เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง พลิกฟื้นชีวิตกับโครงการดาวล้อมเดือน ธ.ก.ส.จับมือ มก. ร่วมสร้างความเข้มแข็งเกษตรกร



tmp_20152207163116_1.jpg


          คมสัน นันทจักร์

          การจัดรูปที่ดินฯ คือการพัฒนาระบบชลประทานขั้นสุดยอด(Super Irrigation) ที่ลำเลียงน้ำต้นทุนเข้าสู่ไร่นาอย่างทั่วถึง สร้างประโยชน์มหาศาลแก่เกษตรกรในพื้นที่ ทำให้พื้นที่นั้นกลายเป็นพื้นที่ชั้นหนึ่งที่สามารถสร้างผลผลิตได้ การจัดรูปที่ดินฯจึงเป็นการต่อยอดระบบชลประทาน อันได้แก่ระบบคลองส่งน้ำ สายใหญ่ สายซอย ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ในการกระจายน้ำ แต่การกระจายน้ำให้เข้างถึงในระดับไร่นา (On Farm Irrigation Development) อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องอาศัยเส้นเลือดฝอย โดยเฉพาะการสร้างคูส่งน้ำเข้าถึงแปลงที่ดินทุกแปลง ซึ่งก็คือการจัดรูปที่ดินฯ นั่นเอง

          พื้นที่ปลายน้ำของโครงการชลประทานาเขื่อนน้ำอูน อ.เมือง จ.สกลนครเริ่มมีการขยายพื้นที่จัดรูปที่ดินฯ เข้ากับโครงการดาวล้อมเดือน ของมหาวิทยลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร เดินทีไม่มีน้ำเข้าถึงเมื่อจัดรูปที่ดินฯ ก็สามารถส่งน้ำเข้าไปได้ช่วยให้เกษตรกรมีน้ำทำนาอย่างน้อย 1 ครั้ง ขณะเดียวกันใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียง โดยทำการเกษตรผสมผสานก็ช่วยให้เกษตรกรพึ่งพาตัวเองได้ และมีรายได้เพิ่มขึ้นเช่นกั้น

          เพื่อช่วยเหลือให้ชาวนาได้มีโอกาสลืมตา อ้าปาก มีงานมีเงินเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้มากขึ้น รศ.ดร.วิโรจ์ อิ่มพิทักษ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ริเริ่มโครางการดาวล้อมเดือน เมื่อปี 2552 โดยนำความรู้ทางวิชาการเกษตร มาพัฒนาพื้นที่การทำเกษตรบริเวณรอบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จ.สกลนคร ซึ่งมักประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ตอนปลายของโครงการส่งน้ำและลบำรุงรักษาน้ำอูน ทางมหาวิทยาลัยฯ จึงมุ่งมั่นพัฒนาที่ดินบริเวรนี้ให้กลายเป็นพื้นที่การเกษตรที่สมบูรณ์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต สร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและชุมชน ให้มีความสามารถในการพึ่งตนเองและพึ่งพากันได้อย่างยั่งยืน

          บังเอิญแนวคิดดังกล่าว สอดคล้องกับภารกิจของ สำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดสกลนครที่มุ่งดำเนินการก่อสร้างระบบชลประทานและการระบายน้ำ ถนนทางลำเลียงไร่นา เข้าถึงแปลงที่นาของเกษตรกรทุกแปลง ปี 2555 คณะกรรมการจัดรูปที่ดินจังหวัดสกลนคร ขยายเขตโครงการจัดรูปที่ดินจังหวัดสกลนครเพิ่มเติม ในท้องที่ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร จำนวน 2,059 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทับซ้อนกับโครงการดาวล้อมเดือน

          ด้วยภารกิจที่สอดคล้อง และเกื้อกูลกันหน่วยงานภาครับจึงหันมาบูรณาการร่วมกันภายใต้โคราการดาวล้อมเดือน เพื่อช่วยให้เกษตรกรอยู่ดีกันดียิ่งขึ้น โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) จังหวัดสกลนคร ดูแลด้านแหล่งเงินทุน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติสกลนคร เป็นหน่วยงานสนับสนุนด้านวิชาการเกษตร สำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง เป็นหน่วยงานพัฒนาระบบชลประทานในระดับไร่นา

          โครงการก่อสร้างระบบชลประทานและการระบายน้ำ สร้างถนนหรือทางลำเลียงไร่นานั้นสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดสกลนคร ดำเนินการก่อสร้างเองโดยปรับปรุงรูปแบบแปลงที่ดินให้เหมาะสมกับการพัฒนาต่อยอดไปสู่การพัฒนาตามปรัชยาเศรษฐกิจพอเพียง หากเกษตรกรประสงค์จะขุดบ่อน้ำในแปลงที่นา ก็ให้แจ้งความประสงค์ต่อนายช่างควบคุมงาน เพื่อจำนำมาพิจารณาความเหมาะสม จากขนาด ระยะทางที่จะนำดินที่จะนำมาใช้สำหรับก่อสร้างก่อสร้างระบบชลประทาน สร้างถนนหรือทางลำเลียงไร่นา และคุณสมบัติของผู้แจ้งความประสงค์

          โดยมีผู้แทนสำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดสกลนคร ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงเครือ ผู้แทนสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดสกลนคร และผู้แทนสำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดสกลนคร เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม อีกทั้งยังปรับปรุง ตบแต่งบ่อน้ำ ให้เกษตรกร ผู้ที่ถูกคัดเลือกให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง รองรับการพัฒนาแปลงที่ดินให้เป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแปลงตัวอย่างเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ เป็นศูนย์ฝึกอบรมลูกหนี้ เกษตรกรในพื้นที่ จ.สกลนคร ให้หลุดพ้นจากภาวะหนี้สิน

          ทุกวันนี้ โครงการดาวล้อมเดือน ช่วยกระจายน้ำให้เข้าถึงในระดับไร่นา ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังสร้างคูระบายน้ำและถนนเพื่ออำนวยความสะดวกในการผลิตและขนส่งที่สามารถเข้าถึงทุกแปลง ปัจจุบันเกษตรกรมีแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับใช้ในการเพราะปลูกได้อย่างสม่ำเสมอ เกษตรกรในพื้นที่ต้นน้ำสามารถทำนาได้ปีละ2 ครั้ง  เกษตรกรพื้นที่ต้นน้ำกลางน้ำ ทำนา 1-2 ครั้งและยังปลูกพืชฤดูแล้งอีกด้วย เกษตรกรพื้นที่ปลายน้ำ ทำนา 1 ครั้ง ปลูกพืชฤดูแล้งหรือเกษตรผสมผสาน เช่น การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ ปลูกพริก แคนตาลูป มะเขือเทศ  ฯลฯ ทำให้เกษตรกรมีผลตอบแทนต่อไร่มากขึ้น

          "ทองพูล สีคูณหิว" แกนนำผู้ขับเคลื่อนโครงการดาวล้อมเดือน(โทร 087-224-9292)เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบัน โครงการฯหันมาส่งเสริมให้ชาวบ้านทำนาข้าวไรซ์เบอรี่อินทรีย์โดยให้ยืมเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อนำไปปลูก ในอัตราส่วนยืม 1 คืน 1 ทั้งนี้เกษตรกรจะมีผลผลิตเฉลี่ย 430 ก.ก./ไร่ โดยทางโครงการจะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในอัตราก.ก.ละ 20 บาท เพื่อเก็บคืนในไซโลของ ส.ก.ต.สกลนคร จำกัด

          โครงการดาวล้อมเดือนส่งเสริม การปลูกข้าวไรซ์เบอรี่เป็นปีที่ 3 แล้วขณะนี้ มีเกษตรกรจำนวน 9 หมู่บ้าน สนใจเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่มีเนื้อที่ปลูกรวมทั้งสิ้น 30 ไร่ทางโครางการฯ จะจัดหาเมล็ดข้าวพันธุ์ดีแจกจ่ายให้กับเกษตรกรนำไปปลูกอย่างต่อเนื่องสาเหตุที่ส่งเสริมปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ เพราะเป็นพันธุ์ข้าวเพื่อสุขภาพ ที่มีคุณประโยชน์สูง และกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้รักสุขภาพสำหรับข้าวไรซ์เบอรี่ จะมีอายุการปลูกประมาณ 120 วัน มีผลผลิตเฉลี่ย 650 กก./ไร่

          ที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนองค์ความรู้เรื่องการปลูกข้าว รวมทั้งสนับสนุนเงินกู้เพื่อการลงทุนให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการดาวล้อมเดือนด้วย โดยปีนี้จะส่งเสริมการขยายพื้นที่ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่เพิ่มขึ้นเป็น 100 โร่ โดยแบ่งเป็นโซน สำหรับเพราะปลูกแห่งละ 30 ไร่ เมื่อได้ผลผลิตก็จะรวมกันซื้อ รวมกันขาย และให้ยืมเมล็ดพันธุ์สำหรันำไปปลูกในแต่ละรอบ ผลิตที่ได้จะรับซื้อจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกเฉลี่ยตันละ 20,000 บาท โดยหักเงินเป็นรายได้ เข้ากลุ่มประมาณ 5,000 บาท

 

          ที่มา : เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 เม.ย. 2558