เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

การประกอบธุรกิจความคิดมีค่ามากกว่าเงิน

   
ผู้แต่ง : Gunter Faltin 
ผู้เรียบเรียง : Gunter Faltin 
สำนักพิมพ์ : สถาบันการเรียนรู้เพื่อประชาชน
จำนวนหน้า : 279
ราคา : 250 บาท
ผู้สรุป : พูนสุข มนัสวิวัฒน์ ผู้เกษียณอายุ ปี 2551  
   
   
บทสรุป :

          กุนเทอร์ ฟัลติน ผู้เขียน เป็นศาสตราจารย์ด้านการประกอบการ ที่ประสบความสำเร็จ ในเยอรมันได้รับรางวัลนักสร้างสรรค์เกียรติยศด้านบุกเบิกงานด้านการเป็นนักประกอบการ

          หนังสือเล่มนี้ภาษาเยอรมัน แปลว่า “สมองสำคัญกว่าทุน”

          ผู้เขียนย้ำว่าในการเริ่มทำธุรกิจนั้นความคิดดีๆ ที่มาจากจิตนาการและการไตร่ตรองที่ดีแล้วเป็นสิ่งมีค่ายิ่งกว่าการค้นพบทางเทคโนโลยีหรือเงินกองทุนก้อนใหญ่ ถ้าหากสามารถเอาความคิดดีๆ ที่สร้างสรรค์นี้มาใช้กับสามัญสำนึกของคนธรรมดาแล้วก็สามารถประสบความสำเร็จทางธุรกิจได้อย่างดี

          สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
          1. คนธรรมดาอ่านหนังสือเล่มนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นนักเศรษฐศาสตร์ หรือนักธุรกิจ นักประกอบการเพียงแค่ลงมือทำจริงๆ
          2. หัวใจของนักประกอบการอยู่ที่ความคิดไม่ใช่อยู่ที่เงินหรือสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรม
          3. การพัฒนาความคิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ของแต่ละคนที่สามารถทำได้หลายแบบ ความคิดบางอย่างอาจเจียระไนบ้าง บางอย่างเกิดช้าและใช้เวลานานกว่าที่จะนำไปใช้ได้จริง
          4. ผู้เขียนให้กำลังใจทุกคนว่า “อย่าหยุดคิด ถ้ายังไม่ตกผลึกวันดีคืนดีอาจได้สิ่งดีๆจากความคิดนั้น ได้มุมมองใหม่ มิติใหม่ ทำให้สดใสและมีพลัง
          5. ผู้ก่อตั้งบริษัทต้องคิดด้วยตนเองแล้วเชื่อมต่อระหว่างการหาเงินและใช้เงินมีเหตุผล มีไฟในตัวมั่นคงและคุมเกมได้
          6. การเป็นผู้ประกอบการนั้นไม่ใช่ “กีฬาท้ามฤตยู” ที่จำกัดวงเฉพาะผู้หลงใหลในกีฬาแต่ต้องพร้อมที่จะรับมือกับความเสี่ยงทุกรูปแบบ
          7. แนวคิดการประกอบการแบบผู้เขียนคือไม่ต้องรีบร้อน แต่เตรียมตัวให้ดี หลังจากนั้นก็นั่งพักและสนุกไปกับมัน
          8. อย่าปล่อยให้ตกเป็นทาสของงาน ต้องทำให้สมองโล่ง มีสติเสมอ
          9. จงเดินบนถนนสายไอเดีย และการพัฒนาไอเดีย มากกว่าที่จะเกี่ยวข้องกับการวิจัยและไฮเทคเกินไป
          10. สูตรสำเร็จ คือ อย่ามัวแต่คิดในกรอบเก่าทื่เคยยึดถือตามๆ กันมา ต้องพัฒนาไอเดีย และสรุปผลให้จบอย่างมีระบบและมีเป้าหมายที่ชัดเจน
          11. ปัจจัยสู่ความสำเร็จ มี 3 ข้อ คือ คน ไอเดีย และทรัพยากร
          12. ต้องมีจมูกไวต่อการพัฒนาการตลาด ต้องมีญานพิเศษ เนื่องจากมีการแข่งขันอย่างเข้มข้นจึงทำให้ตลาดถูกกำหนดโดยอุปสงค์ และคุ้นเคยกับแนวคิดการตลาดที่ว่า “ข้อเสนอการขายที่ไม่เหมือนใคร” ซึ่งจะต้องเสนอขายผลิตภัณฑ์หรือบริการที่โดดเด่นจากคู่แข่ง
          13. หลักการออกแบบผู้ประกอบการทีมีศักยภาพสูง คือ
                   (1.) ความสามารถในการปรับตัวแบบไม่หยุดหย่อน
                   (2.) ความเรียบง่าย
                   (3.) การลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยทีสุด
          14. การพัฒนาการความคิดที่ดีเป็นสิ่งที่ท้าท้ายความสามารถเป็นผลของการทำงานหนักด้วยจิตใจที่ไม่เครียด
          15. ผู้ประกอบการสมัยใหม่ไม่ใช่ “บุคคลอัจฉริยะ” ที่ต้องรวบรวมความสามารถของทั้ง “ผู้บัญชาการด้านยุทธศาสตร์” ตลอดจน “นักวิทยาศาสตร์” และ “นักประชาสัมพันธ์” ไว้ในตัวคนเดียว
          16. สิ่งที่ผู้ประกอบการสมัยใหม่ จำเป็นต้องมี คือ
                   (1.) แนวคิดในเชิงนวัตกรรมด้วยตนเอง
                   (2.) ต้องนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติ
                   (3.) ต้องปรับแนวคิด ให้เหมาะสมกับสภาวะการณ์ที่เปลี่ยนไป
                   (4.) ต้องจุดไฟให้พนักงานกระตือรืนร้อนที่จะทำตามแนวคิด
                   (5.) ต้องติดตาม ความเป็นไปของตลาด
                   (6.) ต้องรู้เท่าทันแนวโน้มและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ตั้งแต่แรก
                   (7.) ต้องเตรียมการและการตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางของธุรกิจ
                   (8.) ต้องมีอำนาจในการตัดสินใจในทุกกรณี


          ผู้สรุปแนะนำว่า อ่านหนังสือเล่มนี้ วางไม่ลงเพราะเพลิดเพลินไปกับการเขียนที่ให้หลักคิดอย่างลึกซึ้ง พร้อมกับมีกรณีศึกษาสอดแทรก ทำให้มองเห็นภาพ สามารถประยุกต์ความคิดของผู้เขียนไปใช้ได้อย่างแน่นอน

 

   
สารบัญ