เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
เข้าใจธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ก่อนก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0

          เรื่อง ปิยนุช ผิวเหลือง
          (มหาชน) หรือ สพธอ. จัดเสวนานักงานพัฒนาสำ


          ธุรกรรมทางอิเล็ก ทรอนิกส์ (องค์การ การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่องค์กรควรรู้ก่อนก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0 ภายในงาน DocuWorld 2017 จัดโดย บริษัท ฟูจิ ซีร็อกซ์ (ประเทศไทย) ซึ่งจากข้อมูลของ สพธอ. ระบุว่า ภายในปี 2563 คาดว่ามูลค่าตลาดอี-คอมเมิร์ซในภูมิภาคอาเซียนจะเติบโตเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของโลก จึงต้องการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

          พลอย เจริญสม ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สพธอ. กล่าวในการเสวนา ว่า สพธอ.เป็นหน่วยงานหลักที่สนับสนุนส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไทยได้เตรียมความพร้อมของกฎหมายดิจิทัลตั้งแต่ปี 2541 จนกระทั่งในปี 2544 ได้เกิด พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ที่ได้รวม 3 กฎหมาย คือ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ปรับปรุงขึ้นเพื่อให้สอดรับกับยุคดิจิทัล และการทำธุรกรรมทางดิจิทัลที่ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

          ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ประกอบการควรรู้เบื้องต้น โดยหลักการสำคัญของกฎหมายจะประกอบไปด้วย หลักความเท่าเทียมกัน หลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี และหลักเสรีภาพในการแสดงเจตนา อีกทั้งกฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามมาตรา 7 กล่าวคือรองรับให้ธุรกรรม

          กระดาษตามที่กฎหมายกำหนด ทำในรูปแบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ แต่ทั้งนี้ พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้ยกเว้นการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 2 กรณี คือ ธุรกรรมที่เกี่ยวกับครอบครัว เช่น การจดทะเบียนสมรสและธุรกรรมเกี่ยวกับมรดก

          สำหรับเอกสารที่ใช้ทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขสามารถอ่านเอกสารได้ นำไปใช้งานได้ เอกสารเรียกกลับมาใช้งานใหม่ได้ และเนื้อความต้องไม่เปลี่ยนแปลง ขณะที่การลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องเป็นไปตามมาตราที่ 9 คือเป็นการระบุตัวตน คนลงลายมือชื่อยอมรับข้อความในเอกสาร และใช้วิธีการลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ ในมาตรา 9 ยังระบุอีกว่าการส่งอีเมล การทำธุรกรรมโดยใช้ชื่อบัญชี และรหัสผ่านถือเป็นการลงลายมือชื่อ จัดอยู่ในประเภทการลงรายมือชื่อแบบทั่วไป ขณะที่มาตรา 26 จะกล่าว ถึงการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ด้วยเทคโนโลยีพีเคไอ (Public Key Infrastructure:PKI) ได้เช่นกัน

          พรรณธิภา จันทร์ดาประดิษฐ์ นักวิเคราะห์ระบบ สพธอ. กล่าวเสริมว่า การทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เอกสารต้องสามารถดึงกลับมาใช้งานใหม่ได้ มีระยะเวลาการเก็บยาวนาน และเอกสารไม่เปลี่ยนแปลง ดังนั้นการจัดเก็บในรูปแบบไฟล์พีดีเอฟจึงมีความเหมาะสม แต่ทั้งนี้ไฟล์พีดีเอฟมีประเภทปลีกย่อยที่รายละเอียดจะแตกต่างกัน ซึ่งยุคแรกๆ พีดีเอฟ จะเป็นการจัดเก็บไฟล์แบบธรรมดาด้วยการกดบันทึก มีคุณสมบัติทำให้ รูปแบบเอกสารไม่เปลี่ยนแปลงและไม่ สามารถแก้ไขข้อมูล หรือคัดลอกข้อมูลนำไปใช้ได้

          ยุคที่ 2 ไฟล์พีดีเอฟสามารถแก้ไขได้ เช่น การลงลายมือชื่อในเอกสารพีดีเอฟ แต่จะมีการแสดงผลเมื่อมีการแก้ไข ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน และยุคที่ 3 เป็นยุคที่รวมทั้งสองเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งนิยมจัดเก็บในรูปแบบนี้มากที่สุด ซึ่งแนะนำผู้ประกอบการที่ต้องการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ควรให้ทุกกระบวนการอยู่ในระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อความต่อเนื่องและการจัดเก็บเอกสารที่ง่ายขึ้น ซึ่งหากยังมีบางขั้นตอนยังเป็นเอกสารกระดาษสลับกับอิเล็กทรอนิกส์จะสร้างความยุ่งยากในการจัดเก็บเอกสารมากกว่า

          สุชญา อนันต์วัฒนาพร วิศวกรซอฟต์แวร์ สพธอ. เล่าว่า ปัจจุบัน สพธอ.และกรมสรรพากรได้พัฒนาระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า e-Tax Invoice by EMAIL เป็นระบบยื่นภาษีสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ต่ำกว่า 30 ล้านบาท โดยการส่งมอบและเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอีเมล โดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ผ่านระบบกลางของ สพธอ. นอกเหนือจากนี้ สพธอ.และกรมสรรพากรอยู่ในช่วงพัฒนาระบบยื่นภาษีอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้มากกว่า 30 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งอยู่ในช่วงพัฒนาระบบให้มีความเสถียรภาพและปลอดภัย ซึ่งอาจต้องมีหุ้นส่วนเพิ่มขึ้นในการเข้ามาร่วมพัฒนาระบบให้สมบูรณ์ที่สุด

          การก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ความรู้เรื่องเทคโนโลยีมีความสำคัญไม่แพ้เรื่องกฎหมาย ที่ประชาชนทั่วไปรวมถึงผู้ประกอบการจะต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ เพื่อก้าวสู่ยุคดิจิทัลอย่างมีคุณภาพ


ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก  :  หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์  วันที่ 15 มิถุนายน 2560

 



เอกสารที่เกี่ยวข้อง