เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
เลือกลงทุนรับมือสภาวะผันผวน

          โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้แผน การปฏิรูปภาษีที่นาย Donald Trump ประธานาธิบดีสหรัฐฯ จะเสนอต่อรัฐสภา หลังจากนี้อาจไม่ได้รับความเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่ ซึ่งส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในอนาคตด้วยเช่นกัน

          สาเหตุเมื่อ AHCA ไม่ผ่านอาจกระทบกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ เนื่องจากการนำ AHCA มาใช้ เป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิรูปงบประมาณของประเทศสหรัฐฯ โดยสำนักงบประมาณประจำรัฐสภาของสหรัฐฯ (Congressional Budget Office) ประเมินว่า AHCA จะช่วยลดการขาดดุลงบประมาณลง 1.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2026 ซึ่งจำนวนเงินดังกล่าว สามารถนำมาสนับสนุน แผนการปฏิรูปภาษีได้  โดยมาตรการหลักที่ประธานาธิบดีจะดำเนินการคือ การลดภาษีนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาซึ่งสามารถทำให้ทั้งกำไรของบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นและราคาหุ้นเพิ่มขึ้น รวมไปถึงแนวโน้มการบริโภคของภาคเอกชนย่อมมีมากขึ้นเช่นกันจากการจ่ายภาษีลดลง และเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขับเคลื่อน ด้วยขนาดของการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก (68.7% ของ GDP สหรัฐฯ ปี 2016) จะได้รับประโยชน์มากจากการ      ลดภาษี แต่เมื่อ AHCA ไม่ผ่าน ย่อมหมายถึงงบประมาณที่จำเป็นต้องใช้ในแผนการปฏิรูปภาษีย่อมลดลง และกระตุ้นเศรษฐกิจได้น้อยกว่าคาดไปด้วย เมื่อนักลงทุนผิดหวังจากแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง หลังจากที่ก่อนหน้านี้แข็งค่าขึ้นมาจากความคาดหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการคลังของสหรัฐฯ อาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยให้เร็วขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงสภาวะฟองสบู่ในระบบเศรษฐกิจ จนทำให้ประเทศที่เคยได้รับประโยชน์จากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่า  อย่างเช่น ญี่ปุ่น ได้รับผลกระทบด้วย

          อย่างไรก็ตาม ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าจากความผิดหวังในแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจอาจเป็นเพียงระยะสั้น เนื่องจากประธานาดิบธีสหรัฐฯ ได้ประกาศชัดเจนว่าจะเริ่มดำเนินการร่างกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปภาษีทันที รวม ไปถึงนาง Janet Yellen ประธาน Fed ได้กล่าวไว้ในวันที่ 15 มีนาคม ว่าการ ตัดสินใจขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ยังไม่ได้ คำนึงถึงนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากในปัจจุบันยังมีความไม่แน่นอน จึงให้ความสำคัญกับข้อมูลเศรษฐกิจโดยเฉพาะเงินเฟ้อกับการจ้างงานมากกว่า

          นอกเหนือจากฝั่งสหรัฐฯ แล้ว ญี่ปุ่นยังมีการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยนโยบายการเงินอยู่ ได้แก่ 1) วงเงินซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (QQE) ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี 2) เข้าซื้อ ETF และ J-Reits วงเงิน 6 ล้านล้านเยน และ 9 หมื่นล้านเยนต่อปีตามลำดับ 3) คงอัตราดอกเบี้ยเงินสำรองส่วนเกินที่ธนาคารพาณิชย์ฝากไว้กับธนาคารกลาง (Interest on Excess Reserve : IOER) ที่ -0.1%

          และ 4) คงเป้าหมายอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield) อายุ 10 ปี ที่ 0%  ซึ่งญี่ปุ่นยังจำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ ต่อไปเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นยัง ห่างไกลจากเป้าหมายที่ 2% ซึ่งปัจจุบันอัตรา เงินเฟ้อที่ไม่รวมราคาอาหารสด (Core CPI) ในญี่ปุ่นเพียง 0.2% เท่านั้น และด้วยการ กระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทำให้ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นได้รับประโยชน์เช่นกัน

          ในปัจจุบัน ถึงแม้ 1 ปีย้อนหลังที่ผ่านมา ตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นมาราว 16% แล้ว แต่ราคาหุ้นในตอนนี้ของญี่ปุ่นยังไม่สูง จนเกินไปที่จะลงทุน โดยเมื่อเทียบกับในอดีต 10 ปีย้อนหลัง ปัจจุบันซื้อขายที่ระดับค่าเฉลี่ย P/E Ratio ที่ 17 เท่า แต่ตลาดหุ้น พัฒนาแล้ว (Developed Market) เช่นเดียวกับญี่ปุ่น มักจะมี P/E ที่แพงกว่า ค่าเฉลี่ย 10 ปีย้อนหลัง (สหรัฐฯ แพงกว่าราว 20% และ ยุโรป แพงกว่าราว 25%)

          ยิ่งไปกว่านั้น แนวโน้มการเติบโตของกำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนญี่ปุ่นยังมีแนวโน้มเชิงบวก โดยเมื่อไตรมาส 3 ที่ผ่านมา (ต.ค.-ธ.ค. ตามปีงบประมาณของญี่ปุ่น) กำไรสุทธิเติบโตถึง 20% YoY และ นักวิเคราะห์เริ่มปรับประมาณการกำไรขึ้น ในไตรมาสต่อๆ ไปด้วย เพราะฉะนั้น การลงทุนในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ตลาดหุ้นญี่ปุ่นยังมีความน่าสนใจทั้งมูลค่าหุ้น  ในปัจจุบัน และอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิในอนาคต

          ในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวนเพื่อรับปัจจัยเชิงลบ การเลือกลงทุนในตลาดหุ้นที่แนวโน้มในอนาคตสดใส และราคาหุ้นยังไม่แพงจนเกินไปอย่างเช่นตลาดหุ้นญี่ปุ่น สามารถลดความเสี่ยงจากการลงทุนได้ ในช่วงตลาดผันผวน และเพิ่มโอกาสในการทำกำไรที่มากขึ้นในกรณีที่ปัจจัยเชิงลบในตลาดหุ้นคลี่คลาย

          หากท่านใดมีข้อข้องใจเกี่ยวกับการวางแผนการเงินของตนเอง สามารถส่งคำถามของท่านมาได้ที่ prtisco@tisco.co.th I บทความโดย ศิวกร ทองหล่อ AFPTTM Assistant Wealth Manager

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 17 เมษายน 2560



เอกสารที่เกี่ยวข้อง