เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

A Sense of urgency สร้างจิตสำนึกผู้นำ ขั้นตอนสำคัญ ที่นำไปเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่

   
ผู้เรียบเรียง : JOHN P. KOTTER 
สำนักพิมพ์ : เอ็กซเปอร์เน็ท, 2552
จำนวนหน้า : 220 หน้า
ราคา : 250 บาท
ผู้สรุป : สุจินต์ ชุ่มใจหาญ  
   
   
บทสรุป :

                           

แม้องค์กรจะมีทรัพยากรพร้อม หากปราศจากซึ่งการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลงในองค์กรเพื่อพร้อมรับวิกฤต  องค์กรก็อาจพบปัญหารุนแรงได้ ดังนั้นผู้บริหารต้องสร้างความรู้สึกตื่นตัวให้คนในองค์กรได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง  และแท้จริง  ก็จะช่วยให้แนวคิดที่ซับซ้อนเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น และมากพอที่จะก้าวกระโดดไปสู่ความสำเร็จไม่ยาก                

อาการลนลานรีบทำตามคำสั่งให้เจ้านาย จะก่อให้เกิดกิจกรรมมากมายตามมาแต่ไร้ประโยชน์และสูญเสียหรือสิ้นเปลือง  เพราะการเร่งด่วนเช่นนั้นเกิดจากความรู้สึกเพื่อสนองความพึงพอใจของเจ้านายและเพื่อปลดปล่อยความกังวลใจของตนเท่านั้น  ไม่ได้เกิดจากความรู้สึกหรือตระหนักถึงความจำเป็น  เร่งด่วนจริงๆ ที่จะมุ่งมั่นลงมือทำ                 

กระบวนการสร้างความตระหนัก 8 ขั้นตอน ในการสร้างจิตสำนึกผู้นำ

                                1.สื่อให้คนในองค์กรตระหนัก  ถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง  ซึ่งคนจะหาโอกาสและค้นหาภัยคุกคามองค์กรที่สำคัญตั้งแต่ตอนนี้

                   2.คนในองค์กรสามารถระบุหาประเด็นได้อย่างรวดเร็ว  และตั้งทีมงานที่แข็งแกร่ง  มีความมุ่งมั่นมากพอที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

                                3.ทีมงาน  สามารถริเริ่มวิสัยทัศน์และกลยุทธ์อันฉลาดในการรับมือกับปัญหาสำคัญได้

                                4.ทีมงาน  ต้องสื่อวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ให้เกิดการยอมรับและสร้างความตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลงในองค์กรให้มากกว่าเดิม

                                5.มีการมอบอำนาจให้กับคนที่มีความมุ่งมั่นจะทำให้วิสัยทัศน์กลายเป็นความจริง

                                6.ทีมงานจะช่วยชี้นำบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจให้สามารถสร้างความสำเร็จระยะสั้นที่เป็นรูปธรรมชัดเจน  เพื่อหยุดเสียงวิจารณ์และสามารถโต้กลับคนที่มีความคลางแคลงใจได้

                                7.หลังจากได้รับความสำเร็จขั้นต้นแล้ว  ทีมงานต้องไม่ยอมให้องค์กรพอใจกับสภาพที่เป็นอยู่ขณะนั้น  แต่ต้องขยายขอบเขตการเปลี่ยนแปลงออกไปโดยหาทางจัดการความท้าทายในแต่ละขั้น  และไม่วางมือจนกว่าวิสัยทัศน์จะเป็นความจริง

                8.ต้องหาวิธีทำให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างระบบและวัฒนธรรมขององค์กร               

                กลยุทธ์ที่ใช้เพื่อสร้างความตระหนัก  นอกจากจะนำเสนอข้อมูลที่ทำให้เห็นความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนแล้วยังต้องเอาชนะ  ความคิดของคนให้คล้อยตาม  ซึ่งการสื่อสารเป้าหมายที่
ท้าทายจะทำให้รู้สึกตื่นเต้นและกระตุ้นให้เกิดความมุ่งมั่น ที่จะเปลี่ยนแปลง                

                4  วิธีการสร้างความตระหนักของผู้นำ

                                1. ทำให้คนในองค์กรได้รับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นภายนอก

                                2. แสดงพฤติกรรมตื่นตัวที่บ่งบอกความจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลงเป็นประจำทุกวัน

                                3. ค้นหาโอกาสท่ามกลางวิกฤต บางครั้งอาจจำเป็นต้องสร้างวิกฤตขึ้นมาเอง

                                4. รับมือกับคนที่ปฏิเสธและคัดค้านทุกเรื่อง         

                การรักษาความตระหนักให้คงไว้ตลอดเวลา  เพราะการตระหนักที่เพิ่มขึ้นหมายถึงความสำเร็จ  ขณะความตระหนักที่ลดลง หมายถึงความล้มเหลว ดังนั้น การผลักดันการตื่นตัวตลอดเวลาเพื่อทำสิ่งต่างๆด้วยความรวดเร็ว  หยุดกิจกรรมที่ใช้เวลานาน  ผู้นำต้องสร้างความตระหนักนี้ให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร  ซึมซับเข้าไปในคนให้ได้  แล้ววัฒนธรรมนี้จะก่อประโยชน์อย่างมหาศาลกับคนจำนวนมาก         

อนาคตเริ่มต้นจากวันนี้

                การนำแนวคิดมากมายจากหนังสือนี้ไปประยุกต์ใช้  ผู้เขียนให้คำแนะนำว่า อย่าพยายามทำทุกอย่างเพราะอาจทำให้รู้สึกรับไม่ไหวจะกลายเป็นตัวหยุดนิ่งมากกว่าตัวกระตุ้น วิธีที่ดีกว่านั้นก็ คือให้ระบุความคิด 3-4 อย่างที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายและเริ่มดำเนินการตามนั้นทันที  หรืออีกวิธีหนึ่ง  เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรวดเร็วขึ้นเรื่อยๆก็ให้พิจารณาจากประเด็นสำคัญที่สุดก่อนเพราะสิ่งนั้นเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง               

ผู้เขียนได้เสนอให้ผู้อ่าน  พิจารณาตัวเองว่ายืนอยู่ตรงจุดใดในปัจจุบัน  และเป็นจุดที่ควรยืนอยู่ต่อไปหรือไม่  หากจะคำนึงถึงประโยชน์ของคนรุ่นต่อไป

   
สารบัญ