เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
คอลัมน์: Personal Finance: สมพล ธนาดำรงศักดิ์ ออมให้ดีต้องมีกระแสเงินสด

          สกุลชัย เก่งอนันตานนท์

          การออม' เป็นพื้นฐานที่สำคัญ 'ของการบริหารการเงิน ส่วนบุคคล แต่การออมที่ดี ก็ควรจะสร้างกระแสเงินสดออกมาได้ด้วย  นี่คือสิ่งที่ 'สมพล ธนาดำรงศักดิ์' หัวเรือใหญ่แห่ง ฟอร์จูน พาร์ท อินดัสตรี้ (FPI) พยายาม สื่อออกมาให้เราได้รับรู้

          สมพล เล่าว่า จุดเริ่มต้นที่สำคัญของการบริหารการเงินคือการออมเงิน แต่ด้วยการ ที่เรียนจบมาทางด้านการเงิน ทำให้มีโอกาส ได้เข้าไปทำงานในบริษัทด้านการเงินแห่งหนึ่ง  ในช่วงปี 2534 -2536 โดยรับผิดชอบทางด้าน สินเชื่อธุรกิจ จึงมีโอกาสได้รู้จักบริษัทมหาชนหลากหลายแห่ง และเป็นจุดเริ่มต้นที่ได้นำเงินออมมาต่อยอดลงทุนในตลาดหุ้น

          "หลังกลับจากอเมริกาและเข้าทำงาน ที่บริษัทด้านการเงิน ก็เริ่มเข้ามาลงทุนในหุ้น ซึ่งถือเป็นจังหวะที่ค่อนข้างดี เพราะหุ้นไทยขึ้นจาก 300 จุด ไปถึง 1,700 จุด ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นไม่ถึง 1 ล้านบาท ผ่านไป 3 ปี กลายเป็น 12-13 ล้านบาท แต่หลังจากเกิดวิกฤติเมื่อปี 2540 เงินลงทุนในพอร์ตก็กลับมาเหลือเท่าๆ กับเงินต้นที่ 1 ล้านบาท หลังจากนั้นผมก็เลิกเล่นหุ้นไปเลย"

          จากจุดเริ่มต้นที่เหมือนจะโรยด้วย กลีบกุหลาบ หุ้นที่เคยเป็นที่นิยมกลับกลายเป็นเพียงใบหุ้น แต่สมพลยังมองว่าเป็นความโชคดี ที่ขณะนั้นไม่ได้ลงไปทุนไปมากนัก ขณะเดียวกันก็เริ่มหันมาทุ่มเทเวลาให้กับการปั้นธุรกิจ ฟอร์จูน พาร์ท ตั้งแต่ปี 2536

          หลังจากผ่านวิกฤติและเข้ามาทำงาน อย่างเต็มตัว จึงเริ่มวางแผนบริหาร การเงินใหม่ โดยจะแบ่งรายได้ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่  ส่วนแรก 50% จะให้ไว้กับภรรยาเพื่อเก็บไว้เป็นค่าใช้จ่าย ในครอบครัว อาทิ ประกันชีวิต การศึกษาลูก  ส่วนอีก 30%  จะแบ่งไว้ลงทุนในที่ดินที่สามารถสร้างกระแสเงินสดได้ 10% จะลงทุนในหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ และ อีก 10% จะกันไว้เป็นเงินสดยามฉุกเฉิน

          ที่มาของการเริ่มลงทุนในที่ดินนั้นเกิดจากธุรกิจของครอบครัวแต่เดิมที่ลงทุนทำปั๊มแก๊สและปั๊มน้ำมันกว่า 100 แห่ง ในพื้นที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่เมื่อ 30 ปีก่อน แต่ช่วงนั้นเราใช้วิธีการ เช่าที่ดินลงทุนแทนที่จะซื้อที่ดินมาเป็นของตนเองเลย โดยรวมถึงแม้จะสร้างรายได้ค่อนข้างดี แต่ที่ดินก็ไม่ใช่ของเรา ซึ่งถือเป็นสิ่งที่เราคิดผิด และเสียหายไปในอดีต เพราะหากตอนนั้น ตัดสินใจซื้อที่ดินมาเป็นเจ้าของ ทุกวันนี้ที่ดินเหล่านั้นจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นสูงมาก เพราะปั๊ม แต่ละแห่งก็อยู่ในทำเลที่ดี

          "จากความผิดพลาดในอดีตทำให้เรารู้ว่า การลงทุนในที่ดินเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับ การลงทุนเพื่อการออม" เพราะที่ดินไม่มีค่าเสื่อม และมูลค่ามีแต่จะขึ้นไปทุกปี เพราะฉะนั้นเงิน 30% ของรายได้จะแบ่งไว้ซื้อที่ แต่การไปซื้อที่เปล่าๆ เก็บไว้เพื่อเก็งกำไรอย่างเดียว อาจเป็นสิ่งที่ไม่ดีนัก เพราะมันไม่สามารถสร้างรายได้ให้กับเรา ฉะนั้นการออมในที่ดินจะให้ดีควรจะสร้างกระแสเงินสดให้เราได้ ถือเป็นหัวใจสำคัญในการซื้อที่ดินเลย"

          เมื่อรู้ถึงความผิดพลาดที่ผ่านมาจึงมี เป้าหมายที่จะลงทุนซื้อที่ดินทำปั๊มปีละ 1 แห่ง  จนปัจจุบันมีปั๊มอยู่ในกรุงเทพฯ ราว 12 แห่ง และตั้งเป้าหมายที่จะลงทุนเพิ่มปีละ 1 แห่ง ซึ่งเป็นการลงทุนร่วมกับพี่น้องในครอบครัว โดยแต่ละแห่งผมจะมีสัดส่วนการลงทุนอยู่ประมาณ 3-5  ล้านบาท จากมูลค่าเงินลงทุน 30-50 ล้านบาท

          "กำไรจากปั๊มแต่ละแห่งจะอยู่ที่ประมาณ 5-6 แสนบาทต่อเดือน เมื่อรวมกันหมดทุกแห่ง การลงทุนซื้อที่ดินสร้างปั๊มจะสร้างกระแสเงินสดเข้ามาปีละ 5-6 ล้านบาท และเงินในส่วนนี้ก็จะสามารถนำไปลงทุนสร้างปั๊มแห่งใหม่ได้ด้วยตัวมันเอง ถือเป็นการออมเงินที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับครอบครัวไปเรื่อยๆ"

          ส่วนการลงทุนในหุ้นนั้น สมพลกลับเข้ามา ในตลาดอีกครั้งหลังจากนำบริษัทเข้า จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ  เมื่อปี 2555 แม้มูลค่าหลักทรัพย์ของบริษัทในช่วงที่ผ่านมาเกือบ 4 ปี จะเติบโตขึ้นมาถึง 6 เท่าตัว จากระดับ 1,000 ล้านบาท ณ ราคาไอพีโอ  ขึ้นมาเป็น 6,000 ล้านบาท ในปัจจุบัน แต่ สมพลยังมองว่า การลงทุนในหุ้นมีความเสี่ยง ค่อนข้างมาก

          "ปั๊มแก๊สและปั๊มน้ำมันถือเป็นการออมอย่างหนึ่งที่ดีกว่าการฝากธนาคาร และดีกว่าการซื้อหุ้น เพราะในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา  เห็นแล้วว่ามูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยสูงกว่าการซื้อหุ้น และรายได้จากปั๊มยังช่วยสร้างกระแสเงินสดและสามารถครอบคลุมดอกเบี้ยเงินกู้ที่นำมาซื้อที่ดินได้อีกด้วย"

          ปัจจุบันพอร์ตหุ้นถือเป็นการกระจายการลงทุนอย่างหนึ่งเท่านั้น และไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก โดยจะนำเงินที่เหลือจากการลงทุนมา ซื้อหุ้นตามแต่โอกาสที่มีเข้ามา แทนที่จะเอาเงินเก็บธนาคาร ก็เอามาฝากหุ้นแทน เมื่อต้องการใช้เงินก็ขายออกมา

          "ส่วนการออมผ่านการฝากธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบัน ส่วนตัวมองว่าไม่เกิดประโยชน์นัก เพราะอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน ไม่ถึง 0.5% ส่วนหนึ่งอาจจะฝากไว้เป็นค่าใช้จ่าย แต่ในแง่การลงทุนแล้วควรจะมองหาสิ่ง ที่ให้ผลตอบแทนได้ดีกว่านั้น อย่างการลงทุนในกองทุนหรือหุ้นที่มีพื้นฐานดี"

          แต่การกลับมาลงทุนในหุ้นครั้งนี้ หลังจาก เว้นวรรคไปตั้งแต่เกิดวิกฤติ สมพล เล่าว่าจะเน้นลงทุนในเชิงพื้นฐาน ไม่เน้นการเก็งกำไรมากนัก เพราะประสบการณ์เก็งกำไรก่อนเกิดวิกฤติพิสูจน์ให้เราเห็นแล้วว่ามันไม่ยั่งยืน จึงเน้นการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง และให้ความสำคัญกับพื้นฐานของบริษัทเป็นหลัก ธุรกิจต้องดีต้องยั่งยืน ไปได้ยาว

          "ส่วนที่ผมชอบจะธุรกิจในกลุ่มยานยนต์ด้วยกัน รวมถึงหุ้นที่มีนวัตกรรม อย่างเช่น  หุ้นสมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ (SAT) หรือหุ้นอีสเทิร์นโพลีเมอร์ (EPG) ซึ่งส่วนตัวก็รู้จักผู้บริหารของบริษัทเหล่านี้มานาน และหุ้นเหล่านี้มีมาร์จิ้นดี  มีนวัตกรรมของตนเอง นอกจากนี้จะพิจารณาเลือกหุ้นตามเทรนด์ที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดี  อย่างช่วงที่ผ่านมาจะเห็นว่าธุรกิจพลังงานทดแทนมีความน่าสนใจ เพราะสามารถสร้างรายได้ในระยะยาว ขณะที่ธุรกิจปล่อยสินเชื่อก็ได้ประโยชน์จากภาวะดอกเบี้ยถูก ทำให้มาร์จิ้นก็น่าจะดีแน่นอน ซึ่งโดยส่วนตัวเราไม่ใช่นักวิเคราะห์หุ้น ไม่ได้ซื้อตามเทคนิค จะเน้นหาธุรกิจที่ดี อยู่ในเทรนที่ดี แล้วก็ซื้อถือไป"

          นอกจากนี้ เงินลงทุนที่เหลืออีกส่วนหนึ่ง จะกระจายไปลงทุนอสังหาริมทรัพย์ อย่างการ สร้างอพาร์ทเม้นท์ให้เช่า เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยการ

          สร้างกระแสเงินสด ซึ่งการลงทุนเหล่านี้ก็มักจะ ใช้ที่ดินที่เหลืออยู่หลังจากสร้างปั๊มน้ำมันมาพัฒนา  ก่อนจาก สมพล ฝากไว้ว่า นอกจากการ ออมเงินแล้ว พื้นฐานที่สำคัญไม่แพ้กันอีกอย่างหนึ่งซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการบริหารการเงิน คือ การปลูกฝังเรื่องการรู้จักควบคุมการใช้จ่ายของตนเอง อย่างการทำบัญชีรายรับรายจ่าย  จะช่วยให้เราเห็นได้ว่าเราใช้จ่ายอย่างไร และ จะแบ่งสัดส่วนในการออมได้อย่างไร ซึ่งการ ฝึกสิ่งเหล่านี้ตั้งแต่อายุยังน้อยจะเป็นพื้นฐานที่ดีและช่วยให้เรามีวินัยในด้านการเงิน

          "ปัจจุบันพอร์ตหุ้น ถือเป็นการกระจาย การลงทุนอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก โดยจะนำเงินที่เหลือ จากการลงทุน"

 

 

บรรยายใต้ภาพ

สมพล ธนาดำรงคักดิ์

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 19 มิถุนายน 2559 หน้า 9



เอกสารที่เกี่ยวข้อง