เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
กรมวิทย์ฯ พัฒนาสมุนไพรไทย ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนและสปาในแหล่งท่องเที่ยว

          กระทรวงสาธารณสุขสนองนโยบายรัฐบาลในการสร้างรายได้และลดความเหลื่อมล้าให้กับชุมชนท้องถิ่น โดยมอบให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยที่มีการใช้ในสปาและผลิตภัณฑ์สมุนไพร OTOP ในแหล่งท่องเที่ยว ให้มีคุณภาพทั้งวัตถุดิบและตัวผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในชุมชนมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท

          นายแพทย์อภิชัย  มงคล  อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะสร้างรายได้และลดความเหลื่อมลาให้กับชุมชนท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยที่มีมูลค่าการตลาดรวม 48,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโตร้อยละ 20-15 ต่อปี และยังมีความสาคัญในการสร้างความโดดเด่นและ อัตลักษณ์ที่ชัดเจนของ สปาไทย  ซึ่งเป็นที่นิยมของชาวต่างชาตินับเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของไทย ประกอบกับในปี 2558 นี้ประเทศไทยต้องเข้าสู่ประชาคม ASEAN จึงมีความจาเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการสร้างศักยภาพให้ทัดเทียมประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สินค้าที่เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์ OTOP ที่ผลิตจากสมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้นอกเหนือจากสินค้าที่เป็นพืชผลผลิตทางการเกษตร ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้มอบหมายให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในการศึกษาวิจัยและกาหนดคุณภาพมาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพร และการตรวจรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร โดยให้นาองค์ความรู้และเทคโนโลยีของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มาส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ในสปา เพื่อยกระดับศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีคุณภาพ ส่งผลให้เศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้นอย่างยั่งยืน

          กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงได้ร่วมมือกับ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข  กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดทาโครงการผลิตภัณฑ์สมุนไพรในสปาชุมชนและOTOP ขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีคุณภาพในสปาที่อยู่ ในแหล่งท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมายภายในปี 2559 ชุมชนจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการผลิตสมุนไพรที่มีคุณภาพไม่น้อยกว่า 400 ชุมชน และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ใช้ในสปาชุมชน เช่น ลูกประคบสมุนไพร นามันนวดจากสมุนไพร เครื่องสาอางจากสมุนไพร ให้มีคุณภาพมาตรฐานและความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 200 ผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท

          สาหรับโครงการผลิตภัณฑ์สมุนไพรในสปาชุมชนและ OTOP กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะเข้าไปส่งเสริมอย่างครบวงจรตั้งแต่การปลูกจนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ โดยจะสนับสนุนกล้าพันธุ์ 80,000 ต้น ที่ผลิตจากสวนสมุนไพรของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตลอดระยะเวลาของการดาเนินการ รวมถึงการเก็บเกี่ยวโดยกาหนดคุณภาพและมาตรฐานวัตถุดิบสมุนไพรไทย เมื่อได้วัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพแล้วกระบวนการต่อไปคือการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในขั้นตอนนี้จะต้องมีการควบคุมคุณภาพการผลิตเพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย ปราศจากเชื้อจุลินทรีย์ และยังคงคุณภาพของวัตถุดิบสมุนไพร รวมถึงการเก็บรักษาและการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากสมุนไพรที่มีคุณภาพ เพื่อใช้ในสปา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เครื่องสาอาง เครื่องดื่มสมุนไพร ลูกประคบสมุนไพร นามันนวด โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะมีการตรวจรับรองคุณภาพ หากผ่านเกณฑ์ที่กาหนดจะได้รับเครื่องหมายรับรอง "คุณภาพสมุนไพรไทย" จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ทั้งนี้ชนิดของสมุนไพรเป้าหมายที่ดาเนินในโครงการนี้มีทั้งหมด 10 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นชัน ไพล บัวบก มะกรูด มะขาม มังคุด หม่อน อัญชัน ชาเขียว แตงกวา และผลิตภัณฑ์สมุนไพร OTOP โดยสมุนไพรเป้าหมายเหล่านี้เป็นสมุนไพรที่มีการใช้สูงในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เรา จะพบเห็นการใช้ในสปา และผลิตภัณฑ์ OTOP

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน  วันที่ 10 ก.ค. 58  หน้า 3