เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง ปรับกลยุทธ์การกรีดยางพารา โอกาสอยู่รอดเกษตรกรไทย



tmp_20151505153049_1.jpg


          เมื่อปลายเดือนตุลาคม 2554 ลดลงเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง จนถึงวันที่ 21 เมษยน 2557 ดิ่งลงต่ำกว่า กก.ละ 60 บาท ณ ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่ ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ กก.ละ 61 บาท และเลวร้ายอย่างต่อเนื่องจนหลุดเพดานกก.ละ 50 บาท ในตลาดท้องถิ่นตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2557 มาจนถึงวันนี้
แม้ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามหามาตรการในการที่จะช่วงพยุงราคาพาราให้ได้ กก.ละกว่า 60 บาท แต่กระนั้น ณ สิ้นเดือนเมษายน 2558 ที่ผ่านมา ราคายางพาราแผ่นดิบ ณ โรงงานในท้องถิ่น กก.ละ 49.20 บาท น้ำยางสด กก.ละ 50 บาท ขณะที่ราคาประมูล ณ ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ยางแผ่นดิบอยู่ที่ กก.ละ 51.18 บาท ยากรมควันชั้น 3 กก.ละ 54.19 บาท แต่เกษตรกรที่ขายจริงในพื้นที่อยู่ราวๆ กก.ไม่เกิน 45 บาท และนับวันมีแนวโน้มว่าราคายางพาราของไทยยังไม่มีปัจจัยใดที่บ่งบอกว่ามีสัญญาณว่า ราคายางพาราจะดีขึ้นในเร็ววันนี้
ทางออกเกษตรกรต้องหาแนวทางหรือเทคนิคต่างๆ เพื่อที่จะให้อยู่รอดต่อไป ล่าสุดเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา บนเวทีเสวนาวิชากร เรื่อง "เทคนิคการผลิตยางพาราที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและโอกาสอยู่รอดของเกษตรกรไทย" จัดโดยศูนย์ความร่วมมือทางวิชากรไทย-ฝรั่งเศส (DORAS Center) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งตัวแทนนักวิชากร หน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงผู้ประกอบการ และตัวแทนเกษตรกรสะท้อนถึงแนวทาง ซึ่งถือเป็นอีกนแนวทางหนึ่งที่จะช่วยเป็นแสงสว่างเพื่อเป็นแนวทางในการปรับตัวของเกษตรกรต่อไป
ต้องใช้ความรู้-เทคโนโลยี
รศ.ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ รักษาราชการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สะท้อนให้เห็นว่า ในสภาวะปัจจุบันยาพาราราคาตกต่ำและมีแนวโน้มที่จะราคาไม่ดีอย่างนี้ไปอีกนานสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะยางสังเคราะห์ ซึ่งเป็นคู่แข่งของยางพารานั้น จะมีต้นทุนการผลิตที่ถูกลงตามราคาน้ำมันปิโตรเลียมลดลงนั่นเอง อีกสาเหตุหนึ่ง คือ มีการปลูกยางพารามากขึ้นภายใน 5-8 ปีที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นไทยควรเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ลักษณะเช่นนี้ วิธีการที่จะทำได้เพื่อให้เกษตรไทยมีความสามารถในการแข่งขัน ดดยอาศัยความรู้และเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ถ้าเราจะแข่งขันได้ จึงจะอยู่รอดได้คือประการหนึ่งต้องให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าคนอื่น และอีกประการต้องแปรรูปสร้างมูลค่าให้แก่ผลผลิตยางพาราของไทยเอง
หัวใจสำคัญคือ "การกรีด"
"การเสวนาวิชาการในครั้งนี้ เรามุ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนการผลิต โดยมุ่งสื่อสารทำความเข้าใจ ผลักดันให้มีการดำเนนการเชิงนโยบายเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยใช้แนวทางการดำเนินการที่ทำได้เร็ว ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว ทดสอบแล้วจากเครือข่ายทางวิชาการด้านยางพารา ได้แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กรมวิชาการเกษตร และศูนย์ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการวิจัยเกษตรกรรมเพื่อการพัฒนา สาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งพบว่าสามารถให้ผลตอบแทนการลงทุนที่สูงที่สุดในเวลาอันรวดเร็ว" รศ.ดร.บดินทร์ กล่าว
สำหรับแนวทางที่เสนอนั้นก็มุ่งไปที่หัวใจของการผลิตยางพารา คือ วิธีการกรีดยาง ที่จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้ในประเด็นความสำคัญของเทคโนโลยีกับความสามารถในการแข่งขันเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวน้ำยาง ความยั่งยืนของผลิตภาพและต้นยางพารา
การกรีดต้องเข้าเปลือกน้อยที่สุด
รศ.ดร.พูนพิภพ เกษมทรัพย์ รักษาราชการแทนรองอธิการบดีมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน มองว่า สถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำ จาก กก.ละ 200 บาท เหลือแค่ 52 บาท อย่างนี้เกษตรกรจะอยู่รอดได้อย่างไรคำตอบก็คือ เราต้องเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง และอีกแนวทางหนึ่ง คือ เพิ่มคุณค่าผลผลิต โดยการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยซึ่งวิธีการลดต้นทุนการผลิตที่สามารถทำได้เร็วและให้ผลตอบแทนที่สุงนั้นก็คือ วิธีการกรีดยางโดยใช้เทคนิคการกรีดที่ดี คือควรกรีดยางให้เข้าเปลือกน้อยที่สุด 1.7-2 มม.ต่อครั้ง นอกจากนี้หน่วยงานทีเกี่ยวข้องควรมีนโบายในการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่เกษตรกรชาวสวยยาง โดยการจัดการฝึกอบรมเทคนิคในการกรีดยางที่ผ่านการทดสอบแล้ว เพื่อสร้างแรงงานฝีมือดี ลดการขาดแคลนแรงงานได้
แนะใช้สารเร่งกรีด1วันเว้น2วัน
สำหรับแนวทางของ Dr.Regis Locote ผู้เชี่ยวชาญชาวฝรั่งเศส จากสถาบัน CIRAD ประจำประเทศไทย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตน้ำยาง การเก็บเกี่ยวน้ำยาง การปรับปรุงและพัฒนาระบบกรีดยาง ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก ระบุว่า การทดสอบ วิจัยการกรีดยางพาราในประเทศต่างๆ ทั่วโลก พบว่าความถี่ในการกรีดยาง วิธีการกรีดยาง ด้วยการแบ่งครึ่งลำต้น การเปิดกรีดยางด้านล้าง ด้านบทของลำต้น และการใช้สารเคมีในการเร่งน้ำยางในระยะเวลาที่เหมาะสม ล้วนมีส่วนสัมพันธ์กับการเพิ่มผลผลิต และการลดต้นทุน ทั้งสิ้น
ขณะที่ ดร.พิศมัย จันทุมา นักวิชาการเกษตร ชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การจะใช้เทคนิคการผลิตยางพาราแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ของผู้ผลิตว่าจะมุ่งเน้นระยะสั้น หรือระยะยาว และควรเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองเรา
ส่วน นายพิระยุทธ์ วงศ์ทอง หัวหน้าแผนกสวน บริษัทวิสาหกิจยางไทย จำกัด มองว่า การกรีดยางวันเว้นวัน โดยไม่ใช้สารเร่ง ได้ผลดีไม่เท่ากับการกรีด 1 วันเว้น 2 วัน บวกกับใช้สารเร่งด้วย ซึ่งจะได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นทุกปี
นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานอนุกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และประธานสมัชชาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทางรอดของเกษตรอย่างเดี่ยวไม่ได้ ต้องปลูกพืชอย่างอื่นแซม และถ้าให้ดีควรทำเกษตรอินทรีย์ให้ได้นอกจากนี้ ควรเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบด้วยการแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์อื่นจะดีกว่า
การปรับกลยุทธ์ในการกรีดยางพาราก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ลดต้นทุนการผลิตและนำไปสู่การอยู่รอดของเกษตรกรชาวสวยยางพาราได้

คมชัดลึก ฉบับวันที่ 4 พ.ค. 2558