เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
แก้ปัญหาภัยแล้งชี้ผลสำเร็จจากแนวพระราชดำริ

          -ตอบโจทย์ภัยแล้งด้วย “การบริหารจัดการน้ำระดับชุมชน”
          -การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
          -ด้วยหลักการ “คิดแบบแม็คโคร ทำอย่างไมโคร”
          -พิสูจน์ความสำเร็จจากชุมชนทั่วประเทศที่รอดผ่านทั้งเอลนีโญและลานีญา

 

          จากเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยาให้ข้อมูลว่า ภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วง ซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล สำหรับภัยแล้งน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล สำหรับภัยแล้งในประเทศไทยมีผลกระทบโดยตรงกับการเกษตรและแหล่งน้ำ รวมทั้ง การดำรงชีวิตของประชาชน เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ภัยแล้งจึงส่งผลเสียหายต่อกิจกรรมทางการเกษตร เช่น พื้นดินขาดความชุ่มชื้น พืชขาดน้ำ พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ รวมถึงปริมาณลดลง ส่วนใหญ่ภัยแล้งที่มีผลต่อการเกษตร มักเกิดในฤดูฝนที่มีฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน

          สำหรับผลกระทบด้านต่าง ๆ มีดังนี้คือ “ด้านเศรษฐกิจ สิ้นเปลืองและสูญเสียผลผลิตด้านเกษตร ปศุสัตว์ ป่าไม้ การประมง เศรษฐกิจทั่วไป เช่น ราคาที่ดินลดลง โรงงานผลิตเสียหาย การว่างงาน สูญเสียอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พลังงาน อุตสาหกรรมขนส่ง “ด้านสิ่งแวดล้อม” ส่งผลกระทบต่อสัตว์ต่าง ๆ ทำให้ขาดแคลนน้ำเกิดโรคกับสัตว์ สูญเสียความหลากหลายพันธุ์ รวมถึงผลกระทบด้านอุทกวิทยา ทำหระดับและปริมาณน้ำลดลงพื้นที่ชุ่มน้ำลดลง ความเค็มของน้ำเปลี่ยนแปลง ระดับน้ำและการจัดการคุณภาพชีวิตลดลง

          ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูถัมภ์ และผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กล่าวว่า จากการติดตาม ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านทรงรับสั่งไว้อย่างชัดเจนมากว่า “วันนี้โลกเปลี่ยน อากาศเปลี่ยน เราต้องเปลี่ยนการบริหารจัดการน้ำอย่างไรบ้าง สิ่งแรกคือเราต้องเข้าใจธรรมชาติก่อน ต้องเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทยทำไมน้ำแล้ง แน่นอนส่วนหนึ่งมาจากธรรมชาติ ที่ตามมาเราต้องปรับตัวเอง ส่วนหนึ่งของคำตอบในการปรับตัวคือการจัดการน้ำ”

          สำหรับสาเหตุของน้ำแล้งที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ เกิดจาก 2 ปัจจัย คือ สภาพภูมิอากาศและการจัดการน้ำ โดยเฉพาะพื้นที่ทางเกษตรประมาณ 80% อยู่นอกเขตชลประทาน ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน ฝนไม่ตกตามฤดูกาล และฝนส่วนใหญ่ก็ตกท้ายเขื่อน ซึ่งตั้งแต่ปี 2541 ฝนตกน้อยลงเพียงร้อยละ 6 แต่ในปีที่ผ่านมากลับตกติดลบถึงร้อยละ 15

          ถ้าดูสถิติฝนตกทั่วโลกโดยเฉลี่ย 1,000 มิลลิเมตร ขณะที่ประเทศไทยมีฝนตกที่มากกว่า คือ 1,400 มิลลิเมตร หรือที่มาเลเซียเฉลี่ยตกประมาณ 3,000 มิลลิเมตร แต่เมื่อตกเพียง 2,000 มิลลิเมตร ทำให้เกิดปัญหา การที่ฝนตกน้อยลง และยังเปลี่ยนเวลาตก แล้วยังตกผิดที่ โดยส่วนมากไปตกท้ายเขื่อนเสียอีก ทั้งในที่ตกมีปริมาณน้ำเพียงร้อยละ 5.7% เท่านั้นที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำ เมื่อเป็นเช่นนี้ อยากให้กลับไปมองแนวทางแก้ไขปัญหาตามพระราชดำรัสของในหลวงที่ว่า “ให้คิดแบบแม็คโคร (Macro) แต่ให้ทำอย่างไรไมโคร (Micro)W นั่นคือ “การบริหารจัดการน้ำระดับชุมชน”

          การคิดแบบแม็คโครเป็นเรื่องเหนือน้ำ ท้ายน้ำ ปรากฏการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของสภาวะดินฟ้าอากาศ ส่วนการทำอย่างไรโคร ต้องมีมูลน้ำ คนในชุมชนจะต้องเข้าใจ และสามารถกำหนดโจทย์ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะต้องเกิดความเข้าใจร่วมกันเป็นหนึ่งเดียวถึงจะร่วมมือกันได้โดยรวมไปถึงความร่วมมือของทุกภาคส่วน เมื่อร่วมมือกันได้จะพัฒนาซึ่งเป็นสิ่งที่ทำมาตั้งแต่ปี 2547 โดยมีภาคประชาน คือมูลนิธิโคคา-โคลา และภาครัฐคือสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ และการเกษตร (องค์การมหาชน) ซึ่งในปี 2555 ทำมาในส่วนของมูลนิธิอุทกพัฒน์ ซึ่งประชาชนคือชุมชน โดยราชการเข้ามาบางส่วน เช่น อบต. หน่วยราชการต่าง ๆ “ประชาชน” คือ ชุมชน “ราชการ” เข้ามาบางส่วน เช่น อบต.และหน่วยราชการต่าง ๆ

          “พระเจ้าอยู่หัวรับส่งให้คิดแม็คโคร ทำไมไมโคร สิ่งที่ทำคือโครงการจัดการน้ำชุมชน เราร่วมกับเอกชน ซึ่งเข้าใจและพร้อมจะลงทุนกับชุมชน เมื่อชุมชนทำไม่สำเร็จผมไม่โดนตรวจสอบ ผมจึงใช้เงินโค้ก ซึ่งพร้อมจะเสี่ยงกับผม ดังนั้น ผมจึงกล้าทำอะไรต่างจากเดิม และทำให้มันเกิดขึ้นได้และเร็ว วันที่โลกเปลี่ยนเราต้องการคำตอบที่ต่างไปจากเดิม แต่ถ้าผมใช้เงินราชการปัญหาใหญ่จะตามมา เมื่อปี 2547 ที่ไปลงทุนที่ชุมชนบ้านลิ่มทอง จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้เรื่องปัญหาน้ำดื่ม ขณะที่ชาวบ้านไม่เชื่อเราเลย ปรากฏว่าเรานำน้ำในสระจากระบบไปจ่าย พอเขาเชื่อ จากเดิมที่คาดว่าจะใช้เงินเกือบ 2 ล้านกว่าบาท กลายเป็นใช้ไปแค่ 2 แสนกว่าบาท นั่นคือการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาเรื่องน้ำ ในการทำงานจากจุดเริ่มจนเกิดความร่วมมือกับชุมชนเกิดแกนนำ เกิดเครือข่าย มีชุมชนเข้าร่วม 84 ราย และขยายผลไปได้อีกมาก”

                 “เราต้องทำอะไร อย่างไรบ้างนั้น ควรเริ่มจากการให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ เข้าใจและเข้าถึงบริการบริหารจัดการน้ำในชุมชน จึงจะเกิดการพัฒนาตามมา โดยต้องอาศัยองค์ประกอบ 2 เรื่อง ได้แก่ 1.การทำแผนที่นำเพื่อให้รู้ว่าแหล่งน้ำอยู่ที่ใด ต้องกรใช้น้ำที่ใด โครงสร้างที่มีอยู่เดิมใช้ได้หรือไม่ และ 2.ข้อมูลน้ำ หมายถึงระดับน้ำ ปริมาณน้ำ”

          จากข้อมูลในวันนี้ ภาคเหนือปีนี้ฝนตกน้อยลง 33 เปอร์เซ็นต์ แต่น้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำน้อยลงครึ่งหนึ่ง ภาคอีสาน พื้นที่ป่าซึ่งอยู่เหนืออ่างเก็บน้ำใช้ปลูก มันสำปะหลังภาคตะวันตกฝนตกน้อยลง 16 เปอร์เซ็นต์ แต่น้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำน้อยละ 48 เปอร์เซ็นต์ ภาคตะวันออกฝนตกน้อยละ 23 เปอร์เซ็นต์ แต่น้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำ 60 เปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ ปีที่แล้วพัทยาน้ำท่วม 3-4 ครั้ง แต่ไม่มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำทั้งที่อยู่ห่างไปไม่กี่สิบกิโลเมตร เพราะไม่ดูแค่เรื่องน้ำ เรื่องป่า เรื่องคลองจะดูแค่อ่างเก็บน้ำไม่ได้ ต้องเข้าไปทำงานกับชุมชน ไปฟื้นป่าและจัดการให้สมดุลให้ได้

          ในการแก้ปัญหาเรื่องน้ำอย่างมีประสิทธิภาพด้วยการบริหารจัดการสมัยใหม่โดยใช้ Iean management ใช้ไอทีใช้การทำแผนที่ ใช้การสำรวจ ใช้จีพีเอส ใช้คอมพิวเตอร์ มีการจัดสรรน้ำ ใช้น้ำด้วยหลัก 3 Rs เช่น ชุมชนที่ต้องทำนาเมื่อรู้ว่าน้ำไม่พอต้องเปลี่ยนเป็นปลูกปาล์มและสวนผัก จากเดิมใช้น้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ มาเป็น 200 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ นำน้ำที่เก็บในร่องสวนกลับมาใช้เป็นการรีไซเคิล ช่วยลดการใช้น้ำ 40-50 เปอร์เซ็นต์ เพราะภาคเกษตรใช้น้ำมาถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นถ้าต้องการให้ประเทศมีน้ำเหลือและมีความมั่นคง ต้องเน้นการปรับตัวที่ภาคเกษตร

          ดร.รอยล กล่าวว่า “รังสิตถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่การเกษตรขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านชลประทานของประเทศ แม้ในปี 2559 สถานการณ์ภัยแล้งยังคงสร้างผลกระทบให้กับภาคการเกษตรและความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้างอย่างต่อเนื่องจากปีที่แล้ว แต่ชุมชนในพื้นที่รังสิตก็สามารถเดินหน้าอาชีพเกษตรกรรมและมีน้ำใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค จากความร่วมมือของเกษตรกรที่ปรับการทำนามาเป็นเกษตรกรแบบผสมผสานปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำ”

          “เห็นได้ชัดว่าการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริเป็นแนวคิดที่ทำได้ง่าย และชุมชนสามารถเริ่มได้ทันดี แต่ให้ผลลัพธ์ที่แก้ปัญหาในพื้นที่โดยตรงในระยะยาว จึงอยากให้ภาครัฐ เอกชนและชุมชนอื่น ๆ มองตัวอย่างการทำงานในรูปแบบนี้ ซึ่งหากชุมชนทั่วประเทศมีการแก้ปัญหาในพื้นที่ของตน ก็จะสามารถบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งในระดับประเทศได้”

          ชุมชนบึงชำอ้อ อำเภอหนองเสือจังหวัดปทุมธานี เป็นหนึ่งในชุมชนตัวอย่างในพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ “รักน้ำ” และด้วยองค์ความรู้บริหารจัดการทรัพยากรน้ำชุมชนจากมูลนิธิอุทกพัฒน์ฯ การทำงานร่วมกับหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นและชาวบ้าน เมื่อเกิดภัยแล้งชาวบ้านซึ่งมีอาชีพหลักคือ ทำนา ก็หยุดทำนาชั่วคราวและปรับมาปลูกพืชอื่น ๆ ที่ใช้น้ำน้อยแต่ยังสามารถสร้างรายได้ อาทิ ข้าวโพด ปาล์ม กล้วย พริก มะนาว ตะไคร้ ร่วมกับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำ อาทิ การทำสระแก้มลิงและบ่อดินเพื่อเก็บกักน้ำ ซ่อมแซมบ่อและบานประตูพักน้ำ ซื้อเรือดูดเลนป้องกันคลองและแหล่งน้ำที่ตื้นเขิน ทำให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างคลองหลัก คลองซอย และร่องสวน เกิดการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ

          “ไม่ใช่เพียงการแก้ปัญหาของเราเองเพราะอย่างแรกเราพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าไม่ว่าจะเกิดเอลนีโญหรือลานีญา ชุมชนก็รอดนั่นคือความมั่นคง อย่างที่สองคือการจัดการขนาดเล็กนำมาซึ่งการลดต้นทุนทุกวันนี้เห็นได้ชัดว่า สิ่งที่เราทำทั้งหมดเหมือนกับยุทธศาตร์ Sustainable Goal ของ UN และจากการที่ร่วมทำงานด้วยกันตอนนี้ UN มาลงนามความร่วมมือ เขามองว่าเราคือตัวอย่างของการแก้ปัญหา ซึ่งจะทำให้เกิดความมั่นคงด้านการพัฒนาได้สำเร็จ”


ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก  :  หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน  วันที่ 27 เมษายน 2559  หน้า Green CSR 1

 



เอกสารที่เกี่ยวข้อง