เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการเกร็ดน่ารู้ » รายละเอียดเกร็ดน่ารู้

เกร็ดน่ารู้ เรื่อง "นักศึกษา-อาจารย์" หนุนการใช้เทคโนโลยีโมบายในห้องเรียน



tmp_20153003140313_1.jpeg


                   มร.เวย์น เวส ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจด้านการศึกษาของ อะโดบีซิสเต็มส์ ประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เปิดเผยว่า ได้ทำการศึกษา “เรื่องการปฏิรูปการศึกษาด้วยเทคโนโลยีโมบายล์และดิจิตอล” (TransformingEducation with Mobile and Digital Technology’) ระหว่างการประชุมผู้นำด้านการศึกษาของอะโดบี (AdobeEducation Leadership Forum) ครั้งที่ 10 ซึ่งจัดขึ้นที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยนักการศึกษากว่า1,000 คน จาก 13 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกได้ตอบแบบสอบถาม สำหรับการศึกษาวิจัยดังกล่าว มีจุดมุ่งหมายเพื่อวัดสถานะ “การปรับใช้เทคโนโลยีโมบายในห้องเรียน” รวมถึง “ความสำคัญของโมบิลิตี้และเครื่องมือดิจิตอลในแวดวงการศึกษา”

                   โดยผลการศึกษา ระบุว่า แทนที่จะลังเลในการยอมรับการปรับใช้อุปกรณ์พกพาในห้องเรียนนักการศึกษากลับเชื่อมั่นว่าการใช้อุปกรณ์พกพาอย่างแพร่หลายก่อให้เกิดผลดีและมีอิทธิพลต่อรูปแบบการเรียนการสอน ขณะที่นักการศึกษากลุ่มผู้อนุรักษ์นิยมเห็นว่าอุปกรณ์พกพาในห้องเรียนจะบั่นทอนสมาธิของผู้เรียนแต่ 77% ของนักการศึกษาจากเอเชีย-แปซิฟิกและ 85% ของนักการศึกษาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อว่าการใช้อุปกรณ์พกพาในการเรียนการสอนจะก่อให้เกิดผลดีโดยรวม

                   การสนับสนุนระบบโมบิลิตี้ดังกล่าว มีเหตุผลที่เรียบง่ายกล่าวคือ 83% นักการศึกษาจากเอเชีย-แปซิฟิกและ 98 %ของนักการศึกษาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รู้สึกว่าการเข้าใช้เครื่องมือดิจิตอลและแอพพลิเคชั่นต่างๆบนอุปกรณ์พกพาจะช่วยให้เข้าใจแนวคิดและข้อมูลต่างๆได้ดีขึ้น และสามารถปรับปรุงแนวคิดและข้อมูลดังกล่าวก่อนที่จะรวมไว้ในบทเรียนที่จะใช้สอนนักเรียน อย่างไรก็ตาม นักการศึกษา 89% จากเอเชีย-แปซิฟิกและ 100% จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รู้สึกว่าสถาบันการศึกษาจำเป็นที่จะต้องดำเนินการบางอย่างเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงอุปกรณ์พกพาได้

                   นอกจากนี้ผลการศึกษาดังกล่าว ยังเน้นย้ำถึงอุปสรรคที่ขัดขวางการปรับใช้เทคโนโลยีโมบายล์ในสถาบันการศึกษาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกนักการศึกษารู้สึกว่าการจัดสรรงบประมาณ(39%) และปัญหาในการบูรณาการระบบโมบิลิตี้เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่(27%) เป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางการปรับใช้เทคโนโลยีโมบายในสถาบันการศึกษา

                   “ความสามารถในการแสดงผลหรือผสานประสบการณ์การเรียนรู้แบบอินเทอร์แอคทีฟในห้องเรียนผ่านทางอุปกรณ์พกพาจะช่วยสร้างความแตกต่างอย่างมากในผลของการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเด็กรุ่นใหม่ผลการศึกษาของเราชี้ว่าปัญหาท้าทายที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันก็คือการขาดการสนับสนุนการปรับใช้เทคโนโลยีโมบายล์อให้กว้างขวางมากขึ้นนักการศึกษาและสถาบันการศึกษาจำเป็นที่จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงโดยจะต้องเสริมสร้างศักยภาพให้แก่นักเรียนในการใช้งานดิจิตอลคอนเทนต์อย่างเหมาะสม รวมถึงการสร้างสรรค์คอนเทนต์ดิจิตอลด้วยเช่นกัน” มร.เวย์นกล่าว


ขอบคุณข้อมูลและภาพข่าวจาก : เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  วันที่ 30 มีนาคม 2558