เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
คุมเข้มปุ๋ย-วัตถุอันตรายการเกษตร

          โดยที่ผ่านมา นอกจากจะเข้มงวดการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรแล้ว กรมวิชาการเกษตร ยังให้ความสำคัญต่อการตรวจสอบติดตามคุณภาพของปัจจัยการผลิต แม้จะผ่านการขึ้นทะเบียนแล้วก็ตาม โดยส่งเจ้าหน้าที่สารวัตรเกษตรออกตรวจสอบในแหล่งผลิตและจำหน่ายปัจจัยการผลิต ทั่วประเทศ ซึ่งในปี 2558 ได้ร่วมกับกองบังคับ การปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค จับกุมและดำเนินคดีกับผู้ฝ่าผืนกฎหมาย 17 ราย อายัดของกลางรวม 271 ตัน มูลค่ากว่า 73 ล้านบาท และปี 2559 จับกุม 30 ราย อายัดของกลาง 2,132 ตัน มูลค่ากว่า 83 ล้านบาท

          ขณะที่ในปี 2560 มีเป้าหมายการตรวจวัตถุอันตรายนำเข้า 550 ตัวอย่าง ตรวจโรงงานผลิตวัตถุอันตราย 100 โรงงาน ตรวจร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการปัจจัยการผลิตคุณภาพหรือร้าน Q-shop และร้านค้า ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ รวม 23,570 ร้านค้า โดยสุ่มเก็บตัวอย่างทั้งปุ๋ยและวัตถุอันตรายมาตรวจสอบในห้องปฏิบัติการของกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งยังมีแผนตรวจติดตามคุณภาพวัตถุอันตรายที่ขึ้นทะเบียนแล้ว

          อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวต่อว่า นอกจากกำกับดูแลด้านปัจจัยการผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว กรมวิชาการเกษตร ยังสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค โดยสุ่มตรวจติดตามเฝ้าระวังสารตกค้างในผักและผลไม้ โดยมีการสุ่มตัวอย่างสินค้าที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากแหล่งจำหน่ายต่างๆ เช่น ห้างค้าปลีกและตลาดค้าส่ง โดยเน้นชนิดผักและผลไม้ที่ได้รับการแจ้งว่าตรวจพบสารตกค้างบ่อยครั้ง ซึ่งเป็นภารกิจที่กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตามแผนปกติอยู่แล้ว

          นอกจากนี้ในปี 2560 กรมวิชาการเกษตร ยังมีแผนตรวจรับรองแปลงของเกษตรกรที่สมัครเข้าสู่ระบบ GAP จำนวน 25,500 แปลง และตรวจต่ออายุแหล่งผลิตพืชที่ได้รับการรับรอง GAP จำนวน 65,113 แปลง ตรวจรับรองแปลงของเกษตรกรที่สมัคร เข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์จำนวน 1,008 แปลง และตรวจต่ออายุแหล่งผลิตพืชที่ได้รับการรับรองเกษตรอินทรีย์อีกจำนวน 1,192 แปลง พร้อมกับสุ่มตัวอย่างผลผลิตที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน GAP จากแหล่งผลิตและจำหน่ายรวม 9,483 ตัวอย่าง เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าเกษตรกรยังปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์และข้อกำหนดในระบบ GAP

          "จะเห็นได้ว่าภารกิจที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบนั้นมีความเชื่อมโยงกันตั้งแต่ต้นน้ำคือ การตรวจสอบและกำกับดูแลปัจจัยการผลิตทางการเกษตรให้เป็นไปตามคุณภาพที่กฎหมายกำหนด กลางน้ำคือการตรวจรับรองแปลงของเกษตรกรให้เข้าสู่ระบบ GAP และเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและความปลอดภัย ไปถึงการดูแลตรวจติดตามคุณภาพและความปลอดภัยของผลผลิตในแหล่งจำหน่าย เพื่อสร้างเชื่อมั่นในความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

          บรรยายใต้ภาพ

          สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ

 

ขอขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 9 ธ.ค. 2559



เอกสารที่เกี่ยวข้อง