เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์

   
ผู้แต่ง : อารี พันธ์มณี 
ผู้เรียบเรียง : อารี พันธ์มณี 
สำนักพิมพ์ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จำนวนหน้า : 283
ราคา : 230 บาท
ผู้สรุป : พูนสุข มนัสวิวัฒน์ ผู้เกษียณอายุปี 2551  
   
   
บทสรุป :

              หนังสือเล่มนี้ มีจุดหมายเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านโดยเฉพาะด้านความกระจ่างแจ้งเรื่องกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นและพัฒนาเยาวชนให้รู้จักคิดเป็น

              ความคิดสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการคิดค้นพบสิ่งแปลกใหม่ รวมถึงการประดิษฐ์คิดค้นพบสิ่งต่างๆและจินตนาการปรุยุกต์ ซึ่งจะทำให้เกิดผลงานด้วย

              ความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะ 3 อย่าง คือ
                   1. ลักษณะทางกระบวนการ หมายถึง ความรู้สึกไวต่อปัญหาและสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบและนำไปใช้เกิดประโยชน์ในสิ่งใหม่ต่อไป
                   2. ลักษณะของบุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้อยากเห็น กระตือรือร้น กล้าคิด กล้าแสดง มีอารมณ์ขัน มีจินตนาการ และมีความยืดหยุ่นทั้งความคิดและการกระทำ
                   3. ลักษณะทางการผลิต หมายถึง คุณภาพของผลงานที่เกิดขึ้น มีตั้งแต่ขั้นต่ำที่แสดงผลอันเกิดจากความพอใจของตนที่จะแสดงออกซึ่งความคิดและการกระทำ จนกระทั่งพัฒนาขึ้นเป็นการฝึกทักษะและค่อยคิดเอง จนถึงระดับการคิดค้นพบทฤษฎีหลักการและการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆ

              คนที่มีความคิดริเริ่มมักไม่ชอบความจำเจ ซ้ำซากชอบปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้ผลงานมีความแปลกใหม่กว่าเดิม

              คนที่มีความคิดริเริ่มชอบทำงานที่ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน เป็นคนมุ่งมั่น และมีสมาธิแน่วแน่ในงานของตนโดยไม่เห็นแก่สินจ้างและรางวัล เป็นคนกล้าแสดงออก  กล้าทดลอง  กล้าเสี่ยง

              โครงสร้างสมรรถภาพทางสมอง หรือทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญา มี 3 มิติ คือ                            
              มิติที่ 1 :  เนื้อหา หมายถึง เนื้อหาข้อมูลหรือสิ่งเราที่เป็นสื่อในการคิดที่สมองรับเข้าไปคิดแบ่งออกเป็น  4 ลักษณะ คือ 
                            1.    ภาพ หมายถึง ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่เป็นรูปธรรม ที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดได้
                            2.    สัญลักษณ์ หมายถึง ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่อยู่ในรูปเครื่องหมายต่างๆ เช่น ตัวอักษร  ตัวเลข
                            3.    ภาษา หมายถึง ข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่อยู่ในรูปของถ้อยคำที่มีความหมายต่างๆกัน
                            4.    พฤติกรรม หมายถึง ข้อมูลที่เป็นการแสดงออก กิริยา อาการ การกระทำที่สามารถสังเกตเห็นรวมทั้งทัศนคติ การรับรู้ การคิด การยิ้ม การหัวเราะ

              มิติที่ 2 : วิธีการคิด หมายถึง  มิติที่แสดงลักษณะกระบวนการปฏิบัติงานหรือกระบวนการคิดของสมอง แบ่งออกเป็น 5 ลักษณะ คือ
                            1.    การรู้การเข้าใจ
                            2.    การจำ
                            3.    การคิดแบบอเนกนัย หรือ ความคิดกระจาย หมายถึง ความสามารถในการคิดตองสนองต่อสิ่งเร้า
                            4.    การคิดแบบเอกนัยหรือความคิดรวม หมายถึง ความสามารถในการคิดหาคำตอบที่ดีที่สุดจากข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่กำหนด   
                            5.    การประเมินค่า

              มิติที่ 3 : ผลของการคิด หมายถึง มิติที่แสดงผลที่ได้จากการปฏิบัติงานทางสมอง หลังจากที่สมองได้รับข้อมูล หรือสิ่งเร้าจากมิติที่ 1  แบ่งออกเป็น 6 ลักษณะ ดังนี้
                            1.    หน่วย หมายถึง สิ่งที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว และแตกต่างไปจากสิ่งอื่นๆ เช่น แมว สุนัข
                            2.    จำพวก หมายถึง ประเภทหรือ จำพวกหรือกลุ่มของหน่วยที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะร่วมกัน เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
                            3.    ความสัมพันธ์ หมายถึง ผลของการเชื่อมโยงความคิดของประเภท หรือหลายประเภทเข้าด้วยกัน โดยอาศัยลักษณะของประการเป็นเกณฑ์
                            4.    ระบบ หมายถึง การเชื่อมโยงของสิ่งเร้าโดยอาศัยกฎเกณฑ์ หรือระเบียบแบบแผนบางอย่าง
                            5.    การแปลงรูป หมายถึง การเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ดัดแปลง ตีความความ ขยายความ
                            6.    การประยุกต์ หมายถึง การคาดคะเน หรือทำนายจากข้อมูลของสิ่งที่กำหนดไว้

              องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ คือ
                            1. ความคิดริเริ่ม
                            2. ความคิดคล่องแคล่ว
                            3. ความคิดยืดหยุ่น หรือความยืดหยุ่นในความคิด
                            4. ความคิดละเอียดลออ

              พัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ของเด็กเริ่มได้ตั้งแต่อายุ 4 ปีครึ่ง ของเด็กก่อนวัยเรียนที่แตกต่างไปตามความสนใจ

              เด็กทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ในทุกๆชั้นเรียน ทุกครอบครัว บรรยากาศที่พร้อมมูลย่อมเป็นโอกาสเอื้ออำนวยให้พัฒนาตนเองได้เร็วและมากกว่า

              พลังอำนาจแห่งความคิดสร้างสรรค์บนรากฐานแห่งจิตนาการชักนำให้โลกของเราก้าวเดินมาสูประตูแห่งความสำเร็จและการค้นพบ ยิ่งกว่าวิทยาการใดๆ

              หนังสือเล่มนี้ เปรียบเป็นกุญแจไขไปสู่ความสำเร็จรอบด้าน มีตัวอย่างที่ซ่อนเงื่อนไขให้ติดตามอ่าน โดยเฉพาะกิจกรรมที่แต่งเติมสีสันของผู้เขียนยอดอัจฉริยะ  หาอ่านได้ที่หอสมุด

 

   
สารบัญ

ดาวน์โหลดเอกสาร