เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
คอลัมน์: มุมความรู้: ความรู้การเงินของไทย

          เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท มาสเตอร์การ์ด ได้เปิดเผยผลสำรวจดัชนีวัดทักษะความรู้ทางการเงินที่ได้รับการเปิดเผยสอดคล้องกับการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลกว่าด้วยอาเซียน (world Economic Forum on ASEAN) โดยพบว่าพัฒนาการในด้านความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทางการเงินของประเทศในเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่นั้นถือว่าอยู่ในภาวะชะงักงัน โดยทั้งภูมิภาคมีคะแนนความรู้ทางการเงินตกลงหนึ่งจุดมาอยู่ที่ 64 คะแนน ซึ่งต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ได้เริ่มมีการทำสำรวจมาในปี 2553

          อย่างไรก็ดี ไทยมีระดับความรู้ทางการเงินสูงกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อ เปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศในเอเชียทั้งหมด 17 ประเทศ และแสดงให้ เห็นถึงศักยภาพด้านความสามารถในการจัดทำงบประมาณ การออมเพื่อยามฉุกเฉิน และการรู้จักเลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสม โดยมีคะแนนอยู่ในระดับเดียวกันกับมาเลเซีย จีน และศรีลังกา และยังมี อันดับสูงกว่าอีก 9 ประเทศ ซึ่งในนี้รวมถึงประเทศพัฒนาแล้วอย่างเกาหลีใต้และญี่ปุ่น

          พัฒนาการในด้านความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทางการเงินของประเทศในเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่นั้นถือว่าอยู่ในภาวะชะงักงัน โดยทั้งภูมิภาคมีคะแนนความรู้ทางการเงินตกลงมาหนึ่งจุดอยู่ที่ 64 คะแนน ซึ่งต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ได้เริ่มมีการทำสำรวจมาในปี 2553

          ในภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่มีคะแนนไม่ แตกต่างไปจากเดิม ในขณะที่คะแนนของกลุ่มประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่นั้นลดลงมากที่สุด โดยประเทศที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด ได้แก่ เวียดนาม (58 คะแนน ลดลง 7 จุด) เมียนมา (60 คะแนน ลดลง 6 จุด) ฟิลิปปินส์ (62 คะแนน ลดลง 4 จุด) มาเลเซีย (67 คะแนน ลดลง 2 จุด) และอินเดีย (60 คะแนน ลดลง 2 จุด)

          แอนโทนิโอ คอร์โร ผู้จัดการประจำประเทศไทยและเมียนมา มาสเตอร์การ์ด ให้ความเห็นว่าคะแนนของไทยค่อนข้างที่จะเสมอต้นเสมอปลาย เมื่อเรียงตามลำดับแล้วไทยตามหลังเพียงแค่สิงคโปร์ ไต้หวัน นิวซีแลนด์ ฮ่องกง และออสเตรเลียเท่านั้น ถือได้ว่าเราอยู่ในตำแหน่งค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย แต่ไทยยังจำเป็นต้องพัฒนาระดับความรู้ทางการเงินขึ้นไปอีก เพื่อผลักดันไทยให้ก้าวไกลไปข้างหน้า

          มาสเตอร์การ์ดให้ความเห็นว่าไทยต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษกับคนหนุ่มสาวและคนว่างงานทั้งหมด เพื่อที่จะเพิ่มความรู้ทางการเงินโดยรวมของทั้งภูมิภาคให้สูงขึ้น ตลาดเงินมีความซับซ้อนและเชื่อมโยงกันมากขึ้นเรื่อยๆ ประกอบกับเศรษฐกิจโลกมีความผันผวนสูงขึ้น การพัฒนาความรู้ทางการเงินในหมู่ผู้บริโภคเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ วันที่ 23 มิถุนายน 2559 หน้า B7



เอกสารที่เกี่ยวข้อง