน กปร. ได้สนับสนุนเพื่อการขยายผลสู่เกษตรกรรายอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องในหลากหลายรูปแบบ เช่น ในเรื่องเอกสารสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแพร่ด้านต่าง ๆ พร้อมจัดทำคู่มือเพื่อการแจกจ่ายแก่ผู้ที่เดินทางเข้ามาศึกษาภายในดูงานศูนย์เรียนรู้ฯ ประกอบการศึกษาดูงานและลงมือปฏิบัติ โดย ในปลายปี 2558 นี้ สำนักงาน กปร. จะจัดทำคู่มือของศูนย์ต่าง ๆ ให้ครบทั้ง 47 แห่ง สำหรับแจกจ่ายแก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาดูงานของศูนย์ฯ และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการถอดบทเรียนของแต่ละแห่ง นับตั้งแต่ แนวทางในการดำเนินงาน วิธีการในการดำเนิน โครงการต่าง ๆ ของศูนย์ฯ ที่ประสบความสำเร็จจนกระทั่งได้รับการจัดตั้งให้เป็นศูนย์ฯ สำหรับพื้นที่อื่น ๆ ที่มีความพร้อมและต้อง การขยายผลการดำเนินงานของตนเองให้ เป็นศูนย์ฯ นั้น ทางสำนักงาน กปร. ก็ยินดีที่จะสนับสนุนเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตรงตามเป้าประสงค์ของเกษตรกร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเกษตรกรเอง" นายประสาท กล่าว


          ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงาน กปร. นั้น แบ่งเป็นประเภทภาคธุรกิจ 10 แห่ง หน่วยงานภาครัฐ 6 แห่ง ประชาชนทั่วไป 9 แห่ง เกษตรกรทฤษฎีใหม่ 12 แห่ง กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ 5 แห่ง และชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง 5 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคกลาง 19 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แห่ง ภาคเหนือ 10 แห่ง และภาคใต้ 7 แห่ง


          ปัจจุบันศูนย์ฯ เหล่านี้มีความพร้อมที่จะทำหน้าที่ในการเผยแพร่องค์ความรู้ การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การดำรงชีวิตการประกอบอาชีพ และการบริหารจัดการองค์กรได้เป็นอย่างดี.