เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง ฝึกอบรมผู้นำชุมชนภาคประชาชน



tmp_20150209132826_1.jpg


Source - เดลินิวส์ 25 ก.ค. 2558

          รัฐบาลได้กำหนดวาระแห่งชาติด้านการสหกรณ์  โดยตระหนักถึงความสำคัญของระบบสหกรณ์ให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจน  และการพัฒนาชนบท รวมทั้งการสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดความร่วมมือของประชาชน


          ซึ่งควรที่จะเผยแพร่  ขยายวิธีการสหกรณ์ไปในหมู่ประชาชน ตามชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ผลักดันให้องค์กรประชาชนและประชาชนทั่วไป ได้นำวิธีการสหกรณ์ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติด้านการสหกรณ์ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสนับสนุนและพัฒนาการรวมกลุ่มของประชาชน จะทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ให้เข้มแข็งโดยเริ่มจากการทำให้ครัวเรือนซึ่งเป็นหน่วยเศรษฐกิจ ที่เล็กที่สุด สามารถพึ่งพาตนเองได้บนความพอเพียง โดยใช้วิธีการสหกรณ์ในวิถีชีวิตและสนับสนุนครัวเรือนให้เกิดการ


          รวมกลุ่มให้สอดคล้องกับศักยภาพ ภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่นและความต้องการแก้ปัญหาของคนในชุมชน ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อก่อให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของทรัพยากร การสร้างงาน สร้างรายได้ และสวัสดิการของคน ในชุมชน เช่น กลุ่มการผลิต กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์เป็นต้น และการจัดการทุนของชุมชนโดยการรวมทุนและร่วมกันในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ เพื่อประโยชน์ของคนในชุมชน และคนในชุมชนเป็น


          เจ้าของร่วมกัน ทำให้เกิดการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม  โดยใช้วิธีการสหกรณ์ในการบริหารจัดการ เพราะการสหกรณ์มีความเป็นสากล  มีอุดมการณ์หลักการชัดเจนและสามารถยืดหยุ่นได้ตามการเปลี่ยน แปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม


          นายอนันต์ มหัจฉริยพันธุ์ สหกรณ์จังหวัดเลย  กล่าวว่า ในส่วนของจังหวัดเลยซึ่งประกอบไปด้วยอำเภอ จำนวน 14 อำเภอ  819 หมู่บ้าน และเพื่อเป็นการสนับสนุนและพัฒนาการรวมกลุ่มของประชาชน จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมผู้นำชุมชนภาคประชาชนให้กับคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของหลักการอุดม การณ์ และวิธีการสหกรณ์ขึ้น


          เพื่อจะได้ร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดกิจกรรมด้านการสหกรณ์ในชุมชน และนำวิธีการสหกรณ์ไปประยุกต์ใช้ในการสร้างกิจกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของคนในชุมชน โดยการฝึกอบรมให้กับผู้นำชุมชนดังกล่าว อำเภอละ 2 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 20 คน รวมจำนวน  560 คน


          โดยคาดหวังว่าผู้นำชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจะได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการสหกรณ์ และมีการนำวิธีการสหกรณ์มาเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้มีการพัฒนาทางการเศรษฐกิจและสังคมอย่างมั่นคงต่อไป.