เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » รายการ E-clipping » รายละเอียด E-clipping
เล่นหุ้นอย่างไรในยุคฟองสบู่แฟบ

          แต่สถานการณ์เศรษฐกิจและตลาดหุ้นในปัจจุบันต่างไปจากสมัยปี 2552 เพราะเป็นการหดตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่แตกโพละในครั้งเดียว เหตุผลมาจากช่วงที่เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวหลังปี 2552 กลุ่มประเทศเกิดใหม่ (Emerging Market) กลายเป็นดาวเด่นทางเศรษฐกิจขึ้นมาแทนที่ประเทศพัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยเฉพาะการเป็นฐานการผลิต ทำให้เกิดการเร่งที่จะผลิตสินค้าออกมาจำนวนมากซึ่งเกินกว่าความต้องการจริงของโลก (ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ก็ปรับตัวขึ้นมาด้วยเช่นกัน)

          ท้ายที่สุดแล้ว ในเมื่อดีมานด์ทางเศรษฐกิจ ไม่ได้ขยายตัวจริง ผลที่เกิดคือราคาน้ำมันซึ่งเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการผลิตจึงถูกเทขายอย่างหนักนี่เอง เห็นได้ว่าภาคการผลิตหลายแห่งต้องปิดตัวไป โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ การที่เศรษฐกิจทั่วโลกไม่ขยายตัวหวือหวา แต่ก็ไม่ได้เติบโตถดถอย ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกจากนี้ไปน่าจะเป็นภาวะไซด์เวย์ที่อาจจะกินระยะเวลานาน (หุ้นไม่ลงหนักและก็ไม่ขึ้นแรง)

          แล้วการลงทุนหลังจากนี้จะเป็นอย่างไรต่อไป?

          ช่วงหลายปีก่อน การลงทุนแนววีไอ สามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากหุ้นดีราคาถูกมีอยู่เต็มตลาด แต่ตอนนี้จะหาหุ้นที่ราคาถูกจริงๆได้ยาก (คือไม่ได้ต่ำไปกว่ามูลค่าที่แท้จริงเท่าไร) ตลาดหุ้นยังมีความผันผวนสูง การถือหุ้นระยะยาวโดยไม่ขายทำกำไร ออกไปก่อนอาจทำให้เสียโอกาสในการเล่นรอบได้

          แนวทางลงทุนที่เหมาะสมในช่วงปีนี้และอาจจะสองสามปีจากนี้น่าจะเป็นการเทรดดิ้ง หรือเน้นลงทุนระยะสั้นถึงกลางมากกว่าการถือหุ้นระยะยาว เพราะเศรษฐกิจที่ไม่ได้ฟื้นตัวเต็มที่ โอกาสที่จะหาหุ้นที่สร้างผลตอบแทนได้สูงๆมีไม่มากนัก การเทรดดิ้งและขายทำกำไรออกมาเป็นรอบๆน่าจะมีความเหมาะสมกว่า

          การลงทุนในแนว selective buy และเล่นหุ้นระยะสั้นเป็นหลัก เป็นกลยุทธ์ที่เหมาะและมีความสำคัญกับสถานการณ์การลงทุน ของตลาดหุ้นยุคฟองสบู่แฟบ เน้นการเล่นสั้นมากขึ้น แต่ยังคง concept ของ Dow theory และ Elliot  wave  เล่นเฉพาะ หุ้นที่เป็นขาขึ้น ใน wave 3 ซึ่งจะสามารถทำให้พอร์ตการ ลงทุนสามารถทำกำไรได้โดยเฉลี่ย ประมาณ 20% ต่อปี

          อีกสิ่งหนึ่งที่นักลงทุนต้องปรับและพยายามฝึกฝนคือการมองไปที่ "ความเสี่ยง" มากกว่า "ผลตอบแทน" เพราะการควบคุมความเสี่ยงที่ดีจะนำไปสู่การสร้างผลตอบแทนต่อไป ขณะที่การตั้งเป้าหมายที่ผลตอบแทนเป็นอันดับแรกจะทำให้ละเลยในการคุมความเสี่ยงจะนำไปสู่ความเสียหายในที่สุด

          อย่างไรก็ตามเชื่อว่าหลายๆคนที่เป็นนักลงทุนที่ถือหุ้นอยู่คงอยากจะ "ซื้อถัวเฉลี่ย" เพราะเข้าใจว่าราคาหุ้นที่ลงมาต่ำพอที่จะเข้าเก็บและถือเพื่อรอขายในอนาคต แนวคิดดังกล่าวสำหรับนักลงทุนที่สนใจเฉพาะปัจจัยพื้นฐานของกิจการและสามารถอดทนถือหุ้นที่ขาดทุนได้นานๆไม่ถือว่าเป็นข้อผิดพลาดแต่อย่างไร แต่สำหรับนักลงทุนที่ใช้ปัจจัยทางเทคนิคมาใช้วิเคราะห์ถือว่าเป็นวิธีการที่ผิดพลาด เนื่องจาก การเข้าไปช้อนซื้อหุ้นในภาวะที่ราคาอยู่ในทิศทาง "ขาลง" นอกจากจะทำให้ยิ่งขาดทุนไปเรื่อยๆแล้วยังเป็นการเสียโอกาสที่จะนำเงินทุนไปลงทุนในหุ้นตัวอื่นเพื่อที่จะสร้างผลกำไรอีกด้วย

          หลักการวิเคราะห์ทิศทางราคาโดยใช้ปัจจัยทางเทคนิคง่ายๆคือใช้เส้นค่าเฉลี่ย (EMA) เป็นตัววัด ถ้าหากราคาตกลงมาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย ซึ่งมีตั้งแต่รายวัน รายสองสัปดาห์ รายเดือนไปจนถึงระดับ 200 วัน ถ้าราคาหุ้นยังไม่อยู่สูงกว่าเส้นค่าเฉลี่ยแสดงว่าราคายังอยู่ในทิศทางขาลง โดยเฉพาะเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวอย่างเส้น 200 วัน ถ้าหากราคาตกลงไปต่ำกว่านี้แสดงว่ายังไม่มีนักลงทุนพร้อมที่จะรับซื้อหุ้นตัวนั้น ทิศทางจะยังเป็นขาลงไปเรื่อยๆอย่างไม่สิ้นสุด

          แม้จะเห็นราคาหุ้นตกลงไปเรื่อยๆ จนมีคำพูดติดปากว่า "ลงมามากพอแล้วคงจะไม่ลงไปมากกว่านี้" คำพูดดังกล่าวก็เป็นความเข้าใจผิดเช่นกัน เพราะในทางเทคนิคแล้ว หุ้นที่อยู่ในขาลงก็มีโอกาสที่จะเป็นขาลงไปเรื่อยๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุดได้เช่นกัน ขณะเดียวกันหุ้นที่เป็นขาขึ้นยังสามารถเป็นขาขึ้นได้เรื่อยๆถ้าหากมี สตอรี่หนุนหลัง เช่นผลประกอบการยังคง เติบโตต่อเนื่อง

          นักลงทุนจึงควรสังเกตเส้นค่าเฉลี่ยของหุ้นที่กำลังจับตาดูอยู่ โดยวางเส้นค่าเฉลี่ยไว้เป็นชั้นๆ ถ้าหากราคาหุ้นตกลงมาต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยขอให้จับตาดูก่อนว่าราคาหุ้นได้ปรับลงไปอีกหรือไม่  ถ้าหากยังลงต่อเนื่องจะต้องหยุดลงทุนในหุ้นดังกล่าว แต่ถ้าสัญญาณทางเทคนิคกำลังบอกว่าหุ้นดังกล่าวอยู่ในช่วงกำลังกลับตัว (Divergence) ก็สามารถเข้าซื้อได้ หรือถ้าจะรอให้แม่นยำที่สุดคือรอให้ราคาขึ้นมายืนเหนือเส้นค่าเฉลี่ยได้อย่างมั่นคงเสียก่อน แม้อาจจะได้ราคาที่ต้นทุนสูงกว่าคนอื่น แต่มั่นใจได้ว่าราคาจะไม่ลงต่ำไปกว่านี้

          การที่เข้าซื้อถัวเฉลี่ยในภาวะที่ราคาหุ้นลงอย่างต่อเนื่องจะเป็นการสร้างผลขาดทุนให้กับหุ้นดังกล่าวมากขึ้น เนื่องจากจำนวนหุ้นที่ถือมีเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันการซื้อถัวเฉลี่ยในภาวะที่หุ้นเป็นขาขึ้นจะเป็นการสร้างผลกำไรจากหุ้นดังกล่าวให้มากขึ้น เนื่องจากราคาที่สูงขึ้นบวกกับจำนวนหุ้นที่มากขึ้น

          แม้เป็นนักลงทุนที่เน้นวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลักก็ควรที่จะศึกษาเรื่องของทิศทางราคาหุ้นจากเส้นค่าเฉลี่ยไว้บ้างเช่นกัน  เพราะการที่หุ้นพื้นฐานดีแต่ราคาอาจจะไม่ขึ้นก็เป็นได้จากปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะตลาดโดยรวมยังซึมๆ เพื่อที่จะไม่สูญเสียโอกาสและต้นทุน นักลงทุนควรหยุดลงทุนในช่วงที่หุ้นเป็นขาลงหรืออาจจะตัดขายขาดทุนไปก่อนและกลับมาซื้อใหม่ในช่วงที่หุ้นกลับมาเป็นขาขึ้นแล้ว

          หากมองย้อนไปยังวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดของโลกก่อนหน้าวิกฤตซับไพรม์นั่นคือ The Great Depression ในช่วงทศวรรษ 2473  หลังจากที่ตลาดหุ้นถูกเทขายอย่างหนัก เงินเฟ้อเพิ่มสูงทั่วโลก เศรษฐกิจโลกก็อยู่ในอาการที่ไม่เติบโตอีกเลยเป็นเวลานับสิบปี  ช่วงเวลานี้ก็เช่นกันน่าจะเป็นช่วงของการสร้างสมดุลใหม่ทางเศรษฐกิจหลังจากที่ฟองสบู่ถูกปั่นขึ้นมา โอกาสที่จะเก็งกำไรจากตลาดหุ้นในภาวะที่ตลาดไม่ได้เป็นกระทิงเต็มตัว ไม่ได้ง่ายนักแต่ไม่น่ายากเกินไป หากนักลงทุนสามารถปรับตัวและแนวทางให้เข้ากับสภาวะที่เป็นอยู่ได้.

          ท้ายที่สุดแล้ว ในเมื่อดีมานด์ทางเศรษฐกิจไม่ได้ขยายตัวจริงเศรษฐกิจทั่วโลกไม่ขยายตัว แต่ก็ไม่ได้เติบโตแนวทางลงทุนที่เหมาะสมจึงต้องเล่นสั้นเป็นหลัก แต่ยังคง concept ของ Dow theory และ Elliot wave เล่นเฉพาะ หุ้นที่เป็นขาขึ้น

 

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน 360 องศา วันที่ 11 เมษายน 2559 หน้า 5



เอกสารที่เกี่ยวข้อง