เมนู
ค้นหา

BAAC LIBRARY

หอสมุดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หน้าแรก » สรุปหนังสือ » รายละเอียด

ชนะชีวิต คิดอย่างอัจฉริยะ(Genius = 6 Qs)

   
ผู้เรียบเรียง : ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์ 
สำนักพิมพ์ : บิสซี่เดย์
จำนวนหน้า : 172 หน้า
ราคา : 175 บาท
ผู้สรุป : วินิจ เจตน์ประยุกต์ สบจ.  
   
   
บทสรุป :

    

            

     ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักคำว่า “ อัจฉริยภาพ” ก่อนนะครับ

     อัจฉริยภาพมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงานของเรา  ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจศัพท์  2  คำ ที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จหรือความล้มเหลว  ดังนี้

-         Potential  แปลเป็นไทยว่า  ศักยภาพ  หมายถึง  ความสามารถที่พึงมี

-         Performance  คือผลการปฏิบัติงานของเรา

     โดยทั่วไปในทางจิตวิทยาเชื่อว่า Performanceต่ำกว่า Potential  เพียงแต่เราไม่มีโอกาสดึง Potentialออกมาใช้ตามความสามารถที่เราพึงมีได้

        คราวนี้ก็มาเข้าเรื่อง  6 Qs  กันเลยนะครับ

IQ   ย่อมาจากคำว่า  Intelligence  Quotient  แปลว่า เชาวน์ปัญญา

EQ  ย่อมาจากคำว่า  Emotional  Quotient  แปลว่า เชาวน์อารมณ์

AQ  ย่อมาจากคำว่า  Adversity  Quotient  แปลว่า เชาวน์ความอึด

MQ ย่อมาจากคำว่า  Moral  Quotient  แปลว่า เชาวน์จริยธรรม

HQ  ย่อมาจากคำว่า  Health  Quotient  แปลว่า เชาวน์สุขภาพ

SQ   ย่อมาจากคำว่า  Spiritual  Quotient  แปลว่า เชาวน์อัจฉริยภาพ  

    1.Intelligence  Quotient (IQ) เชาวน์ปัญญา  หมายถึง  ความสามารถในการเรียนรู้การปรับตัวให้

เข้ากับสิ่งแวดล้อม  การแก้ปัญหาที่อาจจะไม่มีประสบการณ์ก่อน  คิดและใช้เหตุผลอย่างมีประสิทธิภาพ  การเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของมิติในแต่ละด้านได้เป็นอย่างดี  เช่น มิติด้านภาษา  มิติด้านคณิตศาสตร์  เป็นต้น ดังนั้น คนที่มีปัญหาในการปรับตัวอาจมีปัญหาเรื่อง IQ  เช่นกัน  ในทางทฤษฎีด้านประสาทวิทยากล่าวไว้ว่าขณะที่ท่านเริ่มแก้ปัญหาถือว่าสมองกำลังเริ่มสร้างใยประสาทและทุกครั้งที่ท่านมีประสบการณ์ทำอะไรเส้นใยสมอง(Dendrite)ก็จะงอกงามเติบโต

            1.1 การฝึกปรือการเป็นอัจฉริยะความเก่งเพื่อเสริมสร้างใยประสาท  มีดังนี้

                  - ใยประสาทจะแข็งแรงและแตกแขนงมากเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม และมีกิจกรรมที่ใช้สมองอยู่บ่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ

                  -  ใยประสาทจะถูกริดทิ้ง(pruning) หากไม่ได้ใช้

                  -  เพลง Mozart  ช่วยพัฒนาสติปัญญาความคิดสร้างสรรค์ในเด็ก

             1.2  ปัจจัยที่มีผลต่อ IQ

                   - กรรมพันธุ์

                   - สิ่งแวดล้อม

               1.3 แนวทางการเสริมสร้าง IQ

                    - การฝึกฝนขบคิดแก้ไขปัญหาอยู่เสมอ

           2.Emotional   Quotient. (EQ)  เชาวน์อารมณ์     หมายถึง  ความสามารถในการตระหนักรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น  บริหารอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น  สามารถจูงใจตนเองและผู้อื่นได้  มีความเห็นใจและเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น  ตลอดจนสื่อสารสร้างมิตรกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

                     2.1ทำไมต้องสนใจ EQ ?

                     -เหตุผลเนื่องจากอารมณ์เป็นพื้นฐานสำคัญของมนุษย์  หากขาดความสามารถในการบริหารจัดการอารมณ์  เวลาทำงานร่วมกับคนอื่นมักจะมีปัญหา

                        คนที่จะมี EQ ดีหรือไม่ดีต้องคู่กับ  IQ   เพราะ  EQ  พัฒนาได้โดยอาศัยการเรียนรู้  คนจะเรียนรู้ได้ดีต้องอาศัย IQ

                       2.2 บทบาทของ IQ และ EQ ต่อกิจกรรมต่างๆของชีวิต 

ความสำเร็จในด้านต่างๆ

ปัจจัยที่มีบทบาทสำคัญ

แก้ปัญหาเฉพาะทาง

การทำงาน

 

การปรับตัว

 

การครองตน

 

ชีวิตคู่

IQ

 

IQ    EQ 

 

EQ

 

EQ

 

EQ

                       2.3ส่วนประกอบอัจฉริยะความสุข

                              1) การตระหนักรู้ในตนเอง(Self  Awareness)

                              2) การจัดระเบียบอารมณ์(Emotion  Regulution)

                              3) การจูงใจตนเอง(Self  Motivation)

                              4) การร่วมรับรู้ความรู้สึก(Empathy)

                              5) ทักษะทางสังคม(Social  Skill)

        3.Adversity   Quotient  (AQ)  เชาวน์ความอึด(อัจฉริยะความสำเร็จ)    หมายถึง  ความสามารถในการเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส 

               มิติอัจฉริยะความสำเร็จ  มี  4  มิติ คือ

มิติที่ 1 ความสามารถในการควบคุม  มีสติ(Control)

                            มิติที่ 2  เชื่อว่าปัญหาเกิดจากสิ่งแวดล้อม  ไม่โทษตัวเอง(Original  and  Ownership)

            มิติที่ 3 จำกัดปัญหาอยู่ในขอบเขต  ไม่ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่(Reach)

            มิติที่ 4  อดทนต่อความยืดเยื้อของปัญหา(Endurance)

อัจฉริยะความสำเร็จกับบุคคล  3  ประเภท

   1) ผู้ยอมแพ้(Quitter)

   2) ผู้รักความสบายกลางทางหรือพวกตั้งค่าย(Camper)

   3) ผู้ชอบท้าทายหรือนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่(Climber)   

        4.Moral  Quotient  (MQ) เชาวน์จริยธรรม(อัจฉริยะความดี)  หมายถึง  ความสามารถที่จะแยกแยะและเลือกกระทำคุณงามความดีอย่างสบายใจ  มีความอดกลั้นต่อความเย้ายวนใจที่จะทำผิดทางคุณธรรมและจริยธรรม  สามารถพัฒนานิสัยและการกระทำที่เป็นที่ยอมรับทางสังคม  เช่น 

ความเสียสละ   ความมีน้ำใจ  ความเกรงใจ  เป็นต้น

               ความสำคัญของการเป็นอัจฉริยะความดี

1. เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดี

                            2. ทำให้ตนเองและสังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

                            3. ลดภาระทางสังคม  นักโทษล้นคุก

                            4. ลดความหวาดระแวงต่อกัน

                            5. ให้อภัยเมื่อเผลอทำผิด

                            6. ยกระดับจิตวิญญาณและความสามารถ

               แนวทางในการเสริมอัจฉริยะความดี  มีแนวทางในการพัฒนา  ดังนี้

                      1) การเลียนแบบ  พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ดี  คนในสังคม

                      2) การแนะนำสั่งสอน(สอนตรง  สอนอ้อม)

                      3) การลอกแบบ  การชื่นชมวีรบุรุษ

                      4) การสร้างจริยธรรมของตนเอง  โดยพัฒนา  3  Self                 

        5.Health  Quotient  (HQ)   เชาวน์สุขภาพ (อัจฉริยะความเข้มแข็ง)   หมายถึง  ความสามารถในการดูแลสุขภาพ  ปฏิบัติตนให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ  มีความเข้มแข็งทั้งทางร่างกายและจิตใจ  เข้าใจถึงการปรับโครงสร้างของร่างกายเพื่อนำไปสู่ความสมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ                

  องค์ประกอบเพื่อความเป็นอัจฉริยะความเข้มแข็ง  มองถึง  3  องค์รวมได้แก่

                   -  ร่างกายที่แข็งแรง

                   -  จิตใจที่เข้มแข็ง

                   -  จิตวิญญาณที่งดงาม

            6  อ. ที่ช่วยดูแลอัจฉริยะความเข้มแข็ง

1)  อารมณ์

                            2)  อาหาร

                            3)  อากาศ

4)  ออกกำลังกาย

                            5)  อนามัย

                            6)  อดิเรก(งานอดิเรก)

          6.Spiritual  Quotient (SQ)     เชาวน์อัจฉริยภาพหรือเชาวน์จิตวิญญาณ หมายถึง  ความสามารถในการพัฒนาจิตวิญญาณเพื่อเตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในชีวิต  เปลี่ยนการเปลี่ยนแปลง

มาเป็นโอกาสของชีวิต  การพัฒนาความสมดุลให้กับชีวิต  เข้าใจอัจฉริยะภาพสูงสุดของตนเองจากการใช้สมองทุกส่วนในการทำงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด(Peak  Performance)

                 เรียนรู้สมองอัจฉริยะ  รู้จักตัวเอง

              การทำงานของคนเรามาจากหน้าที่การทำงานของสมองทั้ง  4  ด้าน  ดังนี้

                 1) สมองซีกซ้ายบน  ทำหน้าที่เกี่ยวกับคิดวิเคราะห์  คิดเชิงเหตุผล  แก้ปัญหา  คำนวณ  ข้อเท็จจริง  รายละเอียด  ใครที่ทำงานด้านบัญชีจะเด่นในสมองซีซ้ายบน

                  2) สมองซีกซ้ายล่าง  ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การวางแผน  การบริหาร  การควบคุม  การจัดการ  การจัดระเบียบ

                  3) สมองซีกขวาบน   ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องวิสัยทัศน์  นวัตกรรม  การหยั่งรู้  การผสมผสาน 

การมองภาพรวม

                  4) สมองซีกขวาล่าง     ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องมนุษยสัมพันธ์   อารมณ์  ความรู้สึก 

ความเป็นมิตร  ความเห็นใจผู้อื่น  และEQ

               แนวทางสร้างเสริมอัจฉริยะภาพสูงสุด

                     1.เรียนรู้ความอัศจรรย์ของจิต

                            - ผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนนอนทุกคืน

                         - ผ่อนคลายจิตด้วยการสั่งจิตให้ผ่อนคลาย  ปราศจากความกลัว วิตกกังวลใดๆก่อนนอนทุกคืน

                             - ให้สั่งจิตว่าจะตื่นนอนเช้าวันใหม่ด้วยความสดชื่น จิตใจแจ่มใส  สมองปลอดโปร่ง                

                2. เสริมสร้างพลังจิตวิญญาณ

                        - ก่อนนอนสั่งจิตให้ผ่อนคลาย

                        - สั่งจิตให้คิดทางบวกและปรารถนาในสิ่งดีๆให้กับตัวเอง

                        - พูดดังๆกับตัวเองซ้ำๆถึงสิ่งดีๆ

                 3. เสริมสร้างพลังสมอง

                             - จินตนาการเห็นหน้าที่สมองส่วนต่างๆ

                         - ฝึกคิดและไล่เรียงสมองส่วนต่างๆจากซ้ายบน  ซ้ายล่าง  ขวาบน  ขวาล่าง

   4. เสริมสร้างความจำด้วยการพกสมุดเล็กๆติดตัวเพื่อจดบันทึกเกี่ยวกับความคิดดีๆเสมอ

                โดยสรุปแล้ว    IQ  คือ  ความเก่ง 

                                     EQ คือ  ความสุข

                                     AQ คือ  ความสำเร็จ

                                     MQ คือ  ความดี

                                     HQ คือ  ความแข็งแรง

                                  SQ  คือ  ความอัจฉริยภาพสูงสุด

   
สารบัญ