เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ จ่ายดอกเบี้ยตามเงินเฟ้อ

          แต่ถ้าเราเปลี่ยนใจแทนที่จะเอาเงิน 100 บาทไปซื้อของ เราเอาเงิน 100 บาทไปลงทุนที่ให้ผลตอบแทน 5% พอครบปีได้เงินออกมา 105 บาท ก็หอบเงินไปซื้อของ ก็ยังได้แค่ของชิ้นเดิมที่ราคาเพิ่มเป็น 105 บาท เท่ากับว่าผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนก็เจ๊ากันไป เพราะผลตอบแทนที่แท้จริงเท่ากับ 0 บาท ไม่ใช่ 5 บาทอย่างที่เราเข้าใจ

          และอาจจะแย่ไปกว่านั้นถ้าเกิดเงิน 100 บาท ที่ได้ผลตอบแทน 5 บาท แต่พอนำไปซื้อของ ราคาของชิ้นนั้นดันเพิ่มขึ้นเป็น 107 บาท แบบนี้เรียกว่า "เงินเฟ้อจะทำให้ผลตอบแทนที่แท้จริงติดลบ" เพราะนอกจากจะเพิ่มขึ้นมาไม่เท่ากับราคาของที่แพงขึ้นแล้ว ยังต้องควักเนื้ออีก 2 บาท ถึงจะได้ของชิ้นนั้นมา

          เพราะฉะนั้นตัวเลขผลตอบแทนที่เราเห็นว่า "เป็นบวก" ในความเป็นจริงแล้วอาจจะ "เป็นลบ" ก็ได้ ถ้าตัวเลขที่บวกยังต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ

          เงินเฟ้อจึงเป็น "ศัตรูตัวสำคัญ" สำหรับเงินออม และถ้าต้องการจะเอาชนะเงินเฟ้อก็ต้องใช้อาวุธหนักอย่างเช่น ลงทุนในหุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ ที่มักจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินเฟ้อ แต่ก็ต้องทำใจไว้ด้วยว่าอาวุธหนักพวกนี้ก็อาจจะทำให้ขาดทุนก็ได้

          ดังนั้น คนในวัยเกษียณที่ส่วนใหญ่จะลงทุนใน "สินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงน้อย" มีโอกาสขาดทุนไม่มาก จึงต้องก้มหน้ารับความพ่ายแพ้ที่จะเกิดขึ้นจากการออมเงิน หรือลงทุนในตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ

          แต่ก็ยังไม่หมดหวัง เพราะยังมีตราสารหนี้ประเภทหนึ่งที่จะให้ผลตอบแทน หรือดอกเบี้ยอ้างอิงไปกับอัตราเงินเฟ้อ "พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ" โดยมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษอยู่ 2 ชื่อ คือ  Inflation Linked Bond (ILB) และ Treasury Inflation Protected Securities (TIPS)

          กองทุนเปิดกรุงไทยอ้างอิงเงินเฟ้อ (KTILF) ซึ่งเป็นกองทุนที่มีนโยบายชัดเจนว่าจะลงทุนในพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อที่ออกโดยรัฐบาลไทย หรือตราสารหนี้หรือหน่วยลงทุนที่มีผลตอบแทนแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อทั้งในและต่างประเทศ ให้คำอธิบายไว้ว่า

          พันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ หรือพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (ILB) เป็นพันธบัตรที่ออกโดยกระทรวงการคลัง ซึ่งการจ่ายกระแสเงินสดแก่ผู้ถือพันธบัตรจะเชื่อมโยงกับอัตราการเปลี่ยนแปลงสะสมของดัชนีราคาสินค้าอ้างอิงทั่วไป (อัตราเงินเฟ้อทั่วไป - Headline Inflation) นับตั้งแต่วันที่ออกตราสารจนถึงวันจ่าย

          กระแสเงินสด กล่าวคือ มูลค่าหน้าตั๋วของ ILB (Initial Par) จะถูกกำหนดไว้ที่ 1,000 บาท/หน่วย และกำหนดจ่ายอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Coupon Rate) เป็นอัตราคงที่ต่อปี

          โดยจ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ทั้งนี้ในการคำนวณอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายจริง มูลค่าหน้าตั๋วของ ILB จะต้องถูกปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อสะสมนับตั้งแต่วันที่ออกตราสารจนถึงวันจ่ายดอกเบี้ยเพื่อเป็นฐานการคำนวณดอกเบี้ย ดังนี้

          ดอกเบี้ยจ่ายแต่ละงวด = (มูลค่าหน้าตั๋ว x อัตราเงินเฟ้อสะสม) x อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงx6/12 โดยอัตราเงินเฟ้อสะสม = ดัชนีราคาสินค้าทั่วไปที่ใช้อ้างอิง ณ วันจ่ายดอกเบี้ย/ดัชนีราคาสินค้าทั่วไปที่ใช้อ้างอิง ณ วันออกตราสาร

          สำหรับในวันครบกำหนดไถ่ถอนพันธบัตร ผู้ถือพันธบัตรจะได้รับชำระคืนตามมูลค่าหน้าตั๋วปรับด้วยอัตราเงินเฟ้อสะสม แต่จะไถ่ถอนคืนไม่ต่ำกว่ามูลค่าหน้าตั๋วของ ILB (ไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท/หน่วย) รวมดอกเบี้ยจ่ายงวดสุดท้าย

          เพราะฉะนั้นต่อให้เงินเฟ้อเพิ่ม เราก็จะได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 14 มี.ค. 2560



เอกสารที่เกี่ยวข้อง