เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

แค่ใช้คำให้ฉลาด ก็เพิ่มโอกาสจาก 0 เป็น 100

   
ผู้แต่ง : ซาซากิ เคอิจิ 
ผู้เรียบเรียง : ซาซากิ เคอิจิ 
ผู้แปล : ทินภาส พาหะนิชย์ 
สำนักพิมพ์ : We Learn
จำนวนหน้า : 216
ราคา : 170 บาท
ผู้สรุป : http://www.illustcourse.com/blog/2014/12/25/review-wise-word/  
   
   
บทสรุป :

               คำพูดดีเปลี่ยนแปลงชีวิตได้
               ก่อนอื่น ผู้เขียนเขาแนะนำตัวว่าจบมาทางวิศวกรรมแต่จับพลัดจับผลูได้งาน copywriter ซึ่งตัวเองไม่ถนัดเลยเพราะเป็นคนไม่ค่อยมีเพื่อนและไม่เก่งเรื่องการเขียน จนตอนหลังมารู้ว่าการพูดและเขียนสามารถหัดกันได้ โดยเขาเริ่มฝึกฝนจากการคัดและอ่านสุนทรพจน์ หนังสือ บทความต่างๆ และสังเกตวิธีในการเขียนที่ประทับใจ จนในที่สุดกลายเป็นนักแต่งเพลงและ copywriter มือรางวัลค่ะ โดยเนื้อหาคร่าวๆเป็นดังนี้

               การเปลี่ยนคำปฏิเสธให้เป็นตอบตกลง โดยการรู้ว่าอีกฝ่ายต้องการอะไรและคาดเดาคำตอบของอีกฝ่าย เช่น จะชวนไปออกเดท แต่รู้ว่ามีโอกาสปฏิเสธสูง ในขณะที่รู้ว่าอีกฝ่ายชอบอาหารอิตาเลียน จึงชวนไปทานพาสต้าแทน เป็นต้น ตามขั้นตอนดังนี้

               - ไม่พูดตามที่ใจคิด

               - คาดเดาความคิดเห็นของอีกฝ่าย

               - ขอร้องในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย

               เหมือนกับสูตรอาหารนั่นก็คือถ้าคุณทำได้สักครั้งสองครั้ง

               ต่อไปคุณก็จะสามารถทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องท่องจำ


               เทคนิค 1 สิ่งที่อีกฝ่ายชอบ   นั่นก็คือเราคาดเดาว่าอีกฝ่ายชอบอะไรแล้วขอร้องตามนั้น เหมือนกรณีขอเดทข้างต้น จะไม่พูดว่าไปเดทกันไหม แต่จะพูดว่า “ไปทานพาสต้ากันไหม”แทนค่ะ

               เทคนิคที่ 2 สิ่งที่อีกฝ่ายไม่ชอบ    ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างว่า “ห้ามเดินลัดสนามกลิ่นยาฆ่าแมลงจะติดตัว” ใช้แทน “ห้ามเดินลัดสนามได้ เพราะอันหลังเป็นการเอื้อประโยชน์ตัวเราฝ่ายเดียว

               เทคนิคที่ 3 เลือกได้อย่างเสรี    กรณีไปเดทอีกเช่นกัน แทนที่บอกว่าไปเดทกันนะ ก็บอกว่า ไปกินพาสต้าหรือโฟคาซซ่าดี เพื่อให้ผู้ที่เราอยากออกเดท มีตัวเลือกมากขึ้นและตอบตกลงอยู่ดีในที่สุด เทคนิคนี้ใช้ได้กับการเสนอไอเดียทั่วๆไปและในชีวิตประจำวัน

               เทคนิคที่ 4 อยากเป็นที่ยอมรับ    ในกรณีนี้ให้เราคาดเดาว่าคนที่เราพูดด้วยเป็นคนยังไง อยากได้การยอมรับแบบไหน แล้วเราก็พูดชมก่อนที่จะให้เขาช่วยเหลือเรื่องไหนๆก็ตาม เช่น คุณทำงานได้ดีมากๆวันนี้ขอให้ช่วยทำโอทีได้ไหม

               เทคนิคที่ 5 พิเศษเฉพาะคุณ    ใช้ในตอนคาดเดาความคิดเห็นของอีกฝ่าย นั่นก็คือ ต้องทำให้คนๆนั้นรู้สึกว่าสิ่งที่เราทำให้ หรือสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่พิเศษเฉพาะเขา ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างร้านอาหารเวียดนามร้านหนึ่งมีการเสิร์พผลไม้แปลกตาแทนที่เมนูเดิมและบอกว่า ผลไม้จานนี้พิเศษเฉพาะคุณและจานสุดท้ายของร้านแต่กลับกลายเป็นทุกคนได้รับเมนูเช่นเดียวกัน และลูกค้าแน่นขนัดร้านเพราะเทคนิคเช่นนี้

               เทคนิคที่ 6 ทำกันเป็นทีม    ใช้ในขั้นตอนที่ 2 กรณีที่ผู้ที่เราชวนดูอึดอัดไม่อยากจะทำ ให้เราชวนโดยการเสนอตัวร่วมกันทำด้วยกับเขา เช่น แทนที่จะพูดว่า ไปอ่านหนังสือสิ ให้พูดว่า ไปอ่านหนังสือกันเถอะ เนื่องจากมนุษย์นั้นมีสัญชาติญาณอยากทำอะไรกับใครสักคนเพราะฉะนั้นโอกาสตอบตกลงจึงมีมาก

               เทคนิคที่ 7 ขอบคุณ     คำขอบคุณมีพลังอย่างมาก เช่น แทนที่จะบอกว่า โปรดรักษาความสะอาด เปลี่ยนมาใช้คำพูด ขอบคุณที่ช่วยกันรักษาความสะอาดแทนจะดีกว่า


               5 เทคนิคการสร้างคำทรงพลังดุจโอบาม่า

               1. เซอร์ไพรซ์
               ตัวอย่างประโยคเช่น ไม่น่าเชื่อ!วันนี้โคตรร้อน เป็นการเพิ่มอารมณ์ลงไปในสิ่งที่เราเขียนประมาณ 30% ด้วยเครื่องหมายอัศเจรีย์ หรือใช้คำเซอร์ไพรซ์ต่างๆนำหน้าตามแต่สถานการณ์ต่างๆ เช่น จริงสิ….แปลกจัง…ไม่น่าเชื่อว่า….
               2. ความรู้สึกขัดแย้ง
               ตัวอย่างประโยคเช่น ทั้งที่อยากจะเกลียด แต่ฉันกลับรักคุณ วิธีคือให้เลือกคำที่ต้องการถ่ายทอดที่สุดอยู่ข้างหลังแล้วก็ใส่ประโยคที่ตรงข้ามเข้าไปข้างหน้า แล้วเพิ่มคำลงไปได้ตามใจชอบเพื่อให้ประโยคหน้ากับประโยคหลังเชื่อมกัน
               3. เทคนิคปฏิกิริยาของร่างกาย
               ตัวอย่างประโยคเช่น เธอทำให้หัวใจฉันสั่นไหวราวกับใบไม้ปลิว เป็นการนำเอาปฏิกิริยาเคมีของร่างกายต่างๆมาเล่นคำ เช่น ปากสั่นระริก,มือสั่นเทา,เหงื่อโซมกาย
               4. เทคนิคคำซ้ำ
               ตัวอย่างประโยคเช่น คุ้มคุ้มจริงๆยิ่งกว่าคุ้มคุ้มทุกสิ่ง คุ้มที่แฟลตปลาทอง หรือ เงินกำลังจะหมุนไป กำลังจะหมุนไป เป็นการซ้ำคำเพื่อเน้นความสำคัญและทำให้น่าสนใจ หรือการเน้นอารมณ์ด้วยคำสองคำเช่น อร๊อย อร่อย
               5. เทคนิคลุ้นระทึก
               ตัวอย่างประโยค เพิ่งไปดูหนังเรื่องไอฟายแต๊งกิ้ว พระเอกพูดว่า “ถ้าคุณไม่เลือกผม คุณจะเสียใจ” นี่คือประโยคลุ้นระทึกอย่างหนึ่ง หรือในหนัง  v for vendetta จะมีประโยค remember remember the fifth november อันนี้ก็เทคนิคเดียวกันคือลุ้นให้คนติดตามต่อว่าจะมีอะไร