เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
นิคมสหกรณ์แม่แตง จ.เชียงใหม่ แม่แบบเศรษฐกิจพอเพียง แบบรวมกลุ่ม

          โดยให้ราษฎรที่ยังขาดที่ดินทำกินและ ที่อยู่อาศัยรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ขึ้น มา เพื่อร่วมกันทำการผลิต ร่วมกันขาย ตลอดถึงทำธุรกิจในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการครองชีพและการประกอบอาชีพ และบริหารจัดการตนเองในลักษณะของการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยนิคมฯได้จัดที่ดินทำกินและอยู่อาศัยให้กับราษฎรทั้งหมด 14,798 ไร่ จนมาถึง เมื่อประมาณปี 2550 ภารกิจในด้านการจัดที่ดินให้กับราษฎร การส่งเสริมพัฒนาอาชีพ การก่อสร้าง ปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ของนิคมฯ เพื่อเอื้ออำนวยให้กับราษฎรของนิคมได้บรรลุตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 ทุกประการ

          และเพื่อความมั่นคงในชีวิตและการประกอบอาชีพของราษฎร ทางนิคมฯ จึงได้ส่งเสริมสนับสนุนให้ราษฎรสมาชิกนิคมสหกรณ์ฯ ได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาประยุกต์ใช้ โดยทางนิคมฯ ได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงนิคมสหกรณ์แม่แตงขึ้นเมื่อปี 2551 ที่ผ่านมา

          ทางด้าน ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ส่งเสริมและสนับ สนุนให้ขบวนการสหกรณ์ทั่วประเทศได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจไป ดำเนินการในหลากหลายรูปแบบ นับตั้งแต่ การบริหารจัดการองค์กรไปจนถึงการส่งเสริมและสนับสนุนให้ราษฎรสมาชิกสหกรณ์ นิคมสหกรณ์ และสหกรณ์นิคมได้น้อมนำไปประยุกต์ใช้กับกิจการของตนเองอย่างต่อเนื่อง และให้มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ผลได้บังเกิดแก่เกษตรกรสมาชิกสหกรณ์อย่างทั่วถึง

          สำหรับนิคมสหกรณ์แม่แตงนั้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการในหลายกิจกรรมด้วยกัน อาทิ การพัฒนา ปรับปรุงฐานเรียนรู้

          ต่าง ๆ เพื่อเป็นที่ศึกษาดูงาน เป็นที่ฝึกอาชีพ ให้กับเกษตรกรสมาชิก ตลอดถึงนักศึกษา ประชาชน และเกษตรกรโดยทั่วไปที่สนใจเข้ามาเรียนรู้ ประกอบด้วยการเลี้ยงกบในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก การเลี้ยงปลาดุกในกระชัง การเลี้ยงปลาในบ่อดิน การเลี้ยงสุกรหลุม การเลี้ยงสุกรขุน การเลี้ยงไก่เนื้อ การเลี้ยงไก่ไข่ การเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมือง และการปลูกผักที่มีทั้งระบบแบบครัวเรือน และเชิงเศรษฐกิจ

          นอกจากนี้ก็ยังมีการทำงานในลักษณะของการบูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้ามาร่วมฝึกอาชีพให้กับเกษตรกรสมาชิกเป็นการเพิ่มเติมเพื่อลดต้นทุนในการทำการผลิต เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุที่มีในท้องถิ่น เพื่อใช้บำรุงต้นพืชที่ปลูกโดยไม่ต้องซื้อสารเคมี และได้ขยายผลสู่การปฏิบัติใช้ของราษฎรสมาชิก จนสามารถยกระดับเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับประชาชนโดยทั่วไปเข้ามาศึกษาเรียนรู้แล้วนำกลับไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ของตนเองได้อีกด้วย

          ปัจจุบันเกษตรกรสมาชิกที่ได้ที่ดินจากนิคมสหกรณ์แม่แตงไปเพื่อใช้ประกอบอาชีพและอยู่อาศัย ก็ได้ส่งต่อพื้นที่อยู่อาศัยและทำกินเหล่านี้ไปให้ลูกหลานผ่านมาหลายรุ่นแล้ว ยังผลให้สามารถแก้ปัญหาการย้ายถิ่นและการเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคชนบทเข้าสู่ตัวเมืองได้เป็นอย่างดี และยังผลให้เยาวชน และคนในชุมชน เห็นความสำคัญของการมีที่ดินเพื่ออยู่อาศัยและทำกินที่เป็นของตนเอง ภายใต้การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาประยุกต์ใช้

          นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระองค์ทรงพระราชทานแนวทางในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพแก่ปวงชนชาวไทย.

 

ที่มา: http://www.dailynews.co.th วันที่ 25 พ.ย. 2559



เอกสารที่เกี่ยวข้อง