เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ

   
ผู้เรียบเรียง : ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) 
สำนักพิมพ์ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ
จำนวนหน้า : -
ราคา : 0 บาท
ผู้สรุป : มญชรี เอี่ยมพินิจกุล สสบ.  
   
   
บทสรุป :

                                         

                หนังสือเล่นนี้ผู้แต่งเน้นการปฏิบัติ มากกว่าเขียนตามแนวทางทฤษฏี  ผู้อ่านหนังสือจะเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ตามลำดับขั้นตอน  ตั้งแต่ บทที่ 1 ถึง 11 ส่วนบทที่  12  ประกอบด้วยบทความการจัดการความรู้ในสังคมไทย  กรณี ความสำเร็จของหน่วยงานราชการภาคประชาสังคม   และภาคเอกชน

                สาระสำคัญในแต่ละบท  มีดังนี้

 บทที่ 1    การจัดการความรู้ ( KM )  คืออะไร  มีข้อความว่าจุดเริ่มต้นไม่ใช่มุ่งที่ “ความรู้”

แต่เริ่มที่งาน  หรือเป้าหมายของงาน ต้องชัดเจนว่าอะไรไม่ใช่การจัดการความรู้ เช่น  ไม่ใช่สูตรสำเร็จเพื่อการบรรลุผลเรื่องใดเรืองหนึ่งไม่ใช้การนำความรู้มาจัดระบบ  ไม่ใช้การถอดความรู้” จากกิจกรรมการพัฒนาชุมชน และ  ไม่ใช้การรวบรวมความรู้นำไปใส่ในคอมพิวเตอร์ หรือในเว็บไซด์  

                การริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้  ตัวกำหนดสำคัญ คือ แรงจูงใจ ซึ่งต้องเป็นแรงจูงใจแท้  คือ มีเป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่งาน

                บทที่2    ความสำคัญของการจัดการความรู้   การจัดการความรู้จะประสบผลสำเร็จ  ควรริเริ่มจากผู้บริหารสูงสุด ที่เป็นผู้กำหนดคนที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการความรู้ ได้แก่ คุณเอื้อ หรือ Chief Knowledge (CKO) ร่วมกับ คุณอำนวย  ในการกำหนดยุทธศาสตร์ หัวปลา ให้ชัดเชนและมีพลัง  เชื่อโยงกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ  และ  เป้าหมายขององค์กร

                บทบาทของคุณอำนวย (Knowledge Facilitator)   หน้าที่หลัก  คือ  ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกต่อการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้

                ส่วนคุณกิจ ( Knowledge Practitioner ) คือ ผู้ดำเนินกิจกรรมจัดการความรู้ตัวจริง เป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการรวมตัวแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์จากการปฏิบัติ

                คุณลิขิต  (Note Taker )  คือ ผู้ทำหน้าที่จดบันทึกในกิจกรรมการจัดการความรู้

                คุณประสาน  (Network Manager  )ทำหน้าที่ประสานเครือข่ายจัดการความรู้ระหว่างองค์กร  หรือ หน่วยงาน

                คุณวิศาสตร์  (IT  Wizard )คือผู้ออกแบบและช่วยให้การจัดการความรู้มีระบบ TI  ที่เหมาะสมในการทำงาน 

                บทที่ 3  การจัดระบบการจัดการความรู้  มีแนวคิดเรื่องทฤษฏีขนมเปียกปูน คือ ควรแทรก หรือกลิ่นเป็นเนื้อเดียวกันกับงานประจำและระบบอื่นๆ เป็นลักษณะ KM Inside รวมทั้งควรมีคณะกรรมการการประสาน-แกนนำ ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับระบบที่จะทำให้ระบบที่จะทำให้ระบบการจัดการความรู้  ประสบผลสำเร็จ ได้แก่ ระบบฝึกอบรม ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ระบบฐานข้อมูลความรู้ ที่เน้นว่าต้องหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน         

                บทที่ 4     การฝึกอบรม การจัดการความรู้ ไม่ควรฝึกเน้นการฝึกอบรมแต่ให้เริ่มที่ “หัวปลา”  หรือเป้าหมายหลัก และควรเสาะหาความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจ ที่จะช่วยให้บรรลุ  “หัวปลา”

                การฝึกอบรม เพื่อการจัดการความรู้ที่ดีต้องบูรณการกับการปฏิบัติ ความรู้ที่เกิดขึ้นเน้นการปฏิบัติหรือ ใช้งานได้จริง และขั้นตอนควรจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ “คุณเอื้อ” และ  “คุณอำนวย”  กับการจัดตลาดนัดความรู้

                สนใจการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะ หรือเครื่องมือในการจัดการความรู้ ศึกษารายละอียดเพิ่มเติม http://facicop. gotoknow.org

                บทที่ 5    การเริ่มต้นการจัดความรู้  สำคัญที่เริ่มต้นให้ง่ายที่สุดแต่สามารถบรรลุผลสำเร็จเบื้องต้นโดยเร็ว และค้นหาทุนปัญญา ( intellectual capital ) ขององค์กร มาสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม รวมทั้งนำทุนปัญญามาจัดการ  “ตลาดนัดความรู้”  เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

                บทที่ 6    การดำเนินการจัดการความรู้ องค์ประกอบสำคัญ คือ

6.1   การสร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความรู้ เป็นหน้าที่ผู้บริหารระดับสูงที่ต้องระบุให้ชัดเชน เป็นเข็มทิศที่จะบรรลุ หัวปลา (เป้าหม้ายหลัก)ขององค์กร

6.2   สร้างทีมจัดการความรู้ มี 2 มติ ได้แก่ ทีมประสานงาน หรือ ทีมแกนนำ และทีมปฏิบัติ

 

บทที่ 7     เครื่องมือ หมายถึง เทคนิคในการจัดการความรู้ โดยใช้โมเดลปลาทู คิดโดย ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด ที่สร้างความเข้าใจว่าการจัดการความรู้มีความสัมพันธ์กับกลุ่มบุคคล 3 กลุ่ม ในการดำเนินการจัดความรู้ได้อย่างไร

เครื่องมืออื่นๆ ได้แก่ โมเดลปลาตะเพียน เน้นเรื่องเป้าหมายต้องมีความสอดคล้องและไปทิศทางเดียวกัน

การเล่าเรื่อง  ( Storytelling )   มีเป้าหมายคือให้ผู้มีความรู้จากการปฏิบัติ ได้ปลดปล่อยความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างทรงพลัง

นอกจากนี้ยังมีเทคนิคอื่นๆ ที่มีรายละเอียดที่สามารถนำไปใช้ได้ เช่น เทคนิคการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก เครื่องมือชุดธารปัญญา รวมถึง ชุมชนแนวทางปฏิบัติ( COP-Community of Practice )  เป็นต้น

บทที่ 8  ฐานข้อมูลความรู้ ประเด็นสำคัญ คือ ต้องเข้าใจสิ่งที่บรรลุอยู่  ในข้อมูลความรู้    ควรมีอะไรบ้าง และ อะไร คือ ขุมความรู้ (  Knowledge  Assets  ) สำหรับการปฏิบัติงาน ซึ่งจะได้มาอย่างไร รวมทั้งมีวิธีในการจัดการอย่างไร 

บทที่ 9 เครือข่ายการจัดการความรู้  ผู้เขียนแบ่งเป็น 2 แบบ คือ

  (1.)  เครือข่ายจัดการความรู้ ที่สนใจทฤษฎีและเครื่องมือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดขึ้นน้อยมาก

  (2.)  เครือข่ายพัฒนางาน หรือ คุณภาพงาน เป็น KM Inside  คือ ฝังอยู่ในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 บทที่ 10     ทางแห่งความล้มเหลว ในการจัดการความรู้ที่ไม่ประสบผลสำเร็จมีหลายสาเหตุ ที่สำคัญประกอบด้วย ปัจจัยด้านความไม่เข้าใจ ทำหลอกๆ หรือใช้วิธีที่ไม่ถูกต้อง ขาดพลัง ทีมประสานงานและรับผิดชอบไม่เหมาะสมปัจจัยด้านผู้นำ  ที่มีวัฒนาธารไม่เอื้ออำนวย แต่เป็นอุปสรรค ได้แก่ ไม่สนใจไม่สนับสนุน ไม่จริงใจ เป็นวัฒนาธารอำนาจ ไม่ให้คุณค่าต่อความแตกต่างหลากหลาย ไม่เปิดโอกาสให้ทดลองวิธีการทำงานใหม่ๆ ไม่รับรู้ความเปลี่ยนแปลงภายนอก ไม่คิดพึ่งตนเองในด้านความรู้ การไม่ยอมรับความไม่ชัดเจนในการทำงานบางส่วน และการดำเนินการจัดการไม่ได้แทรกเป็นเนื้อเดียวกันงานประจำทำให้ผู้ปฏิบัติงานรู้สึกว่าเป็นภาระ หรือเพิ่มงาน  

บทที่ 11    แนวทางแห่งความสำเร็จ ผู้เขียนได้รวบรวมไว้ 10 ประการ เสนอเป็น ทศปฏิบัติ ได้แก่

(1.)  สร้างวัฒนธรรมใหม่  ให้พนักงานทุกระดับริเริ่มสร้างสรรค์วิธีการทำงานใหม่ๆ

(2.)  สร้างวิสัยทัศน์ร่วม( shared vision)

(3.)  สร้างและใช้ความรู้ในการทำงานและสร้างบรรยากาศแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(4.)  เรียนลัด หรือ ต่อยอดความรู้ ด้านความคิดสร้างสรรค์

(5.)  สร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยยุทธศาสตร์เชิงบวก

(6.)  จัดพื้นที่ หรือ เวที สำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้

(7.)  พัฒนาคน เน้นการพัฒนาคนผ่านการทำงาน เพื่อให้เกิดทักษะ และ เจตคติในการเรียนรู้

                (8.)  ระบบให้คุณให้รางวัล สำคัญที่สุด คือ ความภาคภูมิใจในความมีคุณค่าของตน

(9.)  หาเพื่อนร่วมทาง  ทำเป็นเครือข่าย  มีการกระตุ้นเสริมพลัง

(10.)  จัดทำขุมความรู้ ( knowledge assets )  คือรวบรวมความรู้ ที่ถอดจากการทำกิจกรรมต่าง ๆ