เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
4 มุมมองการทำงาน องค์กรธุรกิจ & สตาร์ทอัพ

          วันเพ็ญ แก้วสกุล

          ช่วง 8 เดือนที่เหลือคาดว่ายังมีบริษัทขนาดใหญ่เตรียมเปิดตัว CVC  เพิ่มเติม ข้อมูลที่ เทคซอส มีเดีย รวบรวมมาพบว่า ปัจจุบันทั้งกองทุนและ CVC ในไทยระดมทุนไปแล้วไม่ต่ำกว่า 261.128 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยอยู่ที่ 9050.7 ล้านบาท (ปี 2012-2017 ) ส่วนยอดระดมทุนในช่วงปลายปี 2016 ของสตาร์ทอัพไทยนั้นมีไม่ต่ำกว่า 86.02 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยที่ 2,981.45 ล้านบาท

          "ปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ คือองค์กรขนาดใหญ่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในภาคธุรกิจนั้นๆ มีเงินทุน และฐานลูกค้าขนาดใหญ่  ในขณะที่สตาร์ทอัพมีความคล่องตัวในการมุ่งเน้นค้นหาโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหาในภาคอุตสาหกรรมนั้นๆ แต่อาจขาดเงินทุนสนับสนุนเพื่อให้เติบโต  การจุดเด่นของทั้ง 2 ฝ่ายเข้ามาจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้อีกมาก"อรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด ผู้พัฒนาเว็บไซต์สื่อธุรกิจด้านเทคโนโลยี Techsauce.co

          เปิดมุมมอง 4 องค์กรธุรกิจ "ดีแทคเอสซีจี-อนันดา-ดิจิทัล เวนเจอร์ส" กับการทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพในไทย "ดีแทคมีโอกาสลงทุนในสตาร์ทอัพหลากหลาย ถึงวันนั้นลงไปแล้วกว่า 30 บริษัท ลองคิดดูว่า หากเอาคนเหล่านี้มา Engage เข้ากับคนในองค์กรเกิดแรงบันดาลใจ และอยากลองลุกขึ้นมาทำบ้าง

          สิ่งที่อยากจะให้เกิดคือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ take risk มีการลองผิดลองถูก ซึ่งจะเป็นเลิร์นนิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับองค์กร" เฉลิมยุทธ บุญมา ผู้อำนวยการโปรแกรม ดีแทค แอคเซอเลอเรท กล่าว

          เฉลิมยุทธ ถ่ายทอดประสบการณ์ตรงที่เคยเป็นสตาร์ทอัพ ทำให้เห็นมุมมองว่า บริษัทขนาดใหญ่จะช่วยสตาร์ทอัพในเรื่องใดได้บ้าง

          สิ่งที่ สตาร์ทอัพ ต้องการหลักๆ มีอยู่ 2 เรื่องคือ Growth และ Survive ซึ่งองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่จะเข้ามาตอบโจทย์ในเรื่องนี้ได้

          ด้าน เอสซีจี มองถึงความท้าทายใน 2 เรื่องหลัก นั่นคือ Outside In และ Speed  "Outside In "การฟังเสียงของลูกค้าว่ามีปัญหาในเรื่องใดแล้วเข้าไปตอบโจทย์ในสิ่งนั้น จาชชัวร์ แพส Managing Directo-Addventures, Corporate Venture Capital of SCGยกตัวอย่างในเรื่องของสังคมผู้สูงอายุ เทรนด์ที่กำลังจะมา ทำให้การทำงานโฟกัสทางด้านเฮลท์แคร์มากขึ้น รวมถึงการทำงานของเอสซีจีเอ็กซ์เพรส จะมาตอบรับกับเทรนด์ของอีคอมเมิร์ซที่ขยายตัว "Speed " การทำงานทุกอย่างจากนี้ต้องเร็ว เพื่อให้ทันกับความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น

          "ในช่วง 1-2 ปีมานี้ เรามีการทำงานด้านดิจิทัลกันมาพอสมควร โดยเน้นการนำดิจิทัลเข้าพัฒนาประสิทธิภาพของงานให้มากขึ้น  รวมถึงการจัดตั้ง CVC ขึ้นมาเพื่อมองหาการร่วมงานกับสตาร์ทอัพโดยมองในรายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจที่มีอยู่ของเอสซีจีก่อนเป็นอันดับแรก" ด้าน จอห์น เลสลี่ มิลลาร์ ประธานเจ้าหน้าที่สายพัฒนากลยุทธ์ บริษัท อนันดาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)มองการทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพเป็นการเปิดโอกาสที่ได้ทำงานกับคนเก่งๆ ที่อยู่ภายนอกองค์กรเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานระหว่างกัน

          โลกเปลี่ยนไป ความท้าทายอยู่ที่การทำอย่างไรให้วัฒนธรรมในองค์กรหันมาให้ความสำคัญกับดิจิทัลมากขึ้น

          หนึ่งในแนวทางที่ผู้บริหารอนันดาทำอยู่ก็คือ การนำเอาเรื่องดิจิทัลเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ KPI เพื่อกระตุ้นให้คนในองค์กรตื่นตัวและเกิดการเปลี่ยนแปลง ขณะที่ สุวิชชา สุดใจ กรรมการผู้จัดการ ผลิตภัณฑ์ดิจิทัล บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัดกล่าวว่า สิ่งที่องค์กรทำก็คือพยายามปรับตัวเองโดยทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มฟินเทค เพลย์เม้นท์ เป็นต้น เพื่อส่งมอบบริการและประสบการณ์ดีๆ ให้กับลูกค้า

          'ความรู้&เน็ตเวิร์ค'

          "สิ่งที่เป็นความเก่งของประเทศไทยก็คือ ความเชี่ยวชาญด้านการผลิต การเป็นฐานการผลิตสำคัญของหลายภาคธุรกิจ  แต่ยังขาดการเพิ่มคุณค่า (Value-Added) โดยการนำเอาเทคโนโลยีและดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสินค้าที่ตอบโจทย์ตลาด" อรนุช เลิศสุวรรณกิจ กล่าวTechsauce Global Summit 2017 จะเป็นอีกงานสัมมนาด้านเทคโนโลยีที่ให้ความรู้และสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

          ภายในงานจะมีซีอีโอ นักลงทุน และวิทยากรด้านเทคโนโลยีจากทั่วโลกรวมกว่า 250 คน มาร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ ประสบการณ์ วิธีคิด อาทิ Dave McClure จาก 500 Startups, Vitaly M. Golomb จาก HP Tech Ventures, Mike Peng จาก IDEO Tokyo,Roy Teo Roy Teo ผู้เชี่ยวชาญด้าน FinTech และ Innovation จากธนาคารกลางแห่งประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น  ขณะที่ อมฤต เจริญพันธ์ ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด กล่าวว่า การมอง Global Trend ว่าเกิดอะไรขึ้นและในภูมิภาคเอเชียนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้างในแต่ละภาคอุตสาหกรรม รวมถึงควรรับมืออย่างไรเป็นเนื้อหาที่จะเกิดขึ้นในงานซึ่งจะครอบคลุมเนื้อหาทั้งด้าน Digital Manufacturing,UrbanTech, FinTech, InsurTech, EnergyTech, EdTech, Automotive, FoodTech, BioTech, การทำธุรกิจสตาร์ทอัพ, การลงทุน และอื่นๆ  โดยงานจัดขึ้นในวันที่ 28-29 ก.ค. 2560 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์

          "วัฒนธรรมองค์กรที่เปิดให้มีการลองผิดลองถูกเป็นการสร้างการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างมาก".

          ไทยมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิต แต่ยังขาดการเพิ่มคุณค่าโดยการนำเอาเทคโนโลยีและดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างสินค้าที่ตอบโจทย์ตลาด


ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก  :  หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 11 พฤษภาคม 2560

 



เอกสารที่เกี่ยวข้อง