เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง นอน เรื่องง่ายๆ ที่กลายเป็น เรื่องยาก



tmp_20151505132958_1.jpg


แล้วก็ถึงเวลาพักผ่อนเสียที ฉันจะนอนให้สมกับที่อดนอนมาหลายคืน

          ฟังดูน่าภิรมย์ ชวนให้อิจฉา อยากมีเวลานอนเต็มที่แบบนั้นบ้าง

          แต่...ภายใต้สภาวะการนอนหลับในเซฟตี้โซนของเรา สามารถเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

          จริงๆ

          แล้วร่างกายคนเรามีภาษากายที่เป็นสัญญาณเตือนบางอย่างให้ทราบถึงสภาวะของ

          ร่างกาย ณ เวลานั้นๆ เช่น การหาวบอกให้รู้ว่าสมองของเรากำลังขาดออกซิเจน

          หรือ

          "การนอนกรน" ที่บอกให้รู้ว่าคนคนนั้นอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากมาย

          อาทิ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ

          โรคอ้วน ฯลฯ

          รวมทั้งความเสี่ยงต่อการหยุดหายใจขณะนอนหลับ

          นอนมากเกินไปใช่ว่าจะดี

          ปัญหา

          ของการนอนมีมานานแล้ว เพียงแต่ปัจจุบันเราใส่ใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น

          ขณะเดียวกันด้วยวิทยาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าไปไกลสามารถจัดการกับความ

          เสี่ยงอันเนื่องมาจาก การนอนหลับผิดปกติ (Sleep Disorders) ได้

          นพ.จักริน

          ลบล้ำเลิศ อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ บอกว่า

          ปกติคนเราจะนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง

          แต่นั่นหมายความว่าจะต้องเป็นการนอนที่มีคุณภาพ คือ หลับลึก

          และไม่ถูกปัจจัยบางอย่างรบกวนให้ต้องตื่นกลางดึก เช่น

          การลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำ ฯลฯ เพื่อให้ร่างกายและสมองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่

          และตื่นขึ้นพร้อมกับความสดชื่น

          แต่ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาของคน

          เมืองที่จะนอนดึกตื่นสาย และบ่อยครั้งยอมอดนอน เก็บเปรี้ยวไว้กินหวาน

          นอนชดเชยแบบนันสต๊อปในวันหยุด ซึ่งไม่ใช่สุขลักษณะที่ดี ไม่เพียงไม่สดชื่น

          ยังง่วงเหงาหาวนอน ไม่มีสมาธิ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

          รวมทั้งความจำลดลง

          "มีการศึกษาพบว่าคนที่อดนอนจะใช้เวลาในการคิด

          มากกว่าคนที่นอนอย่างเพียงพอ

          รวมทั้งในคนที่อดนอนจะมีโอกาสทำงานผิดพลาดมากกว่าคนที่นอนหลับอย่างเพียงพอ

          นอกจากนี้ยังมีผลต่ออารมณ์ทำให้หงุดหงิดง่ายขึ้น"

          วิธีแก้ไข

          คุณหมอจักรินแนะนำให้ใช้การปรับพฤติกรรมตนเอง

          แต่ถ้ายังมีอาการง่วงงุนถึงระดับง่วงโงก พร้อมจะหลับได้ตลอดเวลา

          ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุอื่น

          ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาท เช่น "โรคลมหลับ" (Narcolepsy)

          ที่เกิดจากการขาดสารสื่อประสาท ทำให้เวลาหลับไปแย่งเวลาตื่น

          จะมีอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน ถ้าได้งีบจะรู้สึกสดชื่นขึ้น

          แต่ไม่นานก็มักจะมีอาการง่วงอีก

          นพ.จักรินสาธิตการทำงานของเครื่องตรวจการนอนหลับ

          หรือ "โรคไฮเปอร์ซอมเนีย" (Idiopathic hypersomnia)

          ที่แม้จะนอนมากในเวลากลางคืน และหลับได้ลึกแล้วก็ยังรู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา

          ซึ่งอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำอย่างถูกต้อง

          นอนไม่หลับทำอย่างไรดี

          คุณหมอจักรินให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยที่รบกวนการนอน อาทิ

          1.เปิด

          ทีวี ห้องนอนที่ถูกสุขลักษณะไม่ควรมีทีวี

          เพราะนอกจากเป็นการรบกวนเวลาของการพักผ่อนแล้ว ทีวียังมี "แสงสีฟ้า"

          ซึ่งมีผลยับยั้งการหลั่งของสารสื่อประสาทที่เรียกว่า "เมลาโทนิน"

          ในห้องนอนจึงไม่ควรมีทีวี นอกจากนี้ถ้าจะให้หลับสบายขึ้น

          ไฟที่ใช้ควรเป็นแสงสีเหลืองอมส้ม

          และตั้งข้อสังเกตว่า

          แสงเช้าจะช่วยให้คนนอนเร็ว ส่วนแสงเย็นจะทำให้นอนดึก ยกตัวอย่าง

          คนที่รับแสงแดดตอนเช้ามากกว่า จะนอนเร็วกว่าคนที่รับแดดตอนเย็นมากกว่า

          2.ห้องนอนควรจะมืด เงียบ มีอุณหภูมิที่เหมาะสม

          3.ถ้า 20-30 นาทีแล้วยังนอนไม่หลับ ให้ลุกขึ้นเปลี่ยนที่ พอเริ่มง่วงแล้วให้กลับมานอนตามเดิม

          4.การดื่มกาแฟ จะให้ดีไม่ควรดื่มในปริมาณมากเกินไป และหลังเที่ยงแล้วไม่ควรดื่ม

          5.หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ โดยเฉพาะใกล้เวลาเข้านอน

          6.สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายตอนเย็น ควรทิ้งช่วงเวลาก่อนนอนราว 3-5 ชั่วโมง

          7.โดยปกติผู้ที่ง่วงนอนถ้าได้ "งีบ" สักครึ่งชั่วโมง จะทำให้ร่างกายสดชื่นขึ้น แต่ไม่ควรงีบนอนใกล้เวลาเข้านอน

          "นอนกรน"ใครว่าเรื่องเล็ก

          นอกจากอาการง่วงนอน นอนไม่หลับ ...

          ปัจจุบัน

          มีผู้ป่วยจำนวนมากที่เข้ารับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลแล้วพบว่ามีปัญหาความ

          ผิดปกติในการนอนด้วย

          ซึ่งอาการของการนอนหลับผิดปกติเหล่านี้พบมากขึ้นเรื่อยๆ

          และกำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง

          เพราะถือเป็นภัยเงียบที่เป็นต้นเหตุสำคัญต่อการเกิดโรคต่างๆ ตามมา

          พญ.ศรินพร มานิตศิริกุล

          "ส่วน

          ใหญ่คนไข้ที่มาพบแพทย์จะมาพบด้วยปัญหาของการนอนไม่หลับ

          ซึ่งเมื่อรับการตรวจโดยเครื่อง Sleep Lab หลายคนพบว่านอนกรน"

          คุณหมอจักรินแจง

          ถูกต้อง "นอนกรน" ที่อาจมองกันว่าไม่ใช่ปัญหา อย่างมากแค่ทำให้คนนอนข้างๆ รำคาญ แต่ทว่า...

          "หาก

          สังเกตอย่างใกล้ชิดจะพบว่าผู้ที่กรนจะหยุดกรนไปชั่วขณะหนึ่ง

          ช่วงนั้นเองที่มีการหยุดหายใจเกิดขึ้น

          และเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดลดลงถึงระดับหนึ่งจากการหยุดหายใจ

          ร่างกายจะมีกลไกตอบสนองภาวะนี้

          โดยจะทำให้การหลับของคนที่กรนและหยุดหายใจนั้นถูกขัดขวาง ทำให้ตื่นขึ้น

          โดยจะมีอาการเหมือนสะดุ้งเฮือก หรืออาการเหมือนสำลักน้ำลายตนเอง

          แล้วก็กลับมาเริ่มหยุดหายใจใหม่"

          ถ้าไม่รักษาภาวะดังกล่าวอาจมีอาการ

          ง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน ทำให้เรียนหรือทำงานได้ไม่เต็มที่

          ง่วงนอนในขณะขับรถจนก่อให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้

          และยังอาจส่งผลต่อคนรอบข้าง

          ใครที่เสี่ยงต่อการนอนกรน

          อาการ

          กรน และหยุดหายใจในขณะหลับพบได้บ่อยในคนอ้วน พบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง

          โดยพบบ่อยในผู้ชาย ยิ่งมีอายุมากขึ้นยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ

          ดังกล่าว

          วิธี

          การแก้ไขในเบื้องต้นคือ ลดน้ำหนัก เวลานอนให้นอนตะแคง แต่ถ้ายังนอนกรนอยู่

          ควรปรึกษาแพทย์ เข้ารับการตรวจโดยเครื่อง Sleep Lab เพื่อหาสาเหตุ

          หากพบว่ามีอัตราการหยุดหายใจมากระดับหนึ่งอาจมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องซี

          แพ็พ CPAP (continuous positive airway pressure)

          ซึ่งเป็นเครื่องเป่าลมในทางเดินหายใจส่วนบน เพื่อเปิดทางเดินหายใจ

          ช่วยลดอาการหยุดหายใจในขณะหลับ และอาการกรน

          หรือถ้าเป็นมากอาจแก้ไขได้โดยการผ่าตัด

          ความจำไม่ดีเพราะนอนน้อย

          เคยตั้งคำถามมั้ยว่า ชั่วอายุคนเราที่แสนยาวนาน บางคนอายุยืนเป็นร้อยปี ทำไมสามารถจดจำเรื่องราวต่างๆ ได้มากมายขนาดนั้น

          ประเด็นนี้ พญ.ศรินพร มานิตศิริกุล อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ บอกว่า ส่วนหนึ่งขึ้นกับภาวะของการนอน

          สาเหตุ

          ที่การนอนส่งผลต่อความทรงจำ เป็นเพราะ

          การนอนเป็นการจดบันทึกข้อมูลที่ได้ในช่วงก่อนที่จะหลับ

          แล้วย้ายข้อมูลจากฐานข้อมูลความจำชั่วคราวไปยังความจำระยะยาว

          ซึ่งเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบและเป็นแบบแผน

          มีการจัดการทั้งความจำที่รู้ตัวและความจำที่ไม่รู้ตัว

          ตอนที่เราตื่นจะมีสัญญาณประสาทเพิ่มมากขึ้น

          "การหลับที่ดีจะลดการ

          ตื่นตัวของสัญญาณประสาท อีกทั้งการนอนยังเป็นการปรับสมดุลของอารมณ์

          การอดนอนทำให้สมองส่วน amygdala ที่ควบคุมด้านอารมณ์ทำงานมากเกินไป

          ทำให้การควบคุมอารมณ์ผิดปกติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความจำอีกด้วย

          เมื่อนอนพักผ่อนไม่เพียงพอ

          ทำให้กระบวนการเรียนรู้การจัดเก็บความจำจะไม่มีประสิทธิภาพ เกิดภาวะ

          overload ไม่สามารถเรียนรู้ความจำใหม่ๆ ได้

          การสื่อประสาทของสมองส่วนหน้าทำงานได้ไม่ดี

          ส่งผลให้ความใส่ใจในการดำเนินชีวิตประจำวันลดลง เช่น มีปัญหาในการขับรถ,

          การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีปัญหาการจัดการของอารมณ์ซึ่งส่งผลต่อภาวะความจำ"

          ประสิทธิภาพความจำของแต่ละคนยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย เช่น

          คนที่เป็นโรคไต โรคตับ ติดเชื้อในสมอง มีเนื้องอกในสมอง

          หรือแม้แต่การกินมังสวิรัติมากกว่า 3 ปี ทำให้ขาดวิตามินบี 12

          (ถ้ารู้เร็วกินวิตามินเสริมจะช่วยได้) ภาวะไทรอยด์ผิดปกติ

          นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น อายุมากขึ้น ซึ่งโดยสถิติแล้วผู้หญิงจะลืมง่ายกว่าผู้ชาย

          คน

          ที่ครอบครัวมีประวัติเป็นอัลไซเมอร์ คนที่เคยประสบอุบัติเหตุหัวฟาดพื้น

          คนในวัยเกษียณแล้วไม่ได้ทำงานก็จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนที่เกษียณแล้วแต่ยัง

          ทำงานอยู่ คนที่เป็นพาร์กินสัน

          รวมทั้งใช้ยาที่มี Anticholinergic Effect คือมีฤทธิ์ยับยั้งสารสื่อประสาท เช่น ซาแน็กซ์ แวเลี่ยม คลาริติน เป็นต้น

          ซึ่งถ้านอนไม่หลับควรปรึกษาแพทย์หาสาเหตุ เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที ดีกว่าพึ่งยานอนหลับ...คุณหมอศรินพรย้ำ

          เพราะยาทุกชนิดย่อมมีผลข้างเคียงด้วยกันทั้งสิ้น

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : http://www.prachachat.net วันที่ 15 พฤษภาคม 2558