เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
ทำไม Startup ในไทย ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ

          ปัจจุบันหลายภาคส่วนพากันสนับสนุนให้ผู้ประกอบการทำธุรกิจ Startup เพื่อให้ สอดคล้องกับกระแสโลก แต่จากสถิติ ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.) กลับพบว่า ผู้ประกอบการชาวไทยที่ประสบความสำเร็จ มีจำนวนไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? ดร.ศศิรินทร์ สายะสนธิ หัวหน้าภาควิชาการสร้างเจ้าของธุรกิจ (หลักสูตรภาษาไทย) คณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ และการบริหารกิจการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารกิจการ จะมาไขความลับดังนี้

          1. ขาดความเข้าใจด้านการตลาดและลูกค้าอย่างแท้จริง

          Startup ต้องอาศัยองค์ประกอบด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่จึงมักมีความมั่นใจและใส่ใจ ในเรื่องดังกล่าวเกินไป กระทั่งละเลย หรือลืมมองรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างรอบด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า ส่งผลให้ เกิดความผิดพลาดขึ้น  แต่เมื่อผ่านประสบการณ์ความล้มเหลวมาแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจเหล่านี้จะเห็นโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้นในการทำธุรกิจครั้งต่อไป โดยนำประสบการณ์ที่ผิดพลาดมาปรับปรุงธุรกิจครั้งใหม่นั่นเอง

          2. เป็นคนดีของสังคมโลกเกินไป ทุกหน่วยงานสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจ Startup คิดค้นนวัตกรรม ห้าม เหมือนใคร ทำให้พวกเขาไม่กล้าจะลอกเลียน รูปแบบธุรกิจที่มีอยู่ก่อนแล้ว ทั้งๆ ที่ในความ เป็นจริงสามารถดูตัวอย่างธุรกิจที่มีอยู่แล้ว และนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ เช่น Alibaba ที่มีความคล้ายคลึงกับ eBay หรือ Grab Taxi ที่พัฒนารูปแบบมาจาก Uber

          3. นโยบายรัฐที่ผิดพลาด รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนเป็น Startup โดยอิงกระแสโลกและ ยกตัวอย่างความสำเร็จของธุรกิจเพียง ไม่กี่ราย ทั้งๆ ที่อัตราการประสบความสำเร็จนั้นยากยิ่งกว่าถูกลอตเตอรี่ นั่นแสดงให้ เห็นว่านโยบายอาจไม่เหมาะสมกับบริบทของไทยหรือขาดการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่า

          จริงๆ แล้วประเทศไทยควรสร้าง ผู้ประกอบการลักษณะใดกันแน่ หนึ่งใน ตัวอย่างนโยบายที่ผิดพลาดคือ การทุ่มเงิน หลายพันล้านเพื่อสร้างผู้ประกอบธุรกิจ Startup ผ่านมหาวิทยาลัยบางแห่ง

          โดยที่คณาจารย์ส่วนใหญ่ ไม่เคยสร้างธุรกิจมาก่อน      นอกจากนี้รัฐบาล ยังสนับสนุนให้สร้างและเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการ แต่กลับไม่คำนึงถึง การสร้างคนซื้อไปพร้อมๆ กัน ทำให้มี คนขายมากกว่าคนซื้อ รัฐบาลจึงควรสนับสนุน ให้มีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากภายในและต่างประเทศ

          4. ขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากลูกค้า

          ผู้ประกอบธุรกิจ Startup ที่ล้มหายไป ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง โดยในระยะแรกอาจจำหน่ายสินค้าหรือบริการได้เพราะความแปลกใหม่ ทว่าเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะก็เริ่ม ขายไม่ออก ลูกค้าไม่ซื้อซ้ำ หรือไม่สามารถสร้างลูกค้ารายใหม่ๆ ได้ เมื่อประสบปัญหาด้านเงินทุนหมุนเวียนก็จำเป็นต้องเลิกกิจการไป

          5. ใช้เงินสูงเกินไปในการเริ่มต้นธุรกิจ  ผู้ประกอบธุรกิจมักลงทุนตามอารมณ์หรือวาดฝันอย่างสวยหรูมากเกินไปเพราะ คิดว่าเงินเหล่านั้นคือการลงทุน สักพักก็จะได้กำไรคืนกลับมา โดยลืมไปว่าการใช้เงินมากเกิน ในการเริ่มต้นธุรกิจหมายถึงต้นทุนที่สูงมากขึ้น โอกาสในการได้ทุนคืนก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

          6. Startup มีวงจรชีวิตที่ค่อนข้างสั้นStartup เป็นธุรกิจที่อิงกับการใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่เป็นอย่างมาก ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ มักมาไวและไปไว อันส่งผลกระทบต่อ การเปลี่ยนแปลงของความนิยมอย่างรวดเร็ว เช่น เกม Pokemon GO การปรับตัวที่รวดเร็วให้ทันกระแสสังคมจึงเป็นเรื่อง ท้าทายความสามารถของผู้ประกอบธุรกิจ Startup เป็นอย่างยิ่ง

          7. พฤติกรรมการบริโภคของคนไทยยังไม่สอดคล้องกับธุรกิจ Startup

          ข้อนี้ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะ ลูกค้าจะเข้าถึงสินค้าและบริการของธุรกิจ Startup ได้นั้นต้องอาศัยเทคโนโลยี ทำให้ กลุ่มลูกค้าแคบลง จริงอยู่ว่าการใช้เทคโนโลยี ต่างๆ ในประเทศไทยแพร่หลายขึ้นมาก แต่ก็ยังถือว่าเป็นการใช้งานเฉพาะกลุ่ม อยู่ดี พฤติกรรมดังกล่าวจึงยังไม่ค่อยเอื้อ กับธุรกิจ Startup เท่าที่ควรถ้าเทียบกับ ประเทศอื่นๆ

          แม้การทำธุรกิจ Startup ในเมืองไทยอาจไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างไรก็ตามถ้าได้ศึกษาและผ่านกระบวนการบ่มเพาะการสร้าง เจ้าของธุรกิจอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับบริบทของประเทศโดยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์จริงในการทำธุรกิจ โอกาสในการประสบความสำเร็จก็ยังพอ มองเห็นว่าอยู่ไม่ไกลเกินคว้า


ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก  :  หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 14 มิถุนายน 2560

 



เอกสารที่เกี่ยวข้อง